โครงการ การเรียนรู้เชิงรุกเรื่องความปลอดภัย โดย สถานี DOJO (Proactive Safety Learning by DOJO station)

เผยแพร่เมื่อ 2/10/2567
เขียนโดย คุณสงคราม ตันติถาวรวัฒน์
           ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
           บริษัท Siam Fibre Cement Group จำกัด
           นักบริหารความปลอดภัยขั้นสูง รุ่นที่ 6 (นปส.6)

 

 โครงการการเรียนรู้เชิงรุกเรื่องความปลอดภัย โดยสถานี DOJO
(Proactive Safety Learning by DOJO Station)

          ในแต่ละปีองค์กรมีการลงทุนไปกับการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานเป็นจำนวนมากหลายต่อหลายครั้ง จึงมีคำถามตามมาว่า องค์กรได้มีการพัฒนาพนักงานอย่างตรงจุดมากน้อยแค่ไหน และผลลัพธ์ของการพัฒนามีความคุ้มค่าเพียงใด การทำให้บุคคลากรสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ปลอดภัยดียิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนากระบวนการฝึกอบรมขององค์กร มีการพัฒนาอย่างตรงจุด ผลลัพธ์ของการพัฒนามีความคุ้มค่าสูงสุด จึงได้ออกแบบโครงการการเรียนรู้เชิงรุกเรื่องความปลอดภัย โดยสถานี DOJO พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมความรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองจนเข้าใจ กับภาคปฏิบัติที่จำลองเหตุการณ์ และสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากสถานที่ทำงานจริง

          จากอดีตที่ผ่านมาการอบรมเรื่องความปลอดภัยในห้องเรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่องค์กรใช้เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแก้ปัญหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดจากตัวพนักงาน (Peopleware) เนื่องจากพนักงานไม่รู้ ไม่ระวัง เร่งรีบ เผลอเลอ คาดการณ์ผิด รัดขั้นตอน เป็นต้น เมื่อผลการสอบสวนอุบัติเหตุแล้วพบปัญหาที่เกิดจากตัวพนักงาน ก็จะให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องจากการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว มาเข้าอบรมในเรื่องต่าง ๆ พร้อมบันทึกผลการอบรมด้วยการเซ็นต์ชื่อ เก็บบันทึกผลการอบรมเอาไว้อ้างอิงว่าได้อบรมแล้ว ครบแล้ว พน้กงานควรรู้แล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราพบว่าพนักงานดังกล่าว กลับเกิดอุบัติเหตุ ด้วยสาเหตุที่เกิดจากตัวพนักงานเกิดขึ้นซ้ำอีก เราจึงมาหาสาเหตุว่าเพราะอะไรจึงเกิดปัญหาด้วยสาเหตุเดิมซ้ำอีก และหาแนวทางการแก้ไขด้วยการเรียนรู้เชิงรุกเรื่องความปลอดภัย โดยสถานี DOJO (Proactive Safety Learning by DOJO Station) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่องค์กรมีแผนงานในการขอการรับรอง TPM award โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาจากญี่ปุ่นมาให้คำแนะนำ คำว่า DOJO
          
"DO (โด)" = มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า วิธีการปฏิบัติหรือแนวทางปฏิบัติ
          
"JO (โจ)" = มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ห้องโถงหรือสถานที่ขนาดใหญ่

          Safety DOJO Station จึงหมายถึง สถานีฝึกอบรมโดยการสร้างแบบจำลองอุบัติเหตุ เพื่อใช้ในการอบรมเรื่องความปลอดภัย ดังนั้น Proactive Safety Learning by DOJO Station หรือการเรียนรู้เชิงรุกเรื่องความปลอดภัย โดยสถานี DOJO ซึ่งเชิงรุก หรือ Proactive ในที่นี้ จะหมายถึงการให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในการวิเคราะห์ หาอันตรายจากสถานการณ์อุบัติเหตุที่จำลองขึ้น พร้อมมาตรการป้องกัน ก่อนที่จะผู้เรียน จะได้มีส่วนร่วมในการเป็นผู้ประสบเหตุเองจริง ๆ จนเกิดความตระหนักว่า หากไม่ป้องกันอันตรายตามข้อแนะนำ จะได้รับผลจากการลองประสบเหตุเองจริง ๆ ว่าจะรู้สึกอย่างไร รู้สึกแค่ไหน ก่อนที่จะจัดให้มีการเรียนรู้เชิงรุกเรื่องความปลอดภัย โดยสถานี DOJO องค์กรมีแนวทางในการบริหารความปลอดภัย (Conceptual Safety Management) เพื่อแก้ปัญหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น จากเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Hardware), วิธีการทำงาน (Software) และตัวพนักงาน (People Ware) อย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
               
1. Foolproof and Automation เป็นการเพิ่มพื้นที่หรืองานตามแนวทาง Fool Proof Techniques หรือเทคนิคการป้องกันความผิดพลาดจากความพลั้งเผลอของมนุษย์ ร่วมกับการพัฒนาปรับปรุง หรือออกแบบเครื่องจักรเป็นระบบ Automation (Automation Machine) เพื่อลดการใช้แรงงานในงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะเฉพาะด้าน (Non Skill Labor) จะเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยแก้ปัญหาของอุบัติเหตุที่มีสาเหตุเกิดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์

               2. Zero Touching Point เป็นกิจกรรมที่ช่วยลดสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดจากวิธีการทำงาน (Software) ในงานที่พนักงานต้อง สัมผัส (Touching) กับจุดเสี่ยงที่มีอันตรายสูง (High) และปานกลาง (Medium)

               3. Class Room Safety Training เป็นการฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยในห้องเรียน

 

Class room training problem

          เมื่ออ้างอิงตาม Cone of Learning Theory ซึ่งเน้นย้ำความเข้าใจในเรื่องของระดับการมีส่วนร่วม (Level of Involvement) ซึ่งพัฒนาและปรับปรุงโดย Bruce Hyland จาก Material by Edgar Dale อธิบายไว้ว่าใน 2 รูปแบบของการรับรู้
               
1. การรับรู้เชิงรับ (Passive) คือ การรับรู้ด้วยการฟังเสียง (Verbal Receiving) จากการฟังหรืออ่าน มีเปอร์เซนต์ ประสิทธิผลของการเรียนรู้ (% Learning Effectiveness:%LE) 30% ถ้ามีตัวอย่างให้เห็น สาธิตให้ดู หรือได้ยินเสียงด้วย %LE สูงขึ้น เป็น 50%
               
2. การรับรู้เชิงรุก (Active) คือ การรับรู้โดยการมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์อย่างลึกซึ้งขึ้น %LE สูงขึ้น เป็น 70% และถ้าเราสามารถสอนผ่านสถานการณ์จำลอง ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ผ่านการลองทำ ลองปฎิบัติ จะทำให้ %LE สูงขึ้นถึง 90% จาก Cone of Learning Theory ข้างต้น ทางทีมงานจึงมา Observe การอบรมเรื่องความปลอดภัยในป้องเรียน พบว่า มีเพียงผู้สอนที่จะตื่นตัวอยู่ในขณะบรรยายเรื่องต่าง ๆ พบปัญหาเรื้อรัง ที่เจอได้ในหลาย ๆ หลักสูตร คือ พนักงานง่วงนอน หลับ แสดงอาการเบื่อ ไม่อยากฟัง ไม่สนใจ พูดคุยกัน ดูโทรศัพท์ ที่สำคัญคือ อาจจะจำเนื้อหาที่อบรมไม่ได้หลังจากอบรม และเซ็นต์ชื่อเข้าอบรมแล้วเสร็จ

          จากบทวิเคราะห์ปัญหาของการเรียนรู้แบบ Passive Learning อบรมเรื่องความปลอดภัยในห้องเรียน หากเราต้องการสร้างให้พนักงานมี Safety Awareness สูงขึ้น โดยนำแนวทางของ Result Matrix มาประยุกต์ใช้ กระบวนการ Result Matrix ประกอบด้วย Know, Believe, Feel และ Act
               Know คือ การทำให้พนักงานรู้ หรือมีความรู้ในเรื่องที่เราต้องการแก้ปัญหา หรือเรื่องที่เราต้องการเพิ่มประสิทธิผลด้านความปลอดภัย
               
Believe คือ การสร้างให้พนักงานเกิดความเชื่อว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้มา สามารถช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย สามารถเพิ่มประสิทธิผลของงานด้านต่าง ๆ ได้
               
Feel คือ ความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ อยากดำเนินการหรือปฏิบัติตามกฎกติกาต่าง ๆ เรื่องความปลอดภัย รวมถึงเรื่องอื่น ๆ เนื่องจากพนักงานเกิดความเชื่อ (Believe) หลังจากที่ได้เรียนรู้ (Know) ผ่านกระบวนการต่าง ๆ
               
Act คือการปฎิบัติตน ตามกฏ ตามกติกา หรือมาตรการต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย ด้วยความตระหนัก หรือ Awareness ที่เกิดขึ้นด้วยตัวพนักงานเอง
               
หากแต่การนำ Result Matrix มาอธิบายด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ Passive Learning การสร้างให้เกิด Feel ทำได้ยาก เนื่องจากพนักงานทำตามกติกา หรือมาตรการต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกว่าต้องปฏิบัติตามเพราะถูกบังคับ เพราะเพื่อน ๆ ทำตามกติกากัน หากแต่ตัวพนักงานเอง อาจจะยังไม่รู้สึก (Feel) ในการปฎิบัติตามด้วยตัวพนักงานเอง หลายครั้งการสื่อสารเรื่องความปลอดภัย จำเป็นต้องสร้าง ความรู้สึกกลัว (Feel Fear) ในเรื่องความเสี่ยง หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น ทั้งในงานและนอกงาน ผู้บริหารได้จัดสรรงบประมาณในการสร้างอาคารและสถานี DOJO เพื่อใช้สำหรับอบรมพนักงาน สร้างการเรียนรู้เชิงรุกเรื่องความปลอดภัย

          จึงเป็นที่มาของการฝึกอบรมการเรียนรู้เชิงรุกเรื่องความปลอดภัย โดย สถานี DOJO (Proactive Safety Learning by DOJO Station) ด้วยการจำลอง (Simulating) อุบัติเหตุ หรือความเสี่ยงให้พนักงานฝึกปฏิบัติด้วยประสบการณ์จริง เกิดความรู้สึกกลัวความเสี่ยง (Feel Risk or Fear) ที่ได้รับสัมผัสจากการฝึกประสบการณ์จริงในสถานีข้อมูลที่นำมาใช้ในการสร้างสถานี (Information for DOJO Station) โดยวิเคราะห์สถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้น ทำให้เราสร้าง DOJO station ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่าง ๆ ปัจจุบันมีการสร้าง DOJO station รวม 35 สถานี

       

ภาพกิจกรรม

การฝึกการปฏิบัติงานบนหลังคา

 

การจำลองการตกจากที่สูงลงบน Safety Net

 

นำอุบัติเหตุรถยกที่เกิดขึ้นจริง มาจัดทำเป็น DOJO Station ฝึกการตกจริงหากไม่คาด Safety Belt

 

 

แบบจำลอง อันตรายที่เกิดจากการไม่ติดตั้ง Flashback Arrestor

 

อันตรายจากจุดหมุนของ Roller ดึงผมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ

          สรุปผลการทำโครงการ การเรียนรู้เชิงรุกเรื่องความปลอดภัย โดย สถานี DOJO (Proactive Safety Learning by DOJO Station) ที่ผ่านมาสามารถสร้าง Trainer และอบรมพนักงาน และคู่ธุกิจ ได้ครบทุกคนในโรงงาน จนทำให้ค่า IFR ลดลง ๆ อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการขยาย กำลังการผลิต เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางผู้เขียนบทความจึงขอนำมาเล่าให้เพื่อนสมาชิกของ ส.อ.ป. ได้รับรู้ถึงแนวทางการอบรมในรูปแบบ ดังกล่าวข้างต้น และหากสนใจส่งพนักงานมาอบรม หรือดูงานก็สามารถติดต่อมายังกองบรรณาธิการบทความของ ส.อ.ป. (ohswa.paper@gmail.com) ได้นะครับ

 

Visitors: 409,202