AL Solutions Fatal Dust Explosion

เผยแพร่เมื่อ: 20/09/2564
เขียนโดย คุณเนติพงษ์ คำอาจ
                วิศวกรความปลอดภัย (จป.วิชาชีพ)
                บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)...,

 

เรื่อง AL Solutions Fatal Dust Explosion

Lesson learned : “A dust explosion of simultaneous presence of two additional elements”

 

          เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2553 ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นในโรงงานผลิต Titanium & Zirconium compact ขณะที่พนักงานควบคุมการผลิตขั้นตอน Blending อยู่นั้น ใบมีดของเครื่อง blend เกิดการเสียดสีภายในผนังของเครื่องจักร ทำให้เกิดความร้อนและประกายไฟขึ้นภายในอุปกรณ์ที่มีอนุภาคของ titanium และ zirconium ที่ถูกบดอัดจนมีขนาดเล็กมากอยู่ จนเกิดการลุกไหม้ภายในอุปกรณ์ จนเกิดระเบิดรุนแรงออกมาภายนอกขึ้น ซึ่งทั้งอนุภาคหรือฝุ่นของสารสองชนิดนี้สามารถสะสมในอากาศได้ ทั้งยังเกิดการเผาไหม้ได้ที่อุณภูมิห้อง และสามารถระเบิดที่รุนแรงได้ด้วย โดย Titanium และ Zirconium มีการระบุ flammability hazard rating ตาม Hazardous Materials Identification System (HMIS) ที่ระดับ 3 หรือ 4 (4 the highest hazard) เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นส่งผลให้พนักงานควบคุมการผลิตเสียชีวิต 3 คน และได้รับบาดเจ็บรุนแรง 1 คน

 

    

          สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
                    o 
การระเบิดที่รุนแรงเกิดจากการสะสมของฝุ่น titanium และ zirconium ที่สะสมในอาคารกระบวนการผลิต
                    o 
ใบมีดของระบบ blender เกิดการเสียดสีภายในแบบ  metal-to-metal ทำให้เกิดความร้อนสะสม และประกายไฟ
                    o 
ไม่มีระบบการจัดการฝุ่นที่เพียงพอตามหลัก NFPA 484 : Standard for combustible metals

          หลักสำคัญของการเกิดฝุ่นระเบิด
                    
การระเบิดของฝุ่นนั้น มาพื้นฐานมาจากจากทฤษฎีสามเหลี่ยมของไฟ ที่ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ เชื้อเพลิง แหล่งกำเนิดความร้อน และ ออกซิเจน โดยเพิ่มอีก 2 ปัจจัยคือ การฟุ้งกระจายของเชื้อเพลิง และ ขอบเขตของหมอกฝุ่น ก็จะรวมเป็น 5 องค์ประกอบ เรียกว่า ห้าเหลี่ยมของการระเบิดของฝุ่น (The Dust Explosion Pentagon)

                    1. เชื้อเพลิง คือ ฝุ่นที่สันดาปได้ ที่สามารถเกิดการระเบิดได้นั้น ต้องสามารถติดไฟได้ มีขนาดเล็กกว่า 420 ไมโครเมตร (µm)ตามNFPA 654และมีความเข้มข้นอยู่ในช่วงที่เหมาะสม สามารถแบ่งฝุ่นที่สามารถติดไฟได้ เป็น
                             
o ฝุ่นอินทรีย์สาร เช่น ฝุ่นแป้ง ฝุ่นไม้ ผงน้ำตาล
                              o ฝุ่นอินทรีย์สารสงเคราะห์ เช่น ฝุ่นพลาสติก ฝุ่นยาหรือยาฆ่าแมลง
                              o 
ฝุ่นถ่านและถ่านหิน
                              o 
ฝุ่นโลหะ เช่น ผงอะลมิเนียม แมกนีเซียม สังกะสี

                    2. ปริมาณออกซิเจนในอากาศ (Oxygen) การควบคุมปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศทั่วไปเป็นเรื่องยาก แต่หากอยู่ภายในภาชนะปิด เช่น ท่อ ถัง และไซโล ฯลฯ จะสามารถควบคุมปริมาณออกซิเจนได้

                    3. แหล่งจุดติดไฟ (Ignition Sources) ต้องมีพลังงานที่เพียงพอในการกระตุ้น หรือทำให้เกิดการแพร่ขยายของเปลวไฟออกไปเป็นวงกว้างและสัมผัสกับฝุ่นที่แขวนลอยอยู่ในบรรยากาศ เช่น ประกายไฟและความร้อนจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ไฟฟ้าสถิต เป็นต้น

                    4. การฟุ้งกระจายของฝุ่น (Dispersion of Dust Particles) ความเข้มข้นของฝุ่นที่ ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศในช่วงที่ ลุกไหม้หรือระเบิดได้ ต้องอยู่ในช่วงประมาณ 50–100 g/m3 (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) จนถึง 2 – 3 Kg/m3 (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

                    5. ขอบเขตของหมอกฝุ่น (Confinement of the Dust Cloud)หมายถึง ขอบเขตที่เกิดหมอกฝุ่นปกคลุม อาจจะอยู่ในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในกระบวนการผลิต เช่น เครื่องบด เครื่องผสมตะแกรงคัดขนาด เครืองอบแป้ง ไซโคลน สายพานลำเลียง ไซโล และท่อลำเลียงด้วยลม หรือการเกิดหมอกฝุ่นปกคลมในห้องหรือพื้นที เปิดโล่งก็ได้

          ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฟุ้งกระจายของฝุ่น ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะเฉพาะตัวของฝุ่นแต่ละชนิด และขนาดอนุภาค ความรุนแรงของการระเบิดจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของหมอกฝุ่น และการกระจายที่เหมาะสมเช่นกัน ดังนั้นแล้วหากต้องการลดโอกาสในการเกิดฝุ่นระเบิด แม้ระเบิดฝุ่นจะเป็นการระเบิดที่มีความรุนแรงแต่หากเราสามารถตัดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งออกไปความเสี่ยงของการระเบิดฝุ่นก็จะไม่เกิดขึ้น เช่นเดียวกันกับการตัดองค์ประกอบของสามเหลี่ยมไฟนั่นเอง

 

แหล่งที่มา :

  •   https://www.csb.gov/al-solutions-fatal-dust-explosion
  •   http://php.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2016/04/dust.pdf
Visitors: 415,103