No Safety No Productivity สินค้า (ผลิต) ไม่ปลอดภัย ก็ไร้คุณภาพ

เผยแพร่เมื่อ 08/09/2564...,
เขียนโดย คุณยืนยง เพียรสวัสดิ์
               เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ 
               บริษัท บริดจสโตน (ประเทศไทย)...,

เรื่อง No Safety No Productivity
สินค้า (ผลิต) ไม่ปลอดภัย ก็ไร้คุณภาพ

 

          หลายครั้งที่เหล่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ (จป.ว.) ต้องเจอในชีวิตการทำงานก็คือการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรมที่บางครั้งก็สวนทางกับงานด้านความปลอดภัยฯ ปฏิเสธไม่ได้ว่าพนักงาน หัวหน้างาน ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ มักมองว่างานด้านความปลอดภัยฯ เป็นสิ่งที่ทำให้การผลิตสินค้าเกิดความล้าช้า กำลังการผลิตน้อยลง เพิ่มขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากให้กับพนักงาน เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร วันนี้ผมจึงอยากมาพูดถึงการจัดการงานด้านความปลอดภัยฯที่สามารถเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กรและเกิดความปลอดภัยสูงสุดในเวลาเดียวกัน

          การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว (time and motion study) เป็นหนึ่งในเทคนิคเชิงระบบซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมภาคการผลิตและการบริการซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นที่นิยมใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงและ/หรือออกแบบวิธีการทำงาน นอกจากนี้เทคนิคนี้ยังถูกนำมาปรับใช้กับงานด้านความปลอดภัยฯ เช่นการแก้ปัญหาด้านการยศาสตร์ ได้แก่
                    1. 
การทำงานในท่าทางที่ผิกปกติ (Awkward posture)
                    2. 
การทำงานที่ต้องใช้มือในการออกแรงมา (High hand force)
                    3. 
การทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวซ้ำๆ (Highly repetitive motion)
                    4. 
การทำงานเคลื่อนย้ายวัตถุด้วยมือ (Lifting)
                    5. 
การทำงานที่มีความสั่นสะเทือนที่มือ (Hand arm vibration) เป็นต้น

          พนักงานที่ทำงานที่มีลักษณะตามที่กล่าวมาก็จะพบปัญหาด้านการยศาสตร์ซึ่งนอกจะส่งผลทำให้พนักงานนั้นสามารถเกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน (Work related musculoskeletal disorders) ได้แล้วยังทำให้พนักงานไม่สะดวกสบายในการทำงาน เมื่อย ล้า มีผลทำให้ การผลิตสินค้าได้น้อยลงตามไปด้วย จะเห็นได้ว่าปัญหาด้านความปลอดภัยฯสามารถส่งผลกระทบไปยังการผลิตได้ทั้งในทางตรง (Direct effects)และในทางอ้อม (Indirect effects) หากเรานำเทคนิคการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว (time and motion study) มาใช้ร่วมกับแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการยศาสตร์ เช่น การจัด/ออกแบบสถานีการทำงาน การใช้อุปกรณ์ช่วยยก การปรับขั้นตอนการทำงาน หรือการจัดการชั่วโมงการทำงาน เป็นต้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาที่กล่าวมานั้นบางวิธีการแทบจะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณในการดำเนินแถมยังช่วยเพิ่มผลผลอตและความปลอดภัยให้กับพนักงานและองค์กรอย่างสูงสุดอีกด้วย ดังนั้นเราในฐานะเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยจึงมีหน้าที่ช่วยให้พนักงานทุกคนทำงานได้อย่างปลอดภัยและองค์กรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างเข้มแข็ง

 

 

Visitors: 414,905