กรณีตัวอย่าง: เทคนิคการแก้ปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยใช้หลักการระบายอากาศในสำนักงาน
เผยแพร่เมื่อ: 20/04/2564....,
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารุญ เกตุสาคร
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่อง กรณีตัวอย่าง: เทคนิคการแก้ปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยใช้หลักการระบายอากาศในสำนักงาน
EP.9 เราพูดถึงเทคนิคการแก้ปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยใช้หลักการระบายอากาศในห้องปฏิบัติการ สำหรับ EP.10 นี้จะเป็นกรณีตัวอย่าง: เทคนิคการแก้ปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยใช้หลักการระบายอากาศในสำนักงาน โดยขอนำกรณีศึกษาของสำนักงานแห่งหนึ่ง ซึ่งในสำนักงานมีลักษณะการทำงานเป็นงานเอกสารทั่วไป และมีเครื่องใช้สำนักงานต่าง ๆ เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษภายในห้อง จากการสำรวจและตรวจประเมินพื้นที่สำนักงานสามารถสรุปได้ดังนี้
ตารางที่ 1 ผลการตรวจวัดการระบายอากาศเพื่อคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ยอมรับได้
หมายเหตุ :
RA หมายถึง บริเวณช่องอากาศที่ไหลย้อนกลับไปยังห้อง Air Handling Unit: AHU (Return air)
SA หมายถึง บริเวณช่องส่งลมเย็น (Supply air)
OA หมายถึง บริเวณช่องอากาศเข้าจากภายนอกอาคาร (Outdoor air)
%OA หมายถึง ร้อยละของบริเวณช่องอากาศเข้าจากภายนอกอาคาร(Outdoor air)
V(fpm) หมายถึง ความเร็วของอากาศ (ฟุตต่อนาที)
A(ft2) หมายถึง พื้นที่ของเส้นท่อ (ตารางฟุต)
Air flow rate (cfm) หมายถึง อัตราการไหลของอากาศ (ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
%OA (cfm) หมายถึง ร้อยละของบริเวณช่องอากาศเข้าจากภายนอกอาคาร (Outdoor air) (ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
No. of people หมายถึง จำนวนคนที่นั่งทำงานอยู่ภายในห้อง
Volume of OA per person(cfm) หมายถึง ปริมาตรของอากาศจากภายนอกอาคาร (Outdoor air) ต่อคนทำงาน (ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
เมื่อทราบอัตราการไหลของอากาศสามารถคิดคำนวณหาปริมาตรอากาศบริสุทธิ์ที่จะเข้ามาแทนที่อากาศที่จะทำการระบายออกคิดเป็นจำนวนเท่าของปริมาตรห้องใน 1 ชั่วโมงได้ตามสมการ 1-1 และนำค่าที่ได้เปรียบเทียบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงฉบับที่ 39 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรฐานการระบายอากาศเพื่อคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ยอมรับได้ของหน่วยงานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมวิศวกรการทำความร้อน, การทำความเย็น และ การปรับอากาศแห่งสหรัฐอเมริกาหรือมาตรฐาน ANSI/ASHRAE 62.1
โดยที่
ACH = Number of Air Change Per Hour: ACH (อัตราการแลกเปลี่ยนอากาศเป็นจำนวนเท่าของปริมาตรห้องใน 1 ชั่วโมง)
Q = อัตราการไหลของอากาศ (ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
Vol = ปริมาตรห้อง (ลูกบาศก์ฟุต)
ปริมาณลมหรือกระแสลมจะกระทบกับอัตราการหมุนเวียนอากาศในอาคารหรืออัตราการแลกเปลี่ยนอากาศของอากาศภายในและภายนอกอาคาร โดยการหมุนเวียนของอากาศจะมีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพของอากาศภายในอาคารเนื่องจากว่าหากมีการดึงอากาศจากภายนอกเข้ามามากอาจเป็นการเพิ่มมลพิษเข้าสู่อาคารถ้าหน่วยจัดการอากาศ (Air Handling Unit: AHU) เกิดความบกพร่อง เช่น แผงกรองอากาศตันหรือรั่ว ขาดการตรวจสอบบำรุงรักษาหน่วยจัดการอากาศตามรอบแผนการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน หรือทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้นเพราะต้องปรับภาวะอากาศให้มีระดับอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมก่อนการจ่ายอากาศเข้าไปยังห้องต่าง ๆ ภายในอาคาร เป็นต้น หรือในทางกลับกันเมื่อนำอากาศจากภายนอกเข้ามาปริมาณมากจะช่วยเจือจางสิ่งปนเปื้อนหรือมลพิษภายในอาคารได้
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/บันทึกเพิ่มเติม
1. ควรนำอากาศเข้าภายในอาคารให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด
2. เมื่อมีจำนวนคนที่ทำงานในห้องในปริมาณที่เพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ดังนั้นการนำอากาศภายนอกเข้ามาในอาคารควรพิจารณาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
3. บางห้อง พบว่า มีปริมาณการนำอากาศจากภายนอกเข้าอาคารมีปริมาณไม่สมดุลกับจำนวนคนทำงาน ซึ่งสามารถลดสัดส่วนการนำอากาศภายนอกเข้ามาได้และเป็นการประหยัดพลังงาน แต่เมื่อมีจำนวนคนทำงานภายในห้องเพิ่มขึ้นต้องมีการพิจารณาการนำอากาศภายนอกเข้ามาเพิ่มใหม่อีกครั้ง
4. ห้องที่มีกิจกรรมการใช้สารเคมีต่าง ๆ ในกระบวนการทำงาน ไม่ควรใช้ระบบปรับอากาศรวมกันกับระบบที่ใช้ในสำนักงาน และควรมีระบบบำบัดมลพิษอากาศก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม
5. ดำเนินการตามแผนซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance Plan) ของระบบปรับอากาศ ระบบ HVAC เช่น ล้างท่อส่งลมเย็น เปลี่ยนแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
ภาพประกอบแสดงการตรวจวัด
สำหรับ EP. ต่อไปเราจะมาพูดถึง กรณีตัวอย่าง: เทคนิคการแก้ปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยใช้หลักการระบายอากาศในสถานที่อื่น ๆ กันต่อครับ สำหรับ EP.10 นี้คงพอจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านบ้างนะครับ และฝากติดตาม EP. ต่อไปกันด้วยครับ….ขอบคุณครับ