เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ในสถานการณ์วิด-19
เผยแพร่เมื่อ 14/09/2564...,
เขียนโดย คุณเสกสรรค์ ปรีจิตต์
CEO PS safety Co.,Ltd....,
เรื่อง เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ในสถานการณ์วิด-19
เทคโนโลยีถูกสถานการณ์ โควิด-19 เร่งเครื่องยิ่งกว่ายุคสมัยใดๆ อนาคตที่เราคิดไว้ว่าอีก 50-100 ปี ที่ระบบ AI และระบบหุ่นยนต์ที่จะเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ อาจมาถึงเร็วกว่าที่เราคิดไว้ เราอาจได้เห็นภาพอนาคตนั้นในอีก 5-10 ปีข้างหน้านี้
o ผมขอยกตัวอย่างของไทย คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือซีพี กล่าวปาฐกถาเปิดงาน Nikkei Asia Forum เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2016 โดยมีประเด็นสำคัญที่ว่าการใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานคนมาแน่นอนและซีพีเองก็ได้สร้างโรงงานต้นแบบที่ยุโรปเรียบร้อยแล้ว รวมไปถึงเทคโนโลยีรถไฟฟ้า รถไร้คนขับก็จะมาแน่นอน แม้จะเป็นคำกล่าวตั้งแต่ ปี 2016 เพียงแค่ผ่านไป 5 ปี จะเห็นว่าประเทศไทยเริ่มมีโรงงานที่ใช้หุ่นยนต์เป็นหลักเกิดขึ้นหลายแห่งแล้ว
o ตอนนี้อุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์ของไทยยังกระจุกตัวอยู่ใน 3 ประเภทอุตาสหกรรม คือ รถยนต์ ยาง ผลิตพลาสติกและผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยอัตราการใช้หุ่นยนต์ของไทย อยู่ที่ จำนวนหุ่นยนต์ 45 ตัว ต่อ แรงงาน 10,000 คน ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก คือ 75 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คน และ เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านใกล้ชิดอย่าง สิงคโปร์ 488 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คน (อันดับ 2 ของโลก) จะพบว่า ไทยยังเหลือช่องว่างอีกเยอะมากให้หุ่นยนตร์เข้ามาใช้แทนแรงงาน [บทความ Industrial Robots AND ITS IMPACTS ON LABOR MARKET หุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม: กระแสใหม่ที่แรงงานต้องกังวลจริงหรือ? พัชรพร ลีพิพัฒน์ไพบูลย์ นันทนิตย์ ทองศรี มกราคม 2018]
ภาพจาก : https://fact-link.com/mem_content.php?pl=th&mem=00006710&page=00015443
o ในขณะที่โควิด-19 ทวีความรุนแรงขึ้น แรงงานยิ่งขาดแคลน หาแรงงานทดแทนแรงงานที่ป่วยได้ยากขึ้น,ผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของพนักงานทั้งทางตรงและทางอ้อมมากขึ้น ,ค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นทุกปี มิหนำซ้ำยังอาจถูกปิดกิจการชั่วคราวได้เมื่อเกิดโรคระบาด ทั้งยังต้องแข่งขันมากขึ้นอีก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวเร่งที่จะนำหุ่นยนต์มาแทนแรงงานคนให้เร็วขึ้นอย่างแน่นอน
o ลองคิดดูว่า โรงงานที่เคยมี 500 คน เหลือเพียง 50 คน แต่กำลังการผลิตเท่าเดิม, ธุรกิจขนส่งที่ไร้คนขับ ธุรกิจคลังสินค้าที่ใช้หุ่นยนต์ทั้งหมด ,งานที่มีความเสี่ยงสูงทั้งหมดถูกโอนย้ายให้หุ่นยนต์และ AI ทำแทน ทำให้มนุษย์ปลอดภัยมากขึ้นความเสี่ยงลดลงและสุขภาพดีมากขึ้น คำถามคือ อาชีพ จป.จะปรับตัวอย่างไร ? จะยังคงทำหน้าที่เดิมอยู่หรือไม่ ? หรือกระทั่ง จป.วิชาชีพ ยังคงเป็นวิชาชีพที่จำเป็นต่อสังคมในอนาคตหรือไม่ ? ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้กับท่านทั้งหลายครับ มีเพียงสิ่งเดียวที่เราต้องใส่ใจ นั่นคือ ปัจจุบัน ตอนนี้เราได้ทำงานเต็มกำลังความสามารถหรือยัง? เราได้พัฒนาตนเองและปรับปรุงตัวเองอย่างเต็มที่หรือยัง? และผมเชื่อว่าเมื่ออนาคตมาถึงเราจะมีคำตอบให้กับอนาคตเองครับ ขอเป็นกำลังใจให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันครับ
ติดตามต่อในบทความ “เทคโนโลยีกับการปรับตัวของ จป.วิชาชีพ” นะครับ
ภาพจาก : http://thai.cri.cn/20201006/98877aed-14ba-8f2c-8442-824cb9ae3e33.html