งานเคลือบและป้องกันพื้นผิว (Coating protection surface)
เผยแพร่เมื่อ: 17/09/2564
เขียนโดย คุณอนุชา ฉิมเชิด
ผู้จัดการหน่
เรื่อง งานเคลือบและป้องกันพื้นผิว (Coating protection surface)
ประเภทสีทนไฟ (Fire Proofing) หรือเรียกอีกอย่าง PFP (Passive Fire Protection)
ต่อเนื่องจากตอนที่แล้วกล่าวถึงการทำการเคลือบผิวโลหะและได้กล่าวถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการปฏิบัติงานประเภท การเคลือบด้วยสีชนิด อิพ๊อกซี่ (Epoxy) ไปแล้วนั้น ครั้งนี้จะเพิ่มเติมกระบวนการและอันตรายที่จะเกิดจากการปฏิบัติงานกับ สีทนไฟ (Fire Proofing) โดยจะมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติดังนี้
เหตุผลที่ต้องใช้การปกป้องพื้นผิวด้วยวัสดุป้องกันไฟคือ กรณีที่เกิดเพลิงไหม้กับโครงสร้างที่รองรับอุปกรณ์ที่สำคัญๆ เช่น แท่นขุดเจาะ ฐานที่รับน้ำหนักของถังเก็บวัตถุดิบจากกระบวนการผลิต ห้องควบคุมระบบ สิ่งต่างๆเหล่านี้เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นต้องการหน่วงเวลาเพื่อจะมีโอกาสแก้ไขสถานะการณ์ได้ ปกติแล้วจะได้ประมาณ 2- 3 ชั่วโมง เช่นถ้าไฟไหม้แท่นขุดเจาะผลิตน้ำมันและก๊าช ถ้าเกิดไฟไหม้ความร้อนที่เกิดขึ้นจะมีความร้อนสูงมากจนทำให้โครงสร้างที่เป็นโลหะได้รับความร้อนโดยตรงจะมีและเสียรูปทรงพังถล่มลงมาในกรณีที่ฐานล่างที่ไม่ได้เคลือบ (Fire Proofing) โดยมีเวลาน้อยมากเพื่อที่จะทำการกู้ภัย ช่วยเหลือ ปิดระบบ หรือทำการดับเพลิงเพื่อลดความรุนแรงและอพยพผู้ปฏิบัติงานออกจากพื้นที่ได้ทัน
ขั้นตอนการทำสีเคลือบป้องกันไฟ เริ่มต้นจากการเตรียมพื้นผิวจากการพ่นทราย (Sand Blast) และรองพื้นด้วยสีประเภทป้องกันสนิม (Spray painting Primer) จากนั้นเคลือบด้วยสีทนไฟ ทำได้ 2 วิธี คือการพ่นด้วยเครื่อง PFP Pump และฉาบด้วยมือ จะเลือกใช้วิธีไหนขึ้นอยู่กับลักษณะของชิ้นงาน ทั้งสองวิธีนี้ทำเพื่อให้วัสดุเคลือบไปติดกับชิ้นงานเช่นเดียวกับการฉาบปูนที่ผนัง แต่ขั้นตอนที่สำคัญคือการใช้ลูกกลิ้งรีดให้เนื้อสีของ PFP อัดแน่นจับกับพื้นผิวและได้ความหนาตามข้อกำหนดลักษณะ (Specification)
ในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน
o การปฏิบัติงานที่ต้องมีการสัมผัสสารเคมีในรูปแบบของสารตัวทำละลาย (Solvent) สารที่เป็นส่วนผสมในวัสดุเคลือบจะระบุใน SDS ของสารเคลือบเช่น Xylene, Benzene, Polymer of epoxy resin, Solvent naphtha.
o กลิ่นของสีที่ใช้ทำ Fire Proofing จะมีกลิ่นที่รุนแรงจะมีผลกระทบต่อผู้ปฎิบัติงานต้องบสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจตลอดเวลา และส่วนใหญ่มักจะทำในพื้นที่เปิดโล่งเพื่อให้อากาศลมธรรมชาติช่วยระบายแต่ก็จะมีผลกระทบกับกลุ่มงานอื่นที่ปฏิบัติงานบริเวณใกล้เคียงที่ตัวผู้ปฏิบัติไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน
o น้ำหนักของวัสดุฉาบสีกันไฟ จะใช้ในปริมาณต่อพื้นที่มีน้ำหนักมากเพราะเนื่องจากต้องการความหนาของสีที่เคลือบทับพื้นผิวต้องระมัดระวังในการยก เคลื่อนย้าย การเมื่อยล้าจากทำงาน
o การลื่นสะดุดล้มเนื่องจากสีจะมีลักษณะเหนียวเป็นก้อนเมื่อพ่นออกไปบางส่วนที่ไม่จับชิ้นงานก็จะร่วงลงพื้นจึงต้องมีการปิดคลุมพื้นเพื่อไม่ให้สีไปติดที่พื้นหรือนั่งร้านวัสดุปูพื้นมีหลายชนิดเช่น ผ้าฟาง (Blue Sheet) ผ้าใบ(Canvas) วัสดุกันไฟลาม (Monarflex) การปูพื้นจะปูทับช่องเปิดเล็กๆของแผ่นพื้นนั่งร้าน พื้นต่างระดับ ขณะปฏิบัติงานต้องระมัดระวังการสะดุดล้ม
o การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment) โดยเฉพาะอุปกรณ์ป้องกันระบบการหายใจต้องเหมาะสมกับลักษณะงาน
การประเมินความเสี่ยงในงานพ่นเคลือบ Fire Proofing
เป็นความเสี่ยงจากแหล่งกำเนิดพลังงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ประกอบไปด้วย
o สารเคมี (Chemical) จากการสัมผัสกับสีหรือวัสดุที่ใช้ในการพ่นจึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการเข้าสู่ร่างกายของสารเคมีที่ใช้ อย่างครบถ้วนประกอบไปด้วย แว่นครอบดวงตา (Goggle) และหน้ากากกรองสารเคมีชนิดมีตลับกรอง ชุดคลุมป้องกันละอองสี (Chemical suit) ถุงมือยาง (Rubber Gloves) รองเท้า(Boots)
จป.จะต้องเตรียมความพร้อมในขั้นตอนนี้คือ
- ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ในงานฉาบพ่นสีทนไฟเป็นไปตามข้อกำหนดในการปฏิบัติงานและการเลือกใช้ชนิดอุปกรณ์ตรงกับลักษณะการใช้งานหรือ (Specification) การเลือกชนิดตลับกรองให้เหมาะสมกับสารเคมีที่ใช้ เช่น กรองสารอินทรีย์ (Organic Vapor)
- การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันดวงตาต้องใช้ชนิดที่ปิดครอบดวงตาทั้งหมดไม่อนุญาตให้ใช้แว่นตาหรือพ่นสีด้วยตาเปล่า
- การเลือกใช้ถุงมือต้องทำด้วยวัสดุที่มีความทนทานต่อการการทำปฏิกิริยาจากสารเคมี ได้เช่น ถุงมือ ไนไตร (Nitrile Gloves)
- อย่าลืมศึกษา SDS ของสารเคมีที่ใช้และทำการแนะนำพนักงานก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
o แรงดัน (Pressure) เนื่องจากวัสดุที่นำมาใช้เคลือบจะเป็นสารทีมีส่วนผสมที่มีความหนืดและบางชนิดมีน้ำหนักมาก ฉนั้นแรงดันที่จะใช้พ่นจึงต้องมีแรงดันสูง ต้องระมัดระวังในการปรับเพิ่มแรงด้นอาจจะทำให้ท่อส่งสีแตกหรือข้อต่อสายลมหลุด
จป.จะต้องเตรียมความพร้อมในขั้นตอนนี้คือ
- ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้งานต้องมีการตรวจสอบสภาพพร้อมใช้งาน สายลม สายพ่นสี จุดต่อสาย อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ใช้ประกอบกับอุปกรณ์พ่นสี อุปกรณ์วัดค่าแรงดัน (pressure Gage) วาล์วควบคุมแรงดัน (Release Valve)
- ตรวจสอบเอกสารรับรองการตรวจสอบเครื่องจักร เครื่องพ่น PFP
o การยศาสตร์ (Ergonomic) การปฏิบัติงานที่มีพื้นที่จำกัด ต้องมีการก้มตัว ปีนขึ้นลงตามลักษณะงาน การปฏิบัติในพื้นที่คับแคบ
จป.จะต้องเตรียมความพร้อมในขั้นตอนนี้คือ
- ตรวจสอบพื้นที่การปฏิบัติงานตำแหน่งที่พนักงานยืนพ่นสียืนได้ถนัดมั่นคงลักษณะ
- ประสานงานกับหัวหน้างานถึงแผนการปฏิบัติงานกำหนดเวลาเข้า และเวลาออก เพื่อควบคุมระยะเวลาในการปฏิบัติงานของพนักงานให้สัมพันธ์กันกับลักษณะความยากง่ายของพื้นที่ปฏิบัติ ระยะเวลาที่ไม่เกิดอันตรายในการสัมผัสสารเคมี
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือเรื่องการประสานงานกับกลุ่มงานอื่นที่มีกิจกรรมในพื้นที่เดียวกันกับงาน Fire Proof ซึ่งแม้ชื่อจะบอกว่าเป็นสีป้องกันไฟ แต่ขณะทำการเคลือบกระบวนการที่ทำงานต้องใช้สารเคมีที่ไวไฟเช่นทินเนอร์และถ้าบริเวณใกล้ๆมีงานเชื่อมโลหะ(Hot work) ก็จะทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้นได้จากประกายไฟนั้น ติดตามต่อใน ตอนที่ 4 ครับ