ประสบการณ์จริง ในการทำ Operating procedure ตามมาตรฐาน PSM

เผยแพร่เมื่อ 29/10/2565
เขียนโดย คุณดิเรก สุดใจ
               ประสบการณ์ในหน่วยงานปฏิบัติการผลิตในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี  มากกว่า 30 ปี 
               
ปัจจุบันทำงานใน กลุ่ม บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
               
ปริญญาตรี  วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต  สาขา วิศวกรรมเครื่องกล
               ปริญญาตรี
  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ
               ปริญญาตรี
  วิทยาศาสตร์บัญฑิต สาขา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (มสธ.)

 

ประสบการณ์จริง ในการทำ Operating procedure
ตามมาตรฐาน PSM

 

          อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เรามักจะมุ่งไปยังเรื่องของ unsafe action ,unsafe condition  แต่ยังมีอีก 1 สิ่งที่มักถูกมองข้าม คือ การที่ขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ปลอดภัย (Unsafe instruction) อยู่ด้วย และ เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน  

          การจัดทำ work instructions เป็นสิ่งที่สำคัญมาก สำหรับ อุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมี  เป็นการเขียนขั้นตอนปฏิบัติงานโดยข้อมูลนั้นต้องมาจากเจ้าของเทคโนโลยีกระบวนการผลิตและประสบการณ์ของผู้เขียนด้วยเพื่อให้ work instructions สมบูรณ์สามารถนำมาใช้ทำงานได้จริงและปลอดภัย ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ และเป็นเอกสารสำคัญอันหนึ่งในระบบ ISO ที่ต้องมี รวมถึงระบบ PSM ด้วย

          ในบทความนี้จะเป็นการแชร์ประสบการการเขียน work instructions ให้สอดคล้องกับทั้งระบบ ISOและ PSM เพื่อเป็นแนวทางที่ท่านผู้อ่านอาจนำไปประยุกต์ใช้ต่อยอดต่อไป และผู้เขียนขอออกตัวก่อนว่ามิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ แค่เคยผ่านการ Audit มาทั้ง ISO และ PSM  โดยรูปแบบในการเขียนของหน่วนงานที่ผู้เขียนทำงาน จะอยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จะมีลำดับตามขั้นตอนต่อไปนี้
                    1. 
วัตถุประสงค์เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความถูกต้องมีคุณภาพและปลอดภัยไม่มีผลกระทบต่างๆ
                    2. ขอบเขตใช้เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานในUnit Operation นั้นๆ
                    3. 
หน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ตำแหน่งในผังองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ Work instruction
                    
4. WORKFLOW ของการปฏิบัติงาน จุดตัดสินใจ
                    5. 
รายละเอียดการดำเนินงานประกอบไปด้วย
                              
5.1 การเตรียมการ (Preparation) PPE (Personal Protection Equipment), Safety Equipment, SDS (Safety Data Sheet), และความเป็นอันตรายของ Unit Operation นั้น  Utilities System โดยรูปแบบการเขียนจะเป็น ตารางดังตัวอย่าง

                              5.2  ขีดจำกัดในการปฏิบัติงาน (Operating Limit) คือขีดจำกัดในการปฎิบัติงานและเพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นออกจากขีดจำกัด ต้องจัดให้มีขั้นตอนการแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงการออกจากค่าเบี่ยงเบนออกจากขีดจำกัด และระบบ Interlock ESD, Cause and Effect

                              5.3  การเริ่มเดินเครื่อง (Initial Start-up) คือ ขั้นตอนการเตรียมระบบ หลังจากงาน Maintenance, Inspection, Hydro test, Cleaning เสร็จสิ้นลงเพื่อ Start up โดยมีขั้นตอน PSSR, Leak test, Nitrogen Purge O2 free Dry out, Vapor Filling Liquid Filling & Initial Start up
                              
5.4  การปฏิบัติการผลิตปกติ (Normal Operation) คือ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในสภาวะการเดินเครื่องปกติ โดยมีการตรวจสอบอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต ค่า Control Parameter, Control Spec Quality Controlใน Unit Operation นั้น
                              
5.5  การปฏิบัติการผลิตชั่วคราว Temporary Operation วิธีปฏิบัติงานในระหว่างการ By-pass interlock / Equipment การปฏิบัติงานหลังดัดแปลงชั่วคราวใน Unit Operation ต่างๆ
                              
5.6  Normal Shutdown คือ ขั้นตอนการหยุดระบบการผลิตตามปกติ ซึ่งมีทั้งการหยุดระบบตามแผนการเปลี่ยนเกรดกับหยุดระบบเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักรหรือหยุดตามแผนการผลิต
                              
5.7 Start-up After Normal Shutdown คือ ขั้นตอนการเริ่มเดินเครื่องหลังจากการซ่อมบำรุงรักษาครั้งใหญ่อาจกลับไปอ้างอิง Initial Start up 
                              
5.8  Emergency Shutdown คือ ขั้นตอนการหยุดระบบการผลิตแบบฉุกเฉินและขั้นตอนการปฏิบัติงาน การควบคุมการผลิตจาก Emergency Shutdown ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น Emergency Shutdown: Power Failure, DCS Failure, Utility Failure, Equipment Failure ขันตอนนี้อาจใช้วิธีอ้างอิงจาการแยกเขียน WI Utility failure, Equipment Failure
                              
5.9  Emergency Operation คือ ขั้นตอนการปฏิบัติงานการควบคุมการผลิต ในกรณี ที่แม้ว่าจะเกิดสภาวะผิดปกติ แต่จะเดินเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง หรือ จะเดินเครื่องต่อเนื่องไประยะหนึ่งเพื่อ Safe shutdown (หยุดเดินเครื่องอย่างปลอดภัย) ซึ่งเหตุการณ์ผิดปกติ มีหลากหลายสาเหตุ เช่น ก๊าซรั่ว สารเคมีรั่วไหล ไฟไหม้   ขาดไม่มี Instrument Air ใช้งานชั่วคราว   เป็นต้น
                              
5.10 Start-up After Emergency shutdown คือ ขั้นตอนการเริ่มเดินกระบวนการผลิต หลังจากมีการหยุดระบบการผลิตแบบฉุกเฉินว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้างตรวจสอบอะไรก่อนหลังอะไรเป็นจุดตัดสินใจ
                              
5.11Trouble Shooting คือ วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องในกรณีที่เกิดการเบี่ยงเบนไปจากค่ามาตรฐานหรือเกิดความผิดปกติต่าง ๆ   และในหัวข้อต่างๆที่เขียนถ้ามีข้อควรระวังอะไรต้องเขียนเตือนไว้ด้วยในช่วงท้ายของหัวข้อเพื่อป้องกันการเกิดอันตราย

          6. ภาคผนวก ข้อมูลสนับสนุน เอกสารต่างๆ คำจำกัดความต่างๆ

          การทบทวนก็เป็นไปตามข้อกำหนดคือรับรองว่าเป็นปัจจุบันทุกปี และส่วนใหญ่ที่ต้องปรับปรุงจะเป็นส่วนที่มาจากผลการสอบสวนอุบัติการณ์(II) และการดัดแปลงเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิต (MOC)

          จากการค้นหาข้อมูลการเขียน SOP,WI ที่สอดคล้องกับระบบ PSM ใน Search engine ไม่ค่อยมีตัวอย่างภาษาไทยที่จะนำมาเป็นแบบอย่างได้ เลยเป็นเรื่องที่ผู้เขียนอยากจะแชร์แนวทางที่เคยทำเผื่อคนที่กำลังทำระบบจะได้นำไปต่อยอด และอยากจะเปลี่ยน ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (tacit knowledge) ไปเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge โดยการเขียน ตามหลักการ KM ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านครับ

Visitors: 419,924