ทักษะสำคัญของผู้ให้คำปรึกษา นักอาชีวอนามัย กับ ความสนใจใฝ่รู้อย่างชาญฉลาด (Intellectual curiosity)

เผยแพร่เมื่อ 18/9/2567
เขียนโดย มิสเตอร์เซฟตี้

 

ทักษะสำคัญของผู้ให้คำปรึกษา
นักอาชีวอนามัย กับความสนใจใฝ่รู้อย่างชาญฉลาด
(
Intellectual curiosity)
 

          คราวนี้มาคุยกันต่อถึงทักษะที่สำคัญของการเป็นผู้ให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพกันครับ อีกทักษะที่สำคัญในการจะให้คำปรึกษาใครได้ก็คือ พื้นฐานความรู้ กับความเท่าทันของการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ตามที่เคยเกร่นไปแล้วว่า บริบทของการทำงานเป็นนักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยฯ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า บทบาทในการทำงานนั้นส่วนใหญ่นั้นต้อง หาทางตอบคำถาม ว่าอย่างนี้อย่างนั้นปลอดภัยไหม และถ้าไม่ปลอดภัยมักจะถูกถามว่าแล้วจะทำอย่างไร แน่นอนนักอาชีวอนามัย ไม่ใช่จะรู้ไปทุกเรื่อง เก่งไปเสียทุกอย่าง เรามาคุยกันต่อในคุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ความสนใจใฝ่รู้อย่างชาญฉลาด (Intellectual curiosity)

          ความสนใจใฝ่รู้อย่างชาญฉลาด (Intellectual curiosity) แบ่งออกได้เป็นหลักของความรู้ ดังนี้ครับ
               
1. ความรู้ด้านอุตสาหกรรม (Industrial Knowledge)
                 
ข้อดีอันดับต้นๆ ของอาชีพผู้ให้คำปรึกษา คือการได้สัมผัสกับสถานประกอบกิจการหลายๆ องค์กร ในหลายๆ แวดวงธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม (Factory) ธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่ง (Logistics and Transportation) ห่วงโซ่อุปาทาน (Supply Chain) สถาบันการเงิน (Financial Institution) ธุรกิจโทรคมนาคม (Telecommunication) กลุ่มพลังงาน (Energy & Utilities) กลุ่มค้าปลีก (Retail) และอื่นๆ  แต่การที่จะเข้าไปให้คำปรึกษาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ทำงานในแวดวงนั้นมาเป็นเวลานานมากๆ เป็น 10 ปีนั้น ผู้ให้คำปรึกษาก็ต้องรู้จักธุรกิจของสถานประกอบกิจการเป็นอย่างดีด้วย  เช่น ถ้าเป็นโรงงานผลิตสารเคมี ก็ต้องรู้กระบวนการผลิต วิธีใน การจัดเก็บ และการกำจัดอย่างปลอดภัย เป็นต้น ถ้ามองภาพใหญ่ขึ้นมาของกระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งๆ จะเห็นเป็นความเกี่ยงโยงในระดับใหญ่ขึ้น ของระบบห่วงโซ่อุปาทาน (Supply Chain) ซึ่งแต่ละส่วนก็มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน ใหญ่ๆ ผมขอยกตัวอย่าง กรณีเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทอนิกส์ จะแบ่งเป็นหลักๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ก็เริ่มตังแต่ขบวนการ (1) Fabrication เลยครับ ต้องผลิตแผงวงจรขนาดเล็ก ถึงเล็กมากขึ้นเรื่อยๆ (2) Semiconductor มาทำให้แผงวงจรเล็กๆ นั้นมาใช้งานได้ ที่เราเรียกกันว่า ICs หรือ components อื่นๆ ไม่ว่าจะ Diode เป็นต้น (3) Printed circuit board มาประกอบกัน เพื่อให้ใช้งานได้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ (4) Products แล้วมาทำเป็นผลิตภ.ณฑ์ที่มีความหลากหลาย เป็นต้น

               2. ความรู้เชิงเทคนิค (Technical Knowledge)
                 
 นอกจากความรู้ด้านอุตสาหกรรมแล้ว ความรู้เชิงเทคนิค (Technical Knowledge) ก็สำคัญไม่หย่อนไปกว่ากัน ความรู้ประเภทนี้ ไม่ได้หมายถึงด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น Process Improvement, Process Safety Management, Business Continuity Management, Program Management เป็นต้น การจะได้มาซึ่งความรู้พวกนี้ คือต้องอ่านและศึกษาให้มากๆ การเข้าสัมมนา การเป็นสมาชิกชมรม ฯลฯ ยิ่งถ้าไปสายเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ก็ต้องอ่านและตามข่าวให้มากขึ้นไปอีก เพราะเทคโนโลยีไปค่อนข้างไว และต้องปรับตัวเองให้ทันกับความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ          

               3. ความรู้ทางธุรกิจทั่วไป (General Business Knowledge)
                  
ความรู้ทางธุรกิจทั่วไป เช่น ใครเป็นเจ้าของใคร ธุรกิจใดควบรวมกันเพราะอะไร อุตสาหกรรมหรือตลาดหุ้นเป็นอย่างไร เป็นต้น ความรู้ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ยิ่งมีติดตัวไว้ยิ่งดี เอาไว้คุยกับสถานประกอบกิจการ หรือใช้วิเคราะห์ข้อมูล

          แน่นอนครับ เราต้องมีคำตอบ “ที่ดี” “ที่ปลอดภัย” หรือ “เป็นที่พอใจ” ให้กับผู้ขอคำปรึกษา ดังนั้น การใช้กระบวนการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ ทักษะการให้คำปรึกษา (Consulting Skills) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นว่า “ภาพ” ที่ชัดเจนและถูกต้องและเชื่อมโยงกับผู้รับคำปรึกษา นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่จะให้คำปรึกษาที่ตรงกับสภาพที่เป็นจริงขององค์กรนั้นๆ และสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยง่าย

Visitors: 419,761