ท่านถาม วิทยากรตอบ การสนทนาวิชาการ “การจัดการภาวะฉุกเฉินแบบมืออาชีพ” (2)

โดย สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
เผยแพร่เมื่อ: 15/06/2564...,

 

 

ท่านถาม วิทยากรตอบ
การสนทนาวิชาการ “การจัดการภาวะฉุกเฉินแบบมืออาชีพ” (2)

          รองฯ ศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดหาคำตอบมาให้กับผู้ถามทาง chats ในวันที่มีการสนทนาวิชาการหัวข้อดังกล่าว พบคำถาม คำตอบได้ดังนี้
 
               1. SAFETY Application และ SMART Monitoring (รายงานข้อมูลความปลอดภัย) ไม่ทราบมีแผนที่จะนำมาใช้เมื่อไหร่คะ
                     >>> ตอบ: ปัจจุบันปี 2564 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดทำแอพพลิเคชั่นเรียกว่า Safety Application เพื่อใช้ สาหรับโรงงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีการใช้สารเคมีอันตราย โดยให้มีการประเมินตัวเองเพื่อให้ทราบว่า โรงงานของตนเองมีความเสี่ยง เพื่อสามารถกำหนดมาตรการป้องกันการเกิดอันตรายในแต่ละกิจกรรม เช่น การป้องกันการรั่วไหลของสารเคมี วิธีปฏิบัติการดำเนินการต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งจะทำให้โรงงาน ทราบในเบื้องต้นว่าจะต้องจัดทำแผนป้องกันหรือแผนฉุกเฉินอย่างไร
                    นอกจากนี้ สำหรับ SMART Monitoring รายงานข้อมูลความปลอดภัย นั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดทำโครงการรายงานฐานข้อมูลสารเคมี เพื่อให้ ผู้ประกอบการรายงานข้อมูลการใช้ การกักเก็บสารเคมี ซึ่งทั้ง 2 โครงการ จะแล้วเสร็จในเดือน กันยายน 2564 นี้

               2. ระบบฐานข้อมูลผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม มีทั้งในโรงงาน/จุดทำงาน และรอบนอกนั้น จะเริ่มเข้าไปดูได้ เมื่อไหร่ครับ
                    >>> ตอบ: ระบบฐานข้อมูลผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน สามารถเข้าไปดูได้ที่ เว็บไซต์กรมโรงงาน อุตสาหกรรม ศูนย์เฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม http://cems.diw.go.th/cemsweb ซึ่งจะรายงาน ข้อมูลของคุณภาพอากาศ และคุณภาพน้ำผ่านระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง และระบบตรวจวัดมลพิษน้ำระยะไกล (Continuous Emission Monitoring System : CEMS) (Online Pollution Monitoring System : OPMS)

               3. ประเด็นการให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัยของกรมโรงงาน มีบริการสำหรับหน่วยงานที่ ต้องการรับคำปรึกษามีแนวทางอย่างไรบ้างครับ
                    >>> ตอบ: กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีกองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ด้านความ ปลอดภัยสารเคมี ไฟฟ้า เครื่องกล และสภาวะความปลอดภัยการทำงาน ซึ่งสามารถให้คำปรึกษาได้ ตามเบอร์ติดต่อโทรศัพท์ 0 2202 4215

               4. กรณีสถานประกอบการเมื่อก่อนตั้งโรงงานขึ้นมาแห่งหนึ่งได้มีการพิจารณาสถานที่ตั้งให้อยู่ห่างจากแหล่ง ชุมชนแล้ว แต่เมื่อผ่านมา 30 ปี ได้มีชุมชนที่อยู่อาศัยของประชาชนได้ขยายตามมาอยู่ใกล้โรงงาน จากประเด็น นี้พอจะมีแนวทางจัดการได้อย่างไรครับ ขอบคุณครับ
                    >>> ตอบ: การสนับสนุนโรงงานให้เข้าไปตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตประกอบการอุตสาหกรรม จะทำให้การจัดการต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากกว่า ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะกำกับดูแลให้เข้มงวด ตลอดการใช้เครื่องมือที่ที่เป็นดิจิตอลเข้ามากำกับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจะได้ประสานร่วมหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาดังกล่าวในระยะยาวต่อไป

                5. กรณีเหตุที่โรงงานหมิงตี้นี้ ผู้เจ็บป่วย หรือผู้ได้รับผลกระทบนั้น การเยียวยาจะได้เงินจากกองทุนใด และ โรงพยาบาลที่ทำการรักษาจะขอเบิกเงินจากกองทุนใดครับ
                    >>> ตอบ: ปัจจุบัน จังหวัดสมุทรปราการ ได้ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์และช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์เพลิงไหม้ โรงงานบริษัท หมิงตี้ เคมิคอล จากัด แล้ว โดยเบื้องต้นสามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ

               6. ขอสอบถามครับ ซึ่งเมื่อ 7 ปี ที่เเล้ว โรงงานยังอยู่ปกติ พอสักพัก ได้เวนคืนที่เพื่อขยายโรงงาน บางครั้ง ปล่อยสารเคมีออกสู่บรรยากาศ มีกลิ่นเหม็นปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน กับคนในชุมชน ควรเเก้ไข อย่างไร ได้บ้าง ครับ บ.มาบชลูด ต.ห้วยโป่ง อ.เมืองระยอง จ.ระยอง ครับ
                   >>> ตอบ: ประชาชนสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนไปยังสานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่ หรือผ่านเวปไซต์ กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้

               7. อยากทราบในกรณีนิคมอุตสาหกรรม ไม่ทราบมีกฎหมายให้ทางนิคมอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง ให้มีการจัดเก็บโฟมดับเพลิงไว้หรือไม่ และต้องเก็บจำนวนเท่าไหร่
                    >>> ตอบ: การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยประจำทุกนิคมอุตสาหกรรมอยู่แล้ว หากต้องการทราบข้อมูลขอให้ติดต่อได้ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

               8. การเยียวยาสิ่งแวดล้อมหลังเกิดเหตุ มีหน่วยงานไหนเป็นผู้รับผิดชอบคะ
                    >>> ตอบ: โรงงานเป็นผู้รับผิดชอบเหตุการณ์ดังกล่าว รวมถึงประกันภัยที่โรงงานได้ทำไว้เบื้องต้น

               9. สาหรับเหตุการณ์ครั้งนี้ การแจ้งแผนที่ของระยะอพยพมาจากการที่ประชาชน จัดทำกันเอง ทางกรมโรงงานมีแผนจะบูรณาการการแจ้งเตือน หรือข่าวสารให้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์มั้ยคะ
                    >>> ตอบ: กรมโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น และบูรณาการข้อมูลร่วมกัน ระหว่างหน่วยงาน ต่างๆ เพื่อให้สามารถวางแผนเพื่อป้องกันและระงับเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                10. มีแนวทางในการใช้เทคโนโลยีในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเกิดในพื้นที่ไหน ๆ ให้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณ นั้นทราบได้อย่างไรครับ เพื่อประโยชน์ต่อการเตรียมตัวของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ครับ
                     >>> ตอบ: การแจ้งเหตุฉุกเฉินปัจจุบัน ท้องถิ่นมีกระบวนการดำเนินงานของท้องถิ่นอยู่แล้ว ซึ่งท้องถิ่นจะแจ้งเหตุ ต่างๆ ให้กับชุมชนทราบเป็นประจำอยู่แล้ว ทั้งนี้ ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ ส่งเสริมให้โรงงานดำเนินการ CSR โดยสนับสนุนให้สร้างเครือข่ายระหว่างโรงงานและชุมชน เพื่อประสาน ข้อมูล ข่าวสาร และความร่วมมือต่าง ๆ และนอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้ทำกิจกรรม OPEN HOUSE เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้าไปดูกิจกรรมต่าง ๆ ภายในโรงงาน เพื่อให้เข้าใจและสามารถเตรียมพร้อมรับมือหากเกิดเหตุ ฉุกเฉินได้

#OHSWA
#โครงการสอป_อาสา
 
 

 

Visitors: 419,827