การสื่อสารมาตรการป้องกันโรคโควิด-19

เผยแพร่เมื่อ 25/07/2564...,
เขียนโดย คุณอนุสรณ์ พินธุ
               ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
               บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกั...,

 

เรื่อง การสื่อสารมาตรการป้องกันโรคโควิด-19

          ปัจจุบันมีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น และพบการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มหรือคลัสเตอร์ (Cluster) ในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีพนักงานทำงานเป็นจำนวนมาก ด้วยความห่วงใยต่อสุขภาพอนามัยของพนักงาน คณะกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มโรงงาน สายธุรกิจข้าว ได้ประเมินสถานการณ์ พร้อมทั้งยกระดับมาตรการจากเดิมที่มีอยู่ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น

          การสื่อสารมาตรการที่กำหนดให้กับพนักงานทุกระดับรับทราบนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจต่อเจตนาที่ดีของบริษัท พนักงานมีความตระหนักและนำไปปฏิบัติตาม โดยการสื่อสารมีหลายช่องทาง เช่น การติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ การส่งข้อมูลในกลุ่ม Line หน่วยงาน การส่ง E-mail กิจกรรม Safety talk ของหัวหน้างานประจำวัน และกิจกรรม Morning talk ซึ่งเป็นการนัดหมายให้พนักงานทุกคนทุกระดับมาพร้อมเพรียงกัน ทำให้การสื่อสารทั่วถึง รวดเร็วทันต่อสถานการณ์

          กิจกรรม Morning talk เพื่อสื่อสารเรื่องมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัท จัดขึ้นในช่วงเช้า 08.00– 08.30 น. โดยเลือกสถานที่โล่งแจ้งอากาศถ่ายเทได้ดี ภายใต้มาตรการ Social distancing ยืนเว้นระยะห่างกัน 1-2 เมตร และสวมหน้ากากอนามัยทุกคน การสื่อสารมาตรการแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่
                    
ช่วงที่ 1 ฝ่ายความปลอดภัยฯ แจ้งให้พนักงานได้ทราบถึงสถานการณ์ภาพรวมในระดับประเทศ ระดับจังหวัดและชุมชนรอบโรงงาน ความจำเป็นในการกำหนดมาตรการป้องกันโรคของบริษัท
                    
ช่วงที่ 2 ผู้จัดการโรงงานในนามตัวแทนคณะผู้บริหาร แจ้งมาตรการป้องกันโรคในแต่ละเรื่อง แสดงความห่วงใยและขอความร่วมมือเพื่อนพนักงานให้นำมาตรการไปปฏิบัติอย่างเข้มงวดเพื่อให้มีสุขภาพอนามัยที่ดีต่อตนเอง ครอบครัวและส่วนรวม เกิดความต่อเนื่องในการผลิตสินค้าของโรงงาน

          มาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทจะอ้างอิงมาตรการจากทางภาครัฐและพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบริษัทประกอบด้วย เพื่อให้มาตรการครอบคลุมถึง
                    1. 
กลุ่มพนักงานประจำบริษัท
                    2. 
กลุ่มพนักงานขับรถขนส่งวัตถุดิบ สินค้าและบรรจุภัณฑ์ ของบริษัทคู่ธุรกิจ
                    3. 
การจัดการกลุ่มบุคคลภายนอกที่เข้ามาในโรงงาน เช่น ผู้รับเหมาซ่อมสร้าง สมัครงาน ส่งของ
                    4. 
การจัดการพื้นที่/สถานที่ทำงานในกระบวนการผลิต
                    5. 
การจัดการพื้นที่/สถานที่ในคลัง
                    6. 
การจัดการหอพักและการเดินทางไปกลับระหว่างบ้าน/ที่พักกับโรงงาน
                    7. 
การจัดการโรงอาหารและสถานที่พักระหว่างปฏิบัติงาน
                    8. การทวนสอบการนำมาตรการต่างๆไปปฎิบัติ
                    9. 
การฝึกซ้อมแผนกรณีพบผู้ติดเชื้อในโรงงาน

 

 

Visitors: 414,887