แนะนำวิทยากร OHSWA Conference 2022
Tags: ohswa conference 2022
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
กล่าวเปิดและปาฐกถาพิเศษ
“ความท้าทายของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
ในโลกแห่งเทคโนโลยีอนาคตและความยั่งยืน”
เรียนรู้ VUCA เตรียมพร้อมรับมือ OHS
เราคงเคยได้ยินคำว่า “VUCA”
(Volatility,
Uncertainty, Complexity, Ambiguity) กันมาบ้างแล้ว
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะมานำเสนอมุมมองที่หลากหลายให้ จป.
ทุกคนได้เห็นภาพ และเข้าใจความสำคัญ ของ VUCA ทั้งในมุมมองของภาคอุตสาหกรรม
และจากภาคราชการ
ซึ่งจะช่วยให้เราเตรียมการรับมือได้อย่างทันท่วงที และคุณสุชาติ วิริยะอาภา ที่ปรึกษา ส.อ.ป.
ผู้มีประสบการณ์โชคโชน ที่จะมาร่วมขยี้ประเด็นข้อสงสัย
ให้กับผู้ร่วมประชุมต่อยอดในทางปฏิบัติให้กับ จป. ต่อไป
คุณเสขสิริ ปิยะเวช
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
สายงานคุณภาพ ความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ดร.นายแพทย์สมเกียรติศิริรัตนพฤกษ์
นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ที่ปรึกษา)
กรมควบคุมโรค
คุณสุชาติ วิริยะอาภา
ที่ปรึกษา ส.อ.ป.
Workplace in the next Normal - Ergonomics & Psychosocial factors
สถานประกอบการ์ณในวิถีถัดไป
การยศาสตร์ และปัจจัยทางด้านจิตวิทยาสังคม
3 สิ่งนี้ ถือเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น และจะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการเปลี่ยนวิธีการทำงาน การกระตุ้นจิตสำนึก และการเพิ่มผลผลิต หากองค์กรไหนไม่เรียนรู้ ไม่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ และไม่ปรับตัว ก็อาจทำให้ล้าหลัง ไม่สามารถแข่งขัน เท่าทันกับองค์กรอื่นๆ ที่เรียนรู้ เข้าใจ และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในการทำงานในยุคนี้ และถัดไปในอนาคต Workplace in the next Normal - Ergonomics & Psychosocial factors เป็นหัวข้อที่ทุกท่านไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง โดยวิทยากรทั้ง 3 ท่านนี้ จะนำเอาหลักการ แนวคิด เทคนิค และวิธีการที่เข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในองค์กรของท่าน
3 สิ่งนี้ ถือเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น และจะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการเปลี่ยนวิธีการทำงาน การกระตุ้นจิตสำนึก และการเพิ่มผลผลิต หากองค์กรไหนไม่เรียนรู้ ไม่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ และไม่ปรับตัว ก็อาจทำให้ล้าหลัง ไม่สามารถแข่งขัน เท่าทันกับองค์กรอื่นๆ ที่เรียนรู้ เข้าใจ และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในการทำงานในยุคนี้ และถัดไปในอนาคต Workplace in the next Normal - Ergonomics & Psychosocial factors เป็นหัวข้อที่ทุกท่านไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง โดยวิทยากรทั้ง 3 ท่านนี้ จะนำเอาหลักการ แนวคิด เทคนิค และวิธีการที่เข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในองค์กรของท่าน
นายแพทย์ธนวัฒน์ ศุภนิตยานนท์
ผู้จัดการฝ่ายการแพทย์
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด
คุณกนกวรรณ ลาภแก้ว
ผู้จัดการแผนกสิ่งแวดล้อม
อาชีวอนามัยและปลอดภัย
บริษัท 3 เอ็ม ประเทศไทย จํากัด
ดร.วิสันติ เลาหอุดมโชค
หัวหน้าภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Innovation for Health Risk Assessment & Digital Data for Health Surveillance, GC Smart Health Care, etc.
การจัดการความเสี่ยงสุขภาพ
ยังคงเป็นเรื่องใหม่และยุ่งยากสำหรับ จป. และนักอาชีวอนามัยทุกคน
แต่ปัญหานี้จะหมดไป เพราะกระบวนการจัดการความเสี่ยงสุขภาพทั้งหมด
ได้ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ด้วยนวัตกรรมและเทคโลโนยีดิจิทัล เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ
และช่วยให้เราก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง
ดร.สุนิสา จาก
ส.อ.ป. และ
คุณวลัยพร จาก PTTGC จะมานำเสนอให้เห็นถึงความก้าวหน้า และการนำ AI มาเป็นเครื่องมือ ช่วยยกระดับการจัดการสุขภาพให้พนักงานทุกคน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายการปลอดโรคจากการทำงาน และช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กรลงอย่างคาดไม่ถึง
คุณวลัยพร จาก PTTGC จะมานำเสนอให้เห็นถึงความก้าวหน้า และการนำ AI มาเป็นเครื่องมือ ช่วยยกระดับการจัดการสุขภาพให้พนักงานทุกคน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายการปลอดโรคจากการทำงาน และช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กรลงอย่างคาดไม่ถึง
รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง
อุปนายกวิชาการ ส.อ.ป
สังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คุณวลัยพร บุญยะโพธิ์
ผู้จัดการส่วนบริหารงานอาชีวอนามัย
บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
การจัดการการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน (Emergency Response Management)
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในโรงงาน
ไซต์ก่อสร้าง หรืออาคารสำนักงาน หากไม่มีแผนรองรับเพื่อการจัดการ
และการฝึกซ้อมเพื่อการตอบโต้เหตุฉุกเฉินอย่างเหมาะสม และรวดเร็ว
ก็อาจส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมสถานการ์ณฉุกเฉินนั้นได้ ถึงแม้จะเป็นเหตุการ์ณเล็กๆ
ที่ดูเหมือนจะไม่รุนแรง แต่ก็อาจลุกลามขยายใหญ่โต ควบคุมไม่อยู่
สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน
และชื่อเสียงขององค์กรที่ไม่อาจกู้คืนกลับมาได้
ดังนั้นทุกท่านจึงไม่ควรพลาดกับหัวข้อบรรยายนี้
โดยวิทยากรผู้มีประสบการ์ณทั้ง 3ท่าน เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญ
และมีบทบาทหน้าที่โดยตรงกับการจัดการการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน จะมาเล่า และแนะนำเทคนิค
วิธีการให้ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และตอบคำถามข้อสงสัยของทุกท่านเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้แผนตอบโต้เหตุฉุกเฉิน
คุณบุญธรรม เลิศสุขีเกษม
อธิบดี
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
คุณศุภกิจ บุญศิริ
รองอธิบดี
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
คุณกฤษฎา ประเสริฐสุโข
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จํากัด
Innovation for Safety and Risk Management in Workplace
ในปัจจุบันเทคโนโลยีความก้าวหน้า นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวันทั่วโลก เช่นเดียวกับ
การบริหารจัดการงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนผู้ประสบอันตราย
และลดความเสี่ยงอันตรายจากการทำงานให้น้อยลง หรือลดระยะเวลาการทำงาน อันตรายให้สั้นลง ดังนั้น การนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในองค์กร
เพื่อการจัดการความเสี่ยง ถือเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจ
และเป็นความต้องการของทุกองค์กรในปัจจุบัน
วิทยากรทั้ง 2 ท่านนี้
จะนำเอาเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านความปลอดภัยมาเล่าให้ท่านฟัง
รวมถึงเทคนิควิธีการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของท่านได้อย่างลงตัว
โดยมีผลสำเร็จอ้างอิงให้เห็นถึงประโยชน์ ความคุ้มค่า
และผลลัพธ์ในเชิงประจักษ์อย่างแท้จริง ของการนำนวัตกรรม
และการบริหารจัดการความเสี่ยงในองค์กรมาใช้
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการลดอุบัติเหตุ และการทำงานอย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
คุณพัสน์นันท์ จมูศรี
กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เรด บาสเก็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด
คุณวชิระ บุญตะนัย
ผู้จัดการส่วนความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
Innovation for Safety and Risk Management in Safe Driving
อุบัติเหตุจราจร
คือสาเหตุการตายอันดับหนี่งในเมืองไทย
องค์กรที่มีการจัดการขนส่งและควบคุมรถบรรทุกกว่า
10,000 คัน
ผู้ขนส่งกว่า 400 ราย และวิ่งขนส่งกว่า 450 ล้านกิโลเมตรต่อปีนั้น ใช้เทคโนโลยี หรือเครื่องมืออะไรบ้าง มาควบคุมและจัดการ จนสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตจากการขนส่งเหลือน้อยกว่า 0.5 รายต่อ 1 ล้านกิโลเมตร ลงได้ ผู้เชี่ยวชาญจาก SCG Logistics จะมานำเสนอและแสดงเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้ในการควบคุมการขนส่ง ซึ่งนอกจากลดอุบัติเหตุได้แล้ว ยังช่วยลดต้นทุนและลดค่าใช้จ่ายต่างๆลงได้อีกด้วย
ผู้ขนส่งกว่า 400 ราย และวิ่งขนส่งกว่า 450 ล้านกิโลเมตรต่อปีนั้น ใช้เทคโนโลยี หรือเครื่องมืออะไรบ้าง มาควบคุมและจัดการ จนสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตจากการขนส่งเหลือน้อยกว่า 0.5 รายต่อ 1 ล้านกิโลเมตร ลงได้ ผู้เชี่ยวชาญจาก SCG Logistics จะมานำเสนอและแสดงเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้ในการควบคุมการขนส่ง ซึ่งนอกจากลดอุบัติเหตุได้แล้ว ยังช่วยลดต้นทุนและลดค่าใช้จ่ายต่างๆลงได้อีกด้วย
คุณรุ่งเพชร หิรัญวิชากร
SHE Operation Senior Manager
บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ จำกัด