องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) เชิญรองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง เป็นผู้เชี่ยวชาญคณะทำงาน Monograph138: Automotive Gasoline
Tags: สุนิสา ชายเกลี้ยง
เผยแพร่เมื่อ 24/3/2568
โดย สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) เชิญ
รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง เป็นผู้เชี่ยวชาญคณะทำงาน Monograph138: Automotive Gasoline
และเผยแพร่ใน THE LANCET ONCOL ให้เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1
รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง เป็นผู้เชี่ยวชาญคณะทำงาน Monograph138: Automotive Gasoline
และเผยแพร่ใน THE LANCET ONCOL ให้เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนิสา ชายเกลี้ยง วิเทศสัมพันธ์ สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.) เป็นนักวิทยาศาสตร์ 1 ใน 20 ท่านจาก 16 ประเทศทั่วโลก ที่ได้รับเชิญจากองค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ หรือ International Agency for Research on Cancer: (IARC) ภายใต้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) เข้าเป็นทีมผู้เชี่ยวชาญของคณะทำงาน IARC Monographs Volume 138: Automotive Gasoline and Some Oxygenated Additives (แก๊สโซลีนและสารเติมแต่ง) เพื่อประเมินและจัดกลุ่มสารก่อมะเร็งจากข้อมูลทางพิษวิทยาทั้งจากสัตว์ทดลองและในมนุษย์ กลไกการก่อมะเร็ง และการสัมผัสจากสภาพแวดล้อมการทำงานโดยหลัก คือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิต การขนส่ง และการเติมน้ำมัน โดยฉพาะพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม พ.ศ.2568 รองศาสตราจารย์สุนิสา ชายเกลี้ยง กับทีมนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญของ IARC ได้ประชุมสรุปผลร่วมกัน ณ IARC เมืองลีอง (Lyon) ประเทศฝรั่งเศส (France) จัดประเภทให้ Automotive Gasoline อยู่ในกลุ่ม 1 สารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Group 1 Carcinogenic to human) และได้เผยแพร่เรื่อง “Carcinogenicity of Automotive Gasoline and Some Oxygenated Gasoline Additives” เมื่อ 21 มีนาคม 2568 ใน The Lancet Oncology วารสารนานาชาติที่รู้จักกันวงกว้างว่ามีค่า High Impact factor (a CiteScore of 62.1, byScopus, 2024) ในปัจจุบัน ก่อนที่จะเผยแพร่ฉบับเต็มของ IARC Monograph 138 ในปีถัดไป นับเป็นความภาคภาคภูมิใจของประเทศไทยที่มีนักวิทยาศาสตร์กับบทบาทสำคัญในคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติร่วมกำหนดและเตือนภัยให้เกิดการเฝ้าระวัง การป้องกันการสัมผัสสารก่อมะเร็งในสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสุขภาพที่ดีของประชากรวัยแรงงานทั่วโลก
สามารถติดตามอ่านฉบับเต็มได้ที่ https://www.thelancet.com/journals/lanonc/article/PIIS1470-2045(25)00165-2/abstract