เก็บตัวอย่าง (Sampling) อย่างไร ให้ความปลอดภัย

เผยแพร่เมื่อ 17/9/2566
เขียนโดย คุณดิเรก สุดใจ
               ประสบการณ์ในหน่วยงานปฏิบัติการผลิตในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี  มากกว่า 30 ปี 
               
ปัจจุบันทำงานใน กลุ่ม บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
               
ปริญญาตรี  วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต  สาขา วิศวกรรมเครื่องกล
               ปริญญาตรี
  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ
               ปริญญาตรี
  วิทยาศาสตร์บัญฑิต สาขา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (มสธ.)

 

เก็บตัวอย่าง (Sampling) อย่างไร ให้ปลอดภัย

          ในโรงงานปิโตรเลียมปิโตรเคมี ต้องมีการตรวจคุณภาพวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์เพื่อยืนยันคุณภาพก่อนนำมาใช้หรือส่งให้ลูกค้าก่อนเสมอ และสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือการเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปให้ แลป วิเคราะห์ผลและรายงานให้ทาง Operation ทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป เช่น  การปรับสภาวะการเดินเครื่องให้ได้คุณภาพตาม spec. เป็นต้น  โดยจะมีการกำหนด Schedule การเก็บตัวอย่างจะมีทั้งแบบที่ต้องทำทุกวันตามเวลา และตารางการเก็บที่ชัดเจน หรือ เป็นแบบออก request เป็นบางกรณีมีความจำเป็นเพิ่มเติม

          แต่อย่างไรก็ตามก็ยังพบว่ามี Incident จากการเก็บตัวอย่างมากมาย เช่น พนักงานสัมผัสความร้อนจากการลุกติดไฟในการเก็บตัวอย่าง Pure Hydrogen พนักงานสัมผัสความเย็นจากการเก็บตัวอย่าง Ethylene พนักงานสัมผัสกรดจากการเก็บ ตัวอย่าง Sulfuric acid เป็นต้น

          การวิธีการเก็บตัวอย่าง   โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ 4 แบบ คือ
                    
1. เป็นแบบเก็บด้วยขวดเก็บตัวอย่างที่ตู้ DOPAK

     

          เป็นการเก็บตัวอย่างที่มีลักษณะเป็นของเหลว เช่น Cumene, Propylene Oxide ส่วนใหญ่จะมีไอระเหย  ดังนั้น   เพื่อความปลอดภัย  มีตัวอย่างขั้นตอน ดังนี้ 
               
a) สวมชุดสำหรับเก็บตัวอย่าง แว่นตานิรภัย ถุงมือป้องกันสารเคมี และหน้ากากกรองสารเคมี ตลอดการเก็บตัวอย่างเพื่อป้องกันการสัมผัส และสูดดมสารเคมี
               
b) ตรวจสอบ Valve ทุกตัวต้องอยู่ในตำแหน่ง ปิด
               
c) เปิด V.A ของ CWS และ V.B ของ CWR
               
d) ทำการ Install ขวดเก็บตัวอย่างเข้ากับจุดเก็บตัวอย่าง หัวจ่าย sample จะเป็นหัวเข็ม ฝาขวดตัวอย่างจะเป็นยางเมื่อสวมแล้วเข็มจะเจาะฝายางลงไปที่ขวด
               
e) เปิด V.3 และ V.2 (Three-way valve) ทางที่ไป Blow Down Line และ ปิด V.2 (Three-way valve) ทางที่สารเคมีจะไปที่ขวดเก็บตัวอย่าง เพื่อทำการ Purge ให้สารเคมี ไปที่ Blow Down Line ประมาณ 1-2 นาที
               
f) ทำการ ปิด V.2 (Three way valve) ทางที่ Blow Down Line และ เปิด วาล์ว 2 (Three way valve) ทางที่สารเคมีไปที่ภาชนะเก็บตัวอย่าง เพื่อให้สารเคมีเข้าไปในภาชนะที่จะเก็บตัวอย่างชั่วคราวก่อน 1 ขวด เพื่อ flush line เข้าขวด sample หลังจากนั้นค่อยเก็บขวดตัวอย่างจริงที่จะนำส่ง แลป
               
g) ทำการ ปิด V.1 , V.2 (Three-way valve) และ V.3 เมื่อเก็บตัวอย่างเสร็จแล้วเรียบร้อย และปิด V.A ของ CWS และ V.B ของ CWR
               
h) นำภาชนะเก็บตัวอย่างส่งหน่วยงานวิเคราะห์ตัวอย่าง LAB โดยติดฉลาก 1. หมายเลขที่เก็บตัวอย่าง 2.ตัวอย่างคืออะไร 3.ใครเก็บ  4.วันเวลาที่เก็บ

 

          2.  เป็นแบบเก็บด้วย Bomb ที่ตู้ DOPAK

   

Credit https://www.alibaba.com

          โดยทั่วไปจะเก็บด้วย Bomb เพื่อเก็บก๊าซ อาจจะเป็นของเหลวหรือก๊าซ เช่น เอทลีนหรือ โพรไพลีน เป็นต้น  มีตัวอย่างขั้นตอน ดังนี้
               
a) สวมชุดสำหรับเก็บตัวอย่าง แว่นตานิรภัย ถุงมือป้องกันสารเคมี และหน้ากากกรองสารเคมี ตลอดการเก็บตัวอย่างเพื่อป้องกันการสัมผัส และสูดดมสารเคมี
               
b) ตรวจสอบ Valve ทุกตัวต้องอยู่ในตำแหน่ง ปิด
               
c) เปิด V.A ของ CWS และ V.B ของ CWR
               
d) ทำการตรวจสอบ V.3 และV.6 ให้อยู่ในตำแหน่ง ปิด
               
e) ทำการติดตั้ง ภาชนะ(Bomb) เก็บตัวอย่างเข้ากับจุดเก็บ
               
f) ทำการ เปิด V.1,V.2,V.5,V8 และ V.9 เพื่อทำการ Purge ให้สารเคมีไปที่ Blow Down  Line ประมาณ 1-2 นาที เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่ดี โดยไม่ผ่านภาชนะ(Bomb)
               
g) ทำการ Close V.5 และ Open V.3 V.4 V.7 และ V.6 เพื่อทำการเก็บตัวอย่างสารเคมี ให้ผ่านภาชนะ(Bomb) ไปที่ Blow Down Line เปิดผ่าน Bomb ประมาณ 1-2 นาที
               
h) เมื่อได้ตัวอย่างสารเคมีเรียบร้อยให้ทำการ ปิด V.7,V.4 และ ปิด V.1  เปิด V.5 Depressurized ที่ค้างอยู่ใน Line โดยผ่าน V.3,V.6,V.8 และ V.9
               
i) เมื่อทำตามขั้นตอนด้านบนเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการClose V.2,V.3,V.6,V.5,V.8 และ V.9
               
j) ทำการ Close V.A ของ CWS และ V.B ของ CWR
               k) 
ทำการถอดภาชนะ (Bomb) ออกและนำตัวอย่างสารเคมี ส่งหนวยงาน LAB และติดตามผลสารเคมีโดยติดฉลาก 1. หมายเลขที่เก็บตัวอย่าง 2.ตัวอย่างคืออะไร 3.ใครเก็บ  4.วันเวลาที่เก็บ

          3. เป็นแบบเก็บตัวอย่างที่ต่อมามาจาก line ผลิต โดยใช้ขวดเก็บตัวอย่าง

  

Credit https://www.arcosafety.ie/expert-advice/hand-protection/product-selection

          ส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมี เช่น กรด ด่าง เป็นต้น  โดยมีตัวอย่างขั้นตอน  ดังนี้
               a) สวมชุดสำหรับเก็บตัวอย่าง แว่นตานิรภัย ถุงมือป้องกันสารเคมี และหน้ากากกรองสารเคมี ตลอดการเก็บตัวอย่างเพื่อป้องกันการสัมผัส และสูดดมสารเคมี
               
b) ทำการ ตรวจสอบ V.1,V.2 และ V.3 ให้อยู่ในตำแหน่ง ปิด ก่อนการเก็บตัวอย่าง
               
c) ทำการ เปิด V.1,V.2 และ V.3 เพื่อทำการ ไล่ ไล่สารเคมีที่ยังค้างใน Line ประมาณ 1-2 นาที เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่ดี
               
d) ปิด V.3 นำภาชนะ (อาจจะเป็นขวด)ที่จะเก็บตัวอย่างมา รอง ที่จุดเก็บตัวอย่าง
               
e) เปิด V.3 ทำการเก็บตัวอย่างให้ได้ในระดับที่ต้องการ แล้วทำการ ปิด V.1,V.2และV.3 แล้วปิดฝาภาชนะที่เก็บตัวอย่าง
               f) 
นำตัวอย่างสารเคมี ส่งหนวยงาน LAB โดยติดฉลาก  1.หมายเลขที่เก็บตัวอย่าง 2.ตัวอย่างคืออะไร 3.ใครเก็บ  4.วันเวลาที่เก็บ

          4. เป็นแบบ การเก็บตัวอย่างแบบจ้วง (grab sampling)

Credit https://greenpactank.com/water-samples-for-analysis/

          ส่วนมากเป็นการเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อต่างๆ  โดยมีตัวอย่างขั้นตอน  ดังนี้
               
a) ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและอุปกรณ์สําหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นขณะเก็บตัวอย่างน้ำ
               
b) จัดเตรียมภาชนะเก็บตัวอย่าง สารเคมีฉลากหรือป้ายติดภาชนะตามคู่มือปฏิบัติงาน
               
c) เก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) ตามแผนการเก็บตัวอย่าง
               
d) นำตัวอย่าง ส่งหน่วยงาน LAB โดยติดฉลาก 1. หมายเลขที่เก็บตัวอย่าง   2.ตัวอย่างคืออะไร  3. ใครเก็บ  4.วันเวลาที่เก็บ

          อันตรายจากการเก็บตัวอย่างก็จะมีการสูดดมไอระเหย สัมผัส ความร้อน ความเย็น การกระเซ็นเปื้อนและสัมผัสสารเคมี  เพื่อความปลอดภัยเราต้องใส่ PPE ให้ครบถวนตามคำแนะนำของคู่มือการเก็บตัวอย่าง

 

Visitors: 419,924