งานเคลือบและป้องกันพื้นผิวด้วยความร้อน (Thermal Spraying Coating)
เผยแพร่เมื่อ: 17/10/2564
เขียนโดย คุณอนุชา ฉิมเชิด
ผู้จัดการหน่
เรื่อง งานเคลือบและป้องกันพื้นผิวด้วยความร้อน
(Thermal SprayingCoating)
ต่อเนื่องจากตอนที่แล้วกล่าวถึงการทำการเคลือบผิวโลหะและได้กล่าวถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการปฏิบัติงานประเภท ไปแล้วนั้น ครั้งนี้จะเพิ่มเติมกระบวนการและอันตรายที่จะเกิดจากการปฏิบัติงานกับ การพ่นเคลือบด้วยความร้อน (Thermal Spraying Coating)โดยจะมีวิธีการปฏิบัติที่สะดวกในการใช้งานกับชิ้นงานที่ประกอบขึ้นที่มีขนาดใหญ่แทนการเคลือบแบบชุบ อย่างเช่นงานชุบกัลวาไนซ์ในชิ้นงานขนาดเล็ก การพ่นเคลือบด้วยความร้อนใช้วิธีการหลอมละลายของวัสดุเคลือบผิวและถูกพ่นไปกระทบกับผิวชิ้นงานและจะเกิดการแข็งตัวดังเดิมจับตัวอยู่กับผิวงาน ซึ่งความหนาของวัสดุเคลือบก็จะเกิดจากการควบคุมหัวพ่น เคลื่อนที่ช้าเร็วทับซ้อนกี่ชั้น ซึ่งสามารถทำความหนาได้ตั้งแต่ 20 ไมครอน จนถึงความหนาเป็นมิลลิเมตร และยังช่วยพ่นทับเนื้อโลหะที่มีการสึกหรอให้สามารถมีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น
ภาพแสดงการเคลือบพื้นผิวงานด้วยความร้อนแบบลวดอาร์ค (Wire Arc Spray Process)
การพ่นเคลือบแบบลวดอาร์ค (Wire Arc Spray Process) จะใช้ลวดโลหะสองเส้นป้อนผ่านหัวพ่นโดยจะมีการป้อนกระแสไฟฟ้าที่ลวดนั้นมีขั้วบวก ขั้วลบ ปกติแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 45 โวลท์ เมื่อขั้วบวกและขั้วลบเข้าใกล้กันก็จะเกิดการอาร์คเช่นเดียวกับการเชื่อมโลหะ (Arc Welding) แล้วใช้แรงดันจากเครื่องลม (Air Compressor) พ่นโลหะที่หลอมละลายตกกระทบลงที่ผิวโลหะก็จะเกิดการแข็งตัวอย่างรวดเร็วและเคลือบที่ผิว
ขั้นตอนในการเตรียมพื้นผิวเพื่อพ่นเคลือบพื้นผิวด้วยความร้อนต้องมีการเตรียมความหยาบของพื้นผิวเช่นเดียวกับการเคลือบด้วยสีชนิด อิพ๊อกซี่ (Epoxy) สีทนไฟ (Fire Proofing) ต่างกันคือการทำ Thermal Spray เมื่อพ่นทรายเสร็จแล้วไม่ต้องลงสีรองพื้นให้ทำการพ่นได้เลย
ในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ผู้ปฏิบัติต้องทำตามขั้นตอน และตรวจสอบดูว่าพื้นที่นั้นพร้อม อยู่ในสภาพที่ดี ระบบระบายอากาศพร้อมใช้งาน อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เหมาะสมตรงตามลักษณะงานสามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น
o เสียงที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ในการพ่นเคลือบจะต้องใช้แรงลมที่มีความดันสูงพาโลหะที่หลอมละลายไปติดที่ชิ้นงานและดังอย่างต่อเนื่อง แก้ไขโดยการปรับแรงลมหรือวัสดุเส้นลวดโลหะที่ใช้ในการพ่นแล้ว เสียงยังคงดังอยู่ให้จัดหาอุปกรณ์ป้องกันเสียงดังให้พนักงาน
o แสงจ้าและรังสีที่เกิดขึ้นจากการอาร์คต้องสวมใส่แว่นหรือเครื่องป้องกันแสง
o ฝุ่น ควัน ฟูม ที่เกิดจากการเผาไหม้โลหะ ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจส่วนใหญ่จะใช้ระบบส่งลมเย็น Air supply
o การเกิดเพลิงไหม้ ขณะทำการพ่นความร้อนที่ชิ้นงานต้องระมัดระวังวัสดุบริเวณโดยรอบชิ้นงานลุกติดไฟ
o อันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรทั้งในส่วนเครื่องมือที่ใช้พ่นเป็นระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์แสงสว่างในพื้นที่ปฏิบัติงาน
การประเมินความเสี่ยงในงานพ่นเคลือบ Thermal Spray
เป็นความเสี่ยงจากแหล่งกำเนิดพลังงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ประกอบไปด้วย
o สารเคมี (Chemical) จากการสัมผัสกับวัสดุที่ใช้ในการพ่นจึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการเข้าสู่ร่างกายของสารเคมีที่ใช้ อย่างครบถ้วนประกอบไปด้วย หมวกคลุม พร้อมเลยส์กรองแสง Air Hood และหน้ากากกรองสารเคมีชนิดมีตลับกรองชนิดป้องกันฟูม(Fume) ชุดคลุมป้องกันความร้อนจากการพ่น( Overalls suit) ถุงมือ (Gloves) รองเท้า(Boots)
จป.จะต้องเตรียมความพร้อมในขั้นตอนนี้คือ
- ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ในงานพ่นเคลือบโลหะเป็นไปตามข้อกำหนดในการปฏิบัติงานและการเลือกใช้ชนิดอุปกรณ์ตรงกับลักษณะการใช้งานหรือ (Specification) การเลือกชนิดตลับกรองให้เหมาะสมกับสารเคมีที่ใช้ เช่น กรองสารอินทรีย์ (Organic Vapor) กรองฟูม (Fume)
- การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันดวงตาต้องใช้ชนิดที่ป้องกันแสงจ้าและแสง UV
- การเลือกใช้ถุงมือต้องทำด้วยวัสดุที่ป้องกันความร้อน
- อุปกรณ์ป้องกันและลดเสียงจากการปฏิบัติงานพ่นเคลือบด้วยความร้อน
- รองเท้าที่ใส่ต้องสามารถป้องกันสะเก็ดไฟไม่ให้เข้าไปที่เท้าได้
o ความร้อน ประกายไฟ (temperature) เนื่องจากการพ่นต้องใช้วิธีการอาร์คและเกิดความร้อนสูงขณะทำการพ่นต้องเตรียมอุปกรณ์ป้องกันให้เหมาะสมและจัดช่วงเวลาพักหมุนเวียนให้พนักงานได้พักเป็นระยะเพราะการปฏิบัติงานที่สัมผัสความร้อนสูงจะทำให้พนักงานเสียเหงื่อร่างกายขาดน้ำ
จป.จะต้องเตรียมความพร้อมในขั้นตอนนี้คือ
- ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้งานต้องมีการตรวจสอบสภาพพร้อมใช้งาน
- ระบบควบคุมการทำงานการขออนุญาตในการทำงานตารางการเข้าปฏิบัติงาน ผู้เฝ้าระวัง และแผนฉุกเฉิน
o เสียงดัง (Noise ) การพ่นวัสดุด้วยความร้อนในช่วงการอาร์คและเป่าแรงลมผ่านและพาโลหะที่หลอมละลายไปปิดทับที่ชิ้นงานจะมีเสียงดังต่อเนื่องเกินกว่าค่าความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเฉลี่ย TLV - TWA (Threshold Limit Value – Time-Weight Average) 8 ชั่วโมงต่อวัน ต้องไม่เกิน 85 dBA
o การยศาสตร์ (Ergonomic) การปฏิบัติงานที่มีพื้นที่จำกัด ต้องมีการก้มตัว ปีนขึ้นลงตามลักษณะงาน การปฏิบัติในพื้นที่คับแคบ
จป.จะต้องเตรียมความพร้อมในขั้นตอนนี้คือ
- ตรวจสอบพื้นที่การปฏิบัติงานตำแหน่งที่พนักงานยืนพ่นยืนได้ถนัดมั่นคงลักษณะ
- ประสานงานกับหัวหน้างานถึงแผนการปฏิบัติงานกำหนดเวลาเข้า และเวลาออก เพื่อควบคุมระยะเวลาในการปฏิบัติงานของพนักงานให้สัมพันธ์กันกับลักษณะความยากง่ายของพื้นที่ปฏิบัติ ระยะเวลาที่ไม่เกิดอันตรายในการสัมผัสอันตรายจากสารเคมีและความร้อน
ในกระบวนการปฏิบัติงานในเรื่องของเทคนิค ทักษะการทำงานให้มีคุณภาพรายละเอียดข้อมูลขึ้นอยู่กับหัวหน้างาน ส่วนเรื่องการจะทำให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยอยู่ที่ จป.จะมองปัญหาและประเมินความเสี่ยงได้ครบถ้วนหรือไม่ ติดตามต่อใน ตอนที่ 5 ครับ