การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยอย่างยั่งยืน (Sustainable Safety Awareness)
เผยแพร่เมื่อ 27/10/2564...,
เขียนโดย คุณสรวงสุดา บุญฤทธิ์
Senior Safety Officer
บริษัท สุราษฎร์ธานี เบเวอเรช จำกัด...,
เรื่อง การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
(Sustainable Safety Awareness)
การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานจะประสบความสำเร็จและเกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องริเริ่มจาก “จิตสำนึกด้านความปลอดภัย” ของทุกคนในองค์กร แต่เมื่อพูดถึงคำว่าจิตสำนึกแล้วนั้นแต่ละคนย่อมมีได้ไม่เท่ากัน ดังนั้น การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ต้องสร้างและเมื่อสร้างขึ้นแล้วต้องทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เรามาเรียนรู้ไปด้วยกันจากบทความสั้นๆนี้
นิยามของจิตสำนึกความปลอดภัย
o จิตสำนึก (Conscious) หมายถึง ในทางการแพทย์และการสาธารณสุข หมายถึง ภาวะที่มีความรู้สึก ภาวะตื่นรู้ สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆได้
o ความปลอดภัย (Safety)หมายถึงสภาพที่คลาดแคล้ว พ้นจากภัย หรือสภาพที่ไม่มีภยันตรายใดๆ เกิดขึ้น
o จิตสำนึกด้านความปลอดภัย (Safety Awareness) หมายถึง การที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถรับรู้ได้ถึงเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน หรือมีสติรู้ว่าขณะทำงานใดๆนั้นต้องให้ความสำคัญถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
องค์ประกอบหลักของจิตสำนึกความปลอดภัย จำเป็นต้องมีทุกภาคส่วนร่วมกันเพื่อให้เกิดจิตสำนึกความปลอดภัยทั่วทั้งองค์กร ดังนี้
5 แนวทางการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย สามารถแบ่งได้ตามองค์ประกอบในแผนผังข้างต้น ดังนี้
การกำหนดค่านิยมความปลอดภัยในองค์กรเพื่อสร้างนิสัยความปลอดภัย
ค่านิยม (Value) เป็นแนวความคิดทางวิชาการในการสร้างพลังให้กับคนในองค์กรด้วยการปลูกฝัง “ความเชื่อในความปลอดภัย” (Belief in Safety) เพื่อที่จะผลักดันให้การทำงานสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ด้วยความปลอดภัยอย่างสูงสุด ตัวอย่างของค่านิยมที่สามารถนำไปใช้ในองค์กร
1. ความปลอดภัยเป็นเรื่องของทุกคน
2. ไม่ชัวร์ ไม่ใช่ ไม่ทำ
3. เตือนตัว เตือนสติ อย่าคิดว่าไม่เป็นไร
4. เมื่อไม่ปลอดภัย หยุดให้ไว แก้ไขทันที
ทั้งนี้เมื่อองค์กรกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เกิดจิตสำนึกด้านความปลอดภัยแล้ว ต้องมีการจัดอบรมเพื่อทำความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน หมั่นจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึก กิจกรรมต้องสร้างบรรยากาศให้รู้สึกว่าความปลอดภัยเป็นเรื่องของทุกคน และเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติสิ่งใดเป็นประจำแล้วนั้นย่อมเกิดเป็นนิสัย เมื่อทุกคนมีนิสัยเดียวกันเกี่ยวกับความปลอดภัย ต่อไปก็จะพัฒนากลายเป็นจิตสำนึกความปลอดภัยและวัฒนธรรมความปลอดภัยได้ในที่สุด นอกจากนั้นแล้วเพื่อให้เกิดความยั่งยืน องค์กรต้องมีการวัดผลด้วยการทำแบบทดสอบจิตสำนึกด้านความปลอดภัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่อง เมื่อใดที่พนักงานมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยที่ดี การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจะง่ายและประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด
หลังจากที่บริษัท สุราษฎร์ธานี เบเวอเรช จำกัด ประสบความสำเร็จในเรื่องการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย บริษัทฯ ได้รับรางวัลด้านความปลอดภัย ดังนี้
1. สถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข (2557)
2. สถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (2559-2564)
3. Zero Accident Campaign –Silver Level (2018-2021)
4. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพดีเด่นระดับประเทศ (2562)
5. สตรีดีเด่นแห่งชาติ สาขา สตรีผู้ปฏิบัติงานเดีเด่นด้านความปลอดภัยในการทำงานภาคเอกชน ปี 2564
ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะสามารถเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับองค์กรอื่นๆ ในการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยอย่างยั่งยืน (Sustainable Safety Awareness) และประสบความสำเร็จตามที่องค์กรของท่านมุ่งหวังได้ในเวลาอันใกล้นี้