เพราะลมหายใจมีคุณค่า เราต้องศึกษาเรื่องความปลอดภัย

เผยแพร่เมื่อ 11/07/2564...,
เขียนโดย คุณอัสมี  สาและ 
               Occupational Health and Safety Management Engineer
               C&G ENVIRONMENTAL PROTECTION (THAILAND) CO.,LTD...,

 

เรื่อง เพราะลมหายใจมีคุณค่า เราต้องศึกษาเรื่องความปลอดภัย

          1. การปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศด้วยความปลอดภัย
                    
1.1.   คำจำกัดความ พื้นที่อับอากาศ (Confined Spaces) หมายถึง สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะ และปลอดภัยซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็น พิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่นถังน้ำมัน ถังหมัก ไซโล ท่อ ถัง ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตา ห้องใต้ดิน ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ การพิจารณาว่าพื้นที่ใดจัดเป็นพื้นที่อับอากาศ มีปัจจัยในการพิจารณาดังนี้
                              
o   พื้นที่ซึ่งมีขนาดเล็ก แก๊สหรือไอที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นไม่สามารถระบายออกไปได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้น อาจสูดดมเอาแก๊สพิษเข้าไปในร่างกายหรือมีออกซิเจนไม่เพียงพอ รวมถึงอาจมีแก๊สที่ติดไฟได้ในบริเวณนั้น
                              
o   ผู้ปฏิบัติงานคนอื่นๆ ที่อยู่นอกพื้นที่นั้นจะเข้าไปสังเกตการณ์หรือช่วยเหลือผู้ที่กำลังปฏิบัติงานได้ยาก
                              
o   ช่องเปิด ทางเข้า-ออก อยู่ไกลจากจุดปฏิบัติงาน มีขนาดเล็ก หรือมีจำนวนจำกัด
                    
1.2.   ก่อนเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศต้องทำอย่างไร?
                              
o   ตรวจสอบปริมาณออกซิเจน สารเคมีและแก๊สอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการขาดออกซิเจน การระเบิดหรือการเป็นพิษเกิดขึ้น
                              
o   เขียนใบอนุญาตทำงานในพื้นที่อับอากาศ
                              
o   หากพบว่าสถานที่อับอากาศนั้นไม่อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย จะต้องทำการระบายอากาศจนกว่าจะอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย
                              
o   ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความคุ้นเคยกับพื้นที่ทำงานนั้นเป็นอย่างดี รู้วิธีการออกจากสถานที่นั้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
                              
o   การวางแผนการทำงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าใจรวมทั้งจัดอบรมด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ
                    
1.3.   ขณะทำงานในสถานที่อับอากาศ
                              
o   ตรวจสภาพอากาศเป็นระยะและอาจต้องมีการระบายอากาศตลอดเวลาถ้าจำเป็น
                              
o   ผู้ปฏิบัติงานต้องรู้สภาพอากาศขณะทำงานตลอดเวลา
                              
o   จัดให้มีผู้ช่วยซึ่งผ่านการอบรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเฝ้าอยู่ปากทางเข้าออกตลอดเวลาทำงาน และสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานข้างในได้ตลอดเวลา
                              
o   ห้ามผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในสถานที่อับอากาศ
                              
o   ห้ามสูบบุหรี่
                              
o   จะต้องติดป้ายแจ้งข้อความเตือน “บริเวณอันตรายห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต” พร้อมจัดทำระบบ Lock Out/Tag Out ที่เครื่องจักรกล ระบบไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อป้องกันบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานเข้ามารบกวนหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขภายในพื้นที่อับอากาศ
                              
o   หากจำเป็นต้องพ่นสีหรือมีน้ำมันชนิดระเหย หรือต้องทำให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟ ต้องมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม
                              
o   ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามสภาพของงานและต้องมีเครื่องดับเพลิงประจำอยู่ในบริเวณที่มีการปฏิบัติงาน
                              
o   ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติ
                              
o   ในกรณีฉุกเฉิน ถ้ามีผู้ปฏิบัติงานคนใดคนหนึ่งเกิดบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายในพื้นที่อับอากาศ ห้ามผู้ปฏิบัติงานคนอื่นเข้าไปช่วยเหลือหากไม่ได้รับการฝึกฝนมาหรือไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม เนื่องจากอาจเป็นอันตรายได้
                    
1.4.   ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
                              
o   ฟัง ชี้แจงรายละเอียดและ ขั้นตอนการทำงาน , อันตรายที่อาจได้รับ, การปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
                              
o   แจ้งปัญหาสุขภาพที่เป็นอันตรายต่อการเข้าทำงานให้ผู้ควบคุมงาน ทราบเพื่อจัดหาคนอื่นทำแทน
                              
o   จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการทำงานให้เหมาะสมและเพียงพอ
                              
o   สวมใส่ใช้เครื่องป้องกันอันตราย และ PPE
                              
o   ห้ามนำอุปกรณ์/เครื่องมืออื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป
                              
o   ห้ามดื่มน้ำ , ทานอาหาร, สูบบุหรี่ในที่อับอากาศ
                              
o   พักผ่อนให้เพียงพอ
                              
o   ตกลงวิธีการติดต่อสื่อสารกับผู้ช่วยเหลือ
                              
o   ลงชื่อ/เวลาที่เข้า-ออก

          2. อันตรายในพื้นที่อับอากาศการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ
                    
2.1.   การขาดออกซิเจน
                              
o   ปริมาณออกซิเจน ในอากาศแค่ไหนถึงเป็นอันตราย
                                   
โดยปกติแล้ว อากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้น,ประกอบด้วยออกซิเจนประมาณ 21% และไนโตรเจนประมาณ 79% และปริมาณออกซิเจนที่สภาพเหมาะสมที่คนเราสามารถอยู่ได้อย่างสบาย จะต้องมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 19.5-23.5% แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนในอากาศลดลงเหลือ 15-17%  จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกิดขึ้น นั่นก็คืออาการของภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ซึ่งนายแพทย์สุระ เจตน์วาทีแพทย์เวชศาสตร์การบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ชีพชั้นสูง และการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ให้ข้อมูลว่าปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในช่วง 12-15% ถือว่ามีความเสี่ยงต่อร่างกายมนุษย์แล้ว ถ้าเหลือ 12% ถือว่าอันตรายและถ้าต่ำถึง 8% เมื่อไรจะเสียชีวิตได้ภายใน 8 นาที
                              
o   ภาวะพร่องออกซิเจน อาการเป็นอย่างไร ?
                                        - 
รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบากขึ้น หายใจถี่ขึ้น ไอ
                                        - 
หัวใจเต้นเร็วขึ้น
                                        - 
การรับรู้ตัวลดลง สับสน มึนงง ซึม
                                        - 
วิงเวียน ปวดศีรษะเนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว
                                        - 
คลื่นไส้ อาเจียน
                                        - 
ผิวหนังซีด หรือเขียวคล้ำ
                                        - 
รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
                                        - 
รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มีเหงื่อออกมาก
                                        - 
การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน
                                        - 
มือเท้าชา
                                        - 
ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง
                                        - 
เพ้อ หมดสติ ชัก
                    
2.2.   ไฟไหม้เนื่องจากการระเบิดของแก๊สที่ติดไฟได้ (Combustible Gas) ได้แก่ แก๊สในตระกูลมีเทนและแก๊สอื่นๆ
                              
2.2.1. ก๊าซติดไฟ คือ เชื้อเพลิงที่มีในอากาศอย่างเช่น Hydrogen, Methane, Propane, iso-Butane(LPG), Benzene, Hydrogen sulfide, Carbon monoxide เป็นต้น หากก๊าซเหล่านี้มีประมาณในอากาศที่เหมาะสม และมีแหล่งกำเนิดไฟ เช่น ประกายไฟ หรือการถ่ายเทของประจุไฟฟ้าสถิต จะเกิดการติดไฟจนนำไปสู่อันตรายต่อทรัพย์สิน และอันตรายต่อชีวิต
                              
2.2.2. รู้หรือไม่? ขอบเขตการติดไฟของสารไวไฟ (Explosive Limits)  คืออะไร
                                        
o   ก๊าซ หรือสารไวไฟแต่ละชนิดมีจุดติดไฟที่ต่างกันออกไป ไม่ใช่ว่า ก๊าซ Methane ติดไฟที่ 5% แล้วก๊าซอื่นๆจะมีจุดติดไฟเท่ากัน แต่ก่อนจะไปดูตารางจุดติดไฟของแต่ล่ะก๊าซเรามาทำความเข้าใจ “ขอบเขตการการจุดติดไฟ ของสารไวไฟ LEL และ UEL” กันก่อน
                                                  - 
LEL (Lower Explosive Limit) ขีดจำกัดล่างของการติดไฟ (ปริมาณก๊าซไวไฟที่เหมาะกับการระเบิด หรือติดไฟต่ำสุด)
                                                  - 
UEL (Upper explosive limit) ขีดจำกัดบนของการติดไฟ (ปริมาณก๊าซไวไฟที่เหมาะกับการระเบิด หรือติดไฟสูงสุด)
                                        
o   ตัวอย่างการค่าขอบเขตการติดไฟ Methane
                                             
ก๊าซ Methane มีค่า LEL เท่ากับ 5% และ UEL 17% โดยปริมาตรของอากาศ)

                                             ดังนั้น
                                             - 
หากในอากาศมีอัตราส่วนผสมของก๊าซ Methane อยู่ที่ระหว่าง 5% ถึง 17% จะมีโอากาสเกิดการระเบิด หรือติดไฟได้สูง
                                             - 
แต่ถ้าในอากาศมีอัตราส่วนผสมของก๊าซ Methane น้อยกว่านี้  5% หรือมากกว่า 17% มีโอกาสเกิดการระเบิด หรือติดไฟได้ยาก

“ขอบเขตการติดไฟที่นิยมใช้กันคือ LEL เพราะเป็นค่าปริมาณก๊าซไวไฟที่เหมาะกับการระเบิด หรือติดไฟเมื่อมีปริมาณส่วนผสมในอากาศต่ำสุด”

 

                                        o   ตาราง Combustible gas

                    2.3. อันตรายจากการสูดดมแก๊สพิษอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
                              o   คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon monoxide) เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และหากมีปริมาณมากจะเป็นพิษ เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ประมาณ 60% ของปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์เกิดมาจากไอเสียของรถยนต์ ด้วยเหตุนี้เองแก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์จึงมีปริมาณสูงในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น นอกจากนี้  ยังมาจากอีกหลายแหล่งกำเนิด เช่น กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ยานพาหนะ หรือการเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ป่า เป็นต้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางปอดแล้วจะแทรกซึมเข้าไปกับระบบไหลเวียนของเลือด ทำให้การทำงานของต่อมและเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลงสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ เมื่อสัมผัสคาร์บอน-มอนนอกไซด์เข้าไปมักจะเกิดผลรุนแรง ส่วนคนปกติทั่วไจะเกิดผลต่างกันขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละบุคคลได้แก่ ความสามารถในการมองเห็นความสามารถในการทำงานลดลง ทำให้เฉื่อยชา ไม่กระฉับกระเฉง และไม่สามารถทำงานสลับซับซ้อนได้
                              
o   ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) ไม่มีสี มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า ละลายได้ในน้ำ แก๊สโซลีน แอลกอฮอล์ เกิดจากการทำปฏิกิริยาของซัลไฟด์ของเหล็กกับกรดซัลฟูริคหรือกรดไฮโดรคลอริค หรือเกิดจากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบผลผลิตจากอุตสาหกรรมอื่นๆทเช่น ปิโตรเลียมยางสังเคราะห์  โรงงานน้ำตาล เป็นต้น เนื่องจากไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นแก๊สติดไฟได้ เมื่อติดไฟแล้ว จะให้เปลวไฟสีน้ำเงินและเกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมา การสัมผัสไฮโดรเจน-ซัลไฟด์เพียงเล็กน้อยทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและปอด หากสูดดมเข้าไปมากๆ อาจจะมีผลทำให้เสียชีวิตได้
                              
o   ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) เป็นแก๊สสีน้ำตาลอ่อน อาจเป็นส่วนประกอบสำคัญ อย่างหนึ่งของหมอกที่ปกคลุมอยู่ตามเมืองทั่วไป ไนโตรเจนไดออกไซด์เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ หากสูดดมเข้าไปจะทำให้ปอดระคายเคือง และภูมิต้านทานการติดเชื้อของระบบหายใจลดลงเช่น ไข้หวัดใหญ่ การสัมผัสสารในระยะสั้นๆ ยังปรากฏผลไม่แน่ชัด แต่หากสัมผัสบ่อยครั้งอาจจะเกิดผลเฉียบพลันได้
                    2.4. 
ประสิทธิภาพของการมองเห็นลดลงเนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอหรือฝุ่นละออง
                    2.5.
 เสียงดัง
                    
2.6.   อุณหภูมิสูง
                    
2.7.   การหนีออกจากพื้นที่เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินมีอุปสรรค เป็นต้น

          3. การใช้ใบอนุญาต และ การขอปิดงาน
                    3
.1.   การใช้ใบอนุญาต
                              
o   ใบอนุญาตมีอายุใช้งานได้สูงสุดไม่เกิน 8 ชั่วโมง หรือภายในกะทำงานงานเร่งด่วนที่ต้องทำต่อเนื่อง ทั้งนี้ให้ผู้ออกใบอนุญาตคอยตรวจติดตามสภาพความปลอดภัยตามใบอนุญาต
                              
o   เจ้าของงานต้องเริ่มปฏิบัติงานภายใน 2 ชั่วโมง หลังออกใบอนุญาต หากมีเหตุจำเป็นล่าช้าออกไปแจ้งผู้ออกใบอนุญาตทราบทันที พร้อมคืนใบอนุญาตเดิม และขอออกใบอนุญาตใหม่แทน
                              
o   ผู้ลงนามออกใบอนุญาต ต้องรับผิดชอบ ติดตามตรวจสอบ การปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามใบอนุญาต   หากมีการปฏิบัติงานนอกเหนือขอบเขต ให้สั่งระงับการทำงานทันที
                              
o   ลงนามในใบอนุญาต ต้องเข้าใจและควบคุมดูแลให้การปฏิบัติงาน ตามรายละเอียดที่ระบุในใบอนุญาตเท่านั้น
                              
o   งานไม่เสร็จตามกำหนด ต้องขอต่อใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตเดิมหมดอายุอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
                    3
.2.   การขอปิดงาน
                              
o   งานเสร็จตามกำหนด เจ้าของงานนำใบอนุญาตคืนผู้ออกใบอนุญาตพร้อมแจ้งขอปิดงาน
                              
o   หัวหน้าหน่วยงาน ผู้รับผิดชอบสถานที่ ร่วมกับผู้ขออนุญาต ตรวจสอบความเรียบร้อยเก็บรวบรวมใบอนุญาตทั้ง คืนให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป. วิชาชีพ)
                              
o   หัวหน้าหน่วยงานผู้รับผิดชอบสถานที่นำใบอนุญาตเก่าที่หมดอายุส่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.วิชาชีพ)

          4. การตรวจวัดความปลอดภัยในพื้นที่อับอากาศ
                    
เนื่องด้วยปัจจัยอันตรายจากการทำงานในพื้นที่อับอากาศส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับปริมาณอากาศหรือแก๊ส ในบริเวณนั้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน นอกเหนือจากการจัดการความปลอดภัยด้านอื่นๆ แล้ว การตรวจสอบสภาพอากาศในพื้นที่อับอากาศถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การตรวจวัดความปลอดภัยในที่นี้จึงเน้นที่การตรวจสอบสภาพอากาศในพื้นที่อับอากาศ
                    4
.1.   นิยาม
                              
o   STEL (Short-term Exposure Limit) หมายถึง ค่าความเข้มข้นสูงสุดที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถจะสัมผัสอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาสั้นๆ (สัมผัสวันละ 4 ครั้งๆ ละ 15 นาที ห่างกัน 1 ชั่วโมง) โดยไม่ได้รับอันตราย เช่น การระคายเคือง มึนเมา หรืออาการเรื้อรัง
                              
o   TWA (Time-Weight Average) หมายถึง ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงใน 1 วัน หรือ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งผู้ปฏิบัติงานเกือบทั้งหมดสามารถสัมผัส (Exposure) ซ้ำแล้วซ้ำอีกวันแล้ววันเล่าโดยปราศจากอันตรายต่อสุขภาพ
                              
o   Peak หมายถึง ค่าวิกฤตที่วัดได้ในระหว่างช่วงเวลา (อาจจะเป็นค่าต่ำสุดหรือสูงสุดก็ได้)
                              
o   LEL (Lower Exposure Limit) หมายถึง ขีดจำกัดต่ำสุดของปริมาณสารที่อาจเกิดการระเบิดได้
                              
o   TLV (Threshold Limit Values) หมายถึง ค่าความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศและสภาพแวดล้อมซึ่งเชื่อว่าผู้ปฏิบัติงานเกือบทั้งหมดสามารถทำงานอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นวันแล้ววันเล่าโดยปราศจากผลเสียต่อสุขภาพ
                              
o   Ceiling หมายถึง ค่าส่วนผสมสูงสุดของ สารพิษซึ่งคนงานที่ไม่มีเครื่องป้องกันมีแนวโน้มอาจสัมผัสแม้แต่ในระยะสั้นๆ คนงานที่ไม่มีเครื่องป้องกันไม่ควรเข้าไปในพื้นที่อับอากาศซึ่งมีปริมาณสารพิษเกินค่า Ceiling
                              
o   เปอร์เซ็นต์ ปริมาตร/ปริมาตร หมายถึง ปริมาตรของแก๊สคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปริมาตรของอากาศ
                              
o   ppm. (Part per million) หมายถึงส่วนในล้านส่วน
                              
o   ANSI หมายถึง American National Safety Institute
                              
o   NIOSH หมายถึง National Institute for Occupational Safety and Health
                              
o   OSHA หมายถึง Occupational Safety and Health Administration
                              
o   ACGIH หมายถึง A committee of American Conference of Government Industrial Hygienists
                    4
.2.   วิธีการตรวจวัดสภาพอากาศ
                              
o   กำหนดตำแหน่งตรวจวัดให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติงาน
                              
o   ใช้เครื่องมือตรวจสอบปริมาณแก๊สไปตรวจวัดตามจุดที่กำหนด
                              
o   บันทึกข้อมูลที่ตรวจวัดได้นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน
                    
4.3.   ชนิดของแก๊สที่ตรวจวัด
                              
โดยทั่วไปชนิดของแก๊สที่จะตรวจวัดขึ้นอยู่กับพื้นที่อับอากาศที่ปฏิบัติงานนั้นๆ ซึ่งแต่ละแห่งจะแตกต่างกันออกไปแต่แก๊สที่ตรวจสอบอย่างน้อย 4 ชนิด ดังนี้
                                        
o   แก๊สออกซิเจน (O2) หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ปริมาตร/ปริมาตร
                                        
o   แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หน่วยเป็น ppm.
                                        
o   แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) หน่วยเป็น ppm.
                                        
o   แก๊สติดไฟได้ (Combustible gas) หน่วยเป็น % LEL

          5. เครื่องวัดแก๊ส สำหรับงานพื้นที่อับอากาศที่ใช้ในสถานประกอบการในปัจจุบัน (MSA Altair 4XR Multigap Detector)
                    
5.1.   ชื่ออุปกรณ์ MSA Altair 4XR Multigap Detector)

   

 

                    5.2.   ความครอบคลุมของหัว Sensor ในการตรวจวัดบรรยากาศอันตราย
                              
ในการประเมินบรรยากาศอันตรายตามที่กฎกระทรวงปี 2562 ในเรื่องของการบริหารจัดการความปลอดภัยสำหรับการตรวจประเมินก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ จะต้องตรวจสอบและคำนึงถึงปริมาณออกซิเจน (O2), แก๊สติดไฟ (LEL), แก๊สพิษ (Toxic) โดยแก๊สพิษส่วนใหญ่ที่จะพบได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ไฮรโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)   ที่กล่าวมาเป็น 4 แก๊สพื้นฐานที่พบบ่อย และควรมีไว้ในการตรวจวัดเป็นอย่างน้อย หากสามารถรวมกันอยู่ในอุปกรณ์ตัวเดียวกันได้จะทำให้การทำงานมีความสะดวกสบายขึ้น
                    5
.3.   ความสามารถในการป้องกันการก่อให้เกิดประกายไฟ
                              
เนื่องจากตัวอุปกรณ์เองเป็นอุปกรณ์อเล็คทรอนิกส์ อาจก่อให้เกิดประกายไฟ หากพื้นที่หน้างานมีไอระเหยของเชื้อเพลิง หรือสารเคมีที่มีความเสี่ยงในการระเบิดหรือติดไฟได้  ดังนั้นควรเลือกตัวอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานในการกันการระเบิดจากประกายไฟ ส่วนจะสามารถกันได้ในระดับใด โซนใดบ้างนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของอุปกรณ์ซึ่งแตกต่างตามยี่ห้อและราคา และการเลือกซื้อตามแต่ละประเภทของงานที่จะนำไปใช้
                    5
.4.   ระบบการแจ้งเตือน และร้องขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน
                              
ฟังก์ชั่นการทำงานระบบนี้หากผู้ปฏิบัติงานประสบเหตุอันไม่พึงประสงค์ สามารถส่งเสียงที่มีความดังเพียงพอ หรือมีระบบสื่อสารระยะไกล เพื่อร้องขอความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างานได้ หรือในบางกรณี ที่ผู้ปฏิบัติงานหมดสติ ตัวอุปกรณ์ควรสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวและแจ้งเตือนได้

                    5.5.   อุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มความสามารถ และความปลอดภัย
                              
ในบางสถานที่ตัวอุปกรณ์ไม่สามารถนำเข้าไปตรวจสอบในหน้างานได้ เนื่องจากความเสี่ยงสูง จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์เสริม จำพวกปั้มภายนอกและสายต่อพ่วง เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและตัวอุปกรณ์

 

                    5.6.   การสอบเทียบ และการแจ้งเตือน
                              
การสอบเทียบเครื่องวัดแก๊สมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ควรใช้เครื่องที่ขาดการบำรุง หรือเสียหายเข้าในสถานที่อับอากาศ เพราะอาจให้การอ่านค่าผิด เป็นผลให้ผู้เข้าปฏิบัติงานเป็นอันตรายได้ โดยทั่วไปเราสามารถทำการสอบเทียบได้เอง หากมีเครื่องมือและก๊าซสำหรับสอบเทียบและปฏิบัติตามคู่มือการใช้งาน หรือหากไม่สะดวก ก็สามารถติดต่อส่งผู้ให้บริการเพื่อสอบเทียบได้ ซึ่งจะช่วยเราประหยัดค่าอุปกรณ์ที่ใช้ทำการสอบเทียบเอง และหากผู้ให้บริการมีระบบแจ้งเตือนการสอบเทียบหรือช่วยเก็บประวัติให้จะช่วยให้เราสะดวกมากขึ้นและป้องกันการลืมสอบเทียบอุปกรณ์

 

Visitors: 414,905