Human error Prevention Program ตอนที่ 2

เผยแพร่เมื่อ: 09/08/2564
เขียนโดย คุณอรรถวิทย์  อินสว่าง
                เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
                บริษัท ไทยโพลีคาร์บอเนต จำกัด...,

 

เรื่อง HeP2 (Human error Prevention Program) ตอนที่ 2 

          หลังจาก HeP2(Human error Protection Program) EP.01 ที่เราได้ทราบขั้นตอนหลักของโปรแกรม ขั้นตอนที่ 1 และ ขั้นตอนที่ 2 ไปแล้วนั้น ในตอนนี้ จะลงรายละเอียดถึงขั้นตอนที่ 3. [สร้างระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน (Operational Discipline) โดยเครื่องมือที่เรียกว่า HeP2] และขั้นตอนที่ 4 [ประเมินพฤติกรรมความปลอดภัยของของพนักงานทุกคนรวมถึงกลุ่มคนคนที่มีพฤติกรรมความปลอดภัยต่ำว่ามาตรฐาน (low performer) ว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้แล้วหรือไม่] ดังนี้
                    3. สร้างระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน (Operational Discipline) โดยเครื่องมือที่เรียกว่า HeP2
                        - 
สืบค้นหาปัญหาหน้างานที่แท้จริงจากตัวแทนคนทำงานเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการแก้ไข เพื่อลดโอกาสความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงาน (เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่เสริมส่งให้เราสามารถพังทะลายสิ่งที่อยู่ใต้น้ำที่มองไม่เห็นได้ ที่การจัดการที่มีอยู่เดิมทำลายยากมาก ตามทฤษีภูเขาน้ำแข็งจากการที่ผู้บริหารสูงสุดพูดคุยโดยตรงกับผู้ปฏิบัติงาน)
                              
o   ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากที่จะให้พนักงานระดับปฏิบัติการเป็นผู้มีส่วนร่วมเสนอแนะการป้องการเกิดก่อนความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆได้ด้วยวิธีการไหนได้บ้าง โดยให้คนทวนสอบคนหรือวิธีทวนสอบตนเอง ก่อนการทำงานรวมถึงการสร้างความตระหนักและบรรยายการทำงานพูดคุยเรื่องความปลอดภัยอย่างสนุกสนานเปิดเผย เพื่อพนักงานเอง
                              
o   โดยการดำเนินการในขั้นตอนนี้นั้น จะมีพนักงานทุกระดับมีส่วนร่วม ตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุด ผู้จัดการ หัวหน้างาน จนถึงตัวแทนผู้ปฏิบัติงานในการพูดคุยสื่อสารโดยตรงกับผู้บริหาร ขั้นตอนนี้ต้องใช้ความระมัดระวังในความคิดเห็นที่แตกต่างและหาข้อยุติ โดยยึดหลักไม่กล่าวโทษซึ่งกันและกัน (No Blame Culture)
                         - 
เมื่อได้ข้อคิดเห็นและนำข้อคิดเห็นกลั่นกรองออกมาเป็นข้อปฎิบัตระเบียบวินัยการทำงานหรือเรียกว่า Operational Discipline จะนำไปสู่การทบทวนวิธีการก่อนเกิดอุบัติเหตุจากความผิดพลาดของมนุษย์
                              
o   โดยตั้งคำถามว่า มีการปฎิบัติตามวิธีการเหล่านี้แล้วหรือยัง ถ้ามี ได้มีการทวนสอบและทำเป็นประจำไม่ ได้แก่ -Safe Work Package, - Safety Talk, - KTY, - Point & Call, - Double Check from Coworker, - Cross Function Check, - Good Communication & Working Atmosphere
                              
o   ผมขอเสนอให้อย่ายึดติดวิธีการข้างต้นแต่ขอให้แต่ละคนคิดและพูดคุยหาข้อสรุปว่าจะใช้วิธีการและกำหนดวิธีการที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงาน/กิจกรรมนั้นๆ  

                    4. ประเมินพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานทุกคนรวมถึงกลุ่มคนคนที่มีพฤติกรรมความปลอดภัยต่ำว่ามาตรฐาน (low performer) ไม่ควรจะทำเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประเมินว่าพนักงานมีและปฎิบัตตามระเบียบวินัยการทำงานที่ระบุในเอกสารหรือการอบรมหรือไม่และอยู่ในระดับที่ยอมรับได้แล้วหรือไม่ การทบทวนประจำปีและดำเนินการต่อเนื่องจนมั่นใจว่าทุกคนที่มีผลการประเมินอยู่ด้านซ้ายมีผลการประเมินมาอยู่ด้านขวามือตามหลักBell Curve โดยเราจะทวนสอบใน 2 ประเด็นหลักคือ
                              o 
ทวนสอบจาก ผลการประเมินการปฎิบัตงานตามระเบียบวินัยการทำงานในขั้นตอนที่ 4 นี้ทุกปี (Leading Indicator Factor)
                              o 
ทวนสอบจาก สถิติการเกิดอุบัติเหตุ (จากสถิติอุบัติเหตุก่อนและหลังโครงการ) ที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ (Lagging Indicator Factor)

                    เพื่อทวนสอบประสิทธิภาพของโครงการและปรับแก้ไขวิธีการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป โดยหลังจากดำเนินครบทั้ง 4 ขั้นตอนแล้ว โครงการนี้จะเริ่มกลับไปทำขั้นตอนที่ 1 ใหม่อีกครั้ง เป็นไปตามวงจร PDCA (Plan Do Check Action)

                    โดยสรุป หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ เราจะต้องติดตามกิจกรรมนี้ต่อเนื่องและเป็นผู้ประสานงานที่จะให้การพูดคุยเรื่องความปลอดภัยเป็นไปอย่างสนุกและมีความสุข (Having more fun) เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความปลอดภัยเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปในทิศทางที่เป็นบวกระยะยาว และย้ำว่าจะต้องไม่กล่าวโทษซึ่งกันและกัน

                    แล้วเราจะดูกันในอีก3 ปีข้างหน้าและจะมาเล่าให้เพื่อนๆฟังว่า สถิติการเกิดอุบัติเหตุโดยมีสาเหตุจากพฤติกรรมมนุษย์ลดลงจาก 70-80 % อย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ (ซึ่งแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ HeP2 นั้นอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามสถานการณ์และการประเมินผลรายปี)

                    การทำ HeP2 เป็นการดำเนินการขึ้นโดยการร่วมมือระหว่าง ผู้ที่ทำงานด้านความปลอดภัยมา 20 ปีกับหน่วยงานฝ่ายผลิตและฝ่ายซ่อมบำรุง ซึ่งอาจจะมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันไปแต่ละสถานประกอบการ โดยทีมงานผู้เขียนหวังว่า ข้อมูลชุดนี้จะเป็นแนวทางของข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงสถานประกอบการของตนเอง ในเรื่องคนที่มีพฤติกรรมความปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐาน (Low Performer) และวิธีการจัดการในอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาและใช้งบประมาณในการดำเนินการน้อย

 

Visitors: 415,105