อันตรายจากการถ่ายเทของเหลวไวไฟ

เผยแพร่เมื่อ 03/07/2564...,
เขียนโดย คุณเจนณรงค์  โกลาหะฬะ 
               Safety Executive
               DHL Supply Chain (Thailand) Co.,Ltd...,

เรื่อง อันตรายจากการถ่ายเทของเหลวไวไฟ

          บริษัท DHL Supply Chain (Thailand) Co.,Ltd ให้ความสำคัญกับงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง จึงได้จัดทำ HSE Tool Box Meeting ขึ้น ซึ่งเป็นเหมือนกิจกรรม Morning Meeting ในบริษัทอื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้พนักงานตระหนักถึงความปลอดภัยก่อนเข้าทำงาน โดยในครั้งนี้เป็นการทำกิจกรรมในส่วนของแผนก Foaming โดยฝ่ายความปลอดภัยจะร่วมในการทำงานกิจกรรมกับพนักงาน และมีการลงชื่อพนักงานที่เข้าร่วมทำกิจกรรม HSE Tool Box Meeting ในทุกครั้ง

 

ตัวอย่างการทำกิจกรรม HSE Tool Box Meetin

Date วันที่:  ###########                        Subject เรื่อง:                             To ถึง:  พนักงาน Foaming ทุกท่าน 

          อันตรายที่เกิดจากการปฏิบัติงานกับของเหลวไวไฟหรือของเหลวติดไฟที่สำคัญคือ การเกิดเพลิงไหม้หรือการระเบิด สาเหตุเนื่องมาจากความร้อน ประกายไฟหรือเปลวไฟจาก แหล่งต่างๆเช่น  เปลวไฟ, การทำงานที่มีความร้อน (Hot Work), การตัด การเชื่อม, การบด การขัด, ประกายไฟจากอุปกรณ์ไฟฟ้า, การเสียดสี การกระทบ การกระแทกของโลหะ หรือเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ชำรุด, ไฟฟ้าสถิต (Static Electricity)
                    
- ไฟฟ้าสถิตเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้หรือการระเบิดของของเหลวไวไฟหรือของเหลวติดไฟที่มักถูกมองข้าม แต่จากการสอบสวน การพิสูจน์ และการทดลอง ก็ได้พบว่าไฟฟ้าสถิตเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดเพลิงไหม้หรือ การระเบิดระหว่างการเคลื่อนย้าย การถ่ายเท และในกระบวนการผ ลิตที่เกี่ยวข้องกับของเหลวไวไฟ หรือของเหลวติดไฟ ประจุไฟฟ้าสถิตสามารถเกิดขึ้นได้กับวัตถุ หรือของเหลว เมื่อของเหลว (เช่น ตัวทำละลาย ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง) เคลื่อนที่สัมผัสกับวัตถุอื่น เช่น ถัง หรือท่อจากการเท การสูบถ่าย การกรอง การกวน การเขย่า การไหลผ่านท่อ ลักษณะการ สัมผัสเหล่านี้จะมีผลทำให้เกิดประจุไฟฟ้าที่เรียก ว่าไฟฟ้าสถิต (Static Electricity) แม้ว่าของเหลวที่ถูกขนส่ง ถ่ายเท ใช้หรือเก็บในภาชนะบรรจุที่ไม่ นำไฟฟ้า หากมีวัตถุอื่นเสียดสีกับผิวภายนอกของภาชนะบรรจุก็สามารถก่อให้เกิดประจุไฟฟ้าในของเหลวขึ้นได้ ปริมาณของประจุที่เกิดจะขึ้นกับปริมาณของเหลวและความเร็วในการไหลหรือ ความเร็วในกวนหรือเขย่า
                    - 
ตัวทำละลาย (Solvent) ที่มีอันตรายจากไฟฟ้าสถิต ของเหลวไวไฟ หรือของเหลวติดไฟ จะมีอันตรายในการเกิดเพลิงไหม้หรือการระเบิดจากไฟฟ้าสถิตมากน้อยเพียงใดขึ้นกับความสามารถในการเกิดไฟฟ้าสถิต ความสามารถในการนำไฟฟ้าและจุดวาบไฟของสารนั้นตัวทำละลายและเชื้อเพลิงที่ได้จากปิโตรเลียม (เช่น benzene, toluene, mineral spirit, gasoline, jet fuel) สามารถก่อให้เกิดประจุ ไฟฟ้าได้เมื่อเทหรือไหลในท่อ (hose)โดยมีแนวโน้ม ที่จะเก็บหรือสะสมประจุไฟฟ้า เพราะไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ดีพอที่จะถ่ายเทประจุเมื่อสัมผัสกับสารที่เป็นตัวนำ เช่น ท่อโลหะหรือภาชนะที่มีการต่อลงดิน (grounding) เมื่อประจุเกิดขึ้นมากพอ ก็จะเกิดประกายไฟฟ้า (spark) ถ้าความเข้มข้น ของสารไวไฟในอากาศอยู่ในช่วงการติดไฟและประกายไฟมีพลังงานมากพอก็จะทำให้เกิดการติดไฟหรือการระเบิดขึ้นมาจุดวาบไฟ (flash point) ความดันไอของของเหลว และอุณหภูมิ ก็เป็นปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาถ้าทำงานกลางแจ้งในวันที่มีอากาศร้อนปริมาณไอในอากาศรอบๆภาชนะบรรจุจะสูงกว่าในวันที่มีอากาศเย็นระดับของพื้นที่ที่สูงกว่า เช่น บนภูเขา ความกดอากาศจะต่ำกว่าที่ระดับน้ำทะเล จุดเดือดของตัวทำละลายจะต่ำลง ภายใต้สภาวะเช่นนั้น จุดวาบไฟจะต่ำลงและของเหลวติดไฟบางชนิดจะกลายเป็นของเหลวไวไฟของเหลว เช่น Hexane มีจุดวาบไฟต่ำ และไวไฟ เมื่ออุณหภูมิอยู่ระหว่าง -33 ถึง -3 องศาเซลเซียสที่ระดับน้ำทะเล และที่อุณหภูมิห้องปกติความเข้มข้นของ Hexane ในอากาศที่บริเวณผิวนอกจะสูงกว่าค่า UFL ซึ่งมากเกินไปที่จะติดไฟอย่างไรก็ตามที่ระยะออกไปจากผิวนอกดังกล่าวความเข้มข้นของ Hexane ก็อาจจะอยู่ในช่วงของการติดไฟได้ เชื้อเพลิง เช่น Kerosene เป็นสารติดไฟที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100 องศาฟาเรนไฮต์) สารที่มีจุดวาบไฟสูง ถ้าถูกต้มหรือให้ความร้อนจนอุณหภูมิเท่ากับหรือสูงกว่าจุดวาบไฟก็สามารถเกิดส่วนผสมของไอสารกับอากาศที่ไวไฟได้โดยทั่วไปแล้ว เงื่อนไขหรือสภาวะในการติดไฟที่เหมาะสมคือ เมื่อของเหลวไวไฟนั้นมีความเข้มข้นของไอสารในอากาศ (ที่ผิวของของเหลว) อยู่ที่ครึ่งทางระหว่าง UFL และ LEL ซึ่งสภาวะนี้เรียกว่าภาวะเหมาะสม (Optimal)ในการเกิดเพลิงไหม้ เราจะต้องระวังไว้ไม่ให้เกิดขึ้นมา มิฉะนั้นจะมีความเสี่ยงสูงมากในการเกิดอัคคีภัยหรือการระเบิดได้

          การควบคุมอันตรายที่เกิดไฟฟ้าสถิตกับของเหลวไวไฟและของเหลวติดไฟ
                    
การต่อสายดิน (Grounding Plant Equipment)
                       
อุปกรณ์ทุกชิ้นที่นำไฟฟ้าและเกี่ยวข้องกับ สารไวไฟจะต้องต่อสายดิน (Grounding) เพื่อป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Charge) และลดความเป็นไปได้ในการเกิดการจุดติดไฟ (ignition) จากการเกิดประกายไฟของประจุ ไฟฟ้าสถิต เครื่องมือเครื่องใช้ที่นำไฟฟ้าได้ รวมถึงท่อ ภาชนะบรรจุ เครื่องกวน เครื่องสูบถ่าย (pump)วาล์ว ข้อต่อ หน้าแปลนและอุปกรณ์เชื่อมต่อของ อุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องต่อลงดินการถ่ายเทเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่งจะเป็นผลให้เกิดไฟฟ้าสถิตและประกายไฟเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตและการเกิดประกายไฟซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการต่อเชื่อม (bonding) ถังส่งและถังรับที่เป็นโลหะ ก่อนที่จะทำการถ่ายเท

ภาพการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้าสถิตย์ขณะถ่ายเททินเนอร์และกากสีที่ห้อง Mixing แผนก Foaming

 

Visitors: 414,887