แนวทางการยกระดับระบบบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ

เผยแพร่เมื่อ 22/08/2564...,
เขียนโดย คุณอัสมี  สาและ 
               Occupational Health and Safety Management Engineer
               C&G ENVIRONMENTAL PROTECTION (THAILAND) CO.,LTD...,

 

เรื่อง แนวทางการยกระดับระบบบริหารจัดการความปลอดภัย

อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 

          การยกระดับระบบบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพตามระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานประกอบกิจการอย่างยั่งยืน และสามารถพัฒนาศักยภาพสถานประกอบกิจการสู่มาตรฐานสากลได้ต่อไป

          1. การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย ในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับนโยบายขององค์กร ที่ผู้บริหารขององค์กรต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ต้องมีการกำหนดถึงวัตถุประสงค์ แผนงานที่ชัดเจนและความมุ่งมั่นขององค์กรในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย โดยต้องเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการจัดการด้านความปลอดภัย

 

          2. การจัดองค์กรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ การจัดองค์กรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ ( Safety Responsibility and functions) ให้สอดคล้องตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ไว้ดังนี้


          บทบาทหน้าที่
                    1. 
พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
                    2. 
รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
                    3. 
ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
                    4. 
พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
                    5. 
สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
                    6. 
พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
                    7. 
วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
                    8. 
ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
                    9. 
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
                    10. 
ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
                    11. 
ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

 

          บทบาทหน้าที่
                    1. 
กำกับ ดูแล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
                    2. 
เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
                    3. 
ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
                    4. 
กำกับ ดูแล และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานคณะกรรมการ หรือหน่วยงานความปลอดภัย

 

          บทบาทหน้าที่
                    1. 
กำกับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ
                    2. 
วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นโดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
                    3. 
สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
                    4. 
ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
                    5. 
กำกับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
                    6. 
รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
                    7. 
ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
                    8. 
ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
                    9. 
ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย

 

          บทบาทหน้าที่
                    1. 
ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                    2. 
วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
                    3. 
แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ
                    4. 
ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
                    5. 
รวบรวมสถิติ จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง
                    6. 
ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

 

         บทบาทหน้าที่
                    1. 
ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                    2. 
วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
                    3. 
วิเคราะห์แผนงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
                    4. 
ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
                    5. 
แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ
                    6. 
แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
                    7. 
ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
                    8. 
รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง
                    9. 
ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

 

          บทบาทหน้าที่
                    1. 
ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                    2. 
วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันหรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
                    3. 
ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน
                    4. 
วิเคราะห์แผนงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
                    5. 
ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
                    6. 
แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ
                    7. 
แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
                    8. 
ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นผู้รับรองหรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในสถานประกอบกิจการ
                    9. 
เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
                    10. 
ตรวจสอบหาสาเหตุ และวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
                    11. 
รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง
                    12. 
ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย 

 

          3. ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงจากข้อมูลจริง ที่ประกอบไปด้วย การประเมินความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง และการทบทวนความเสี่ยง ทั้งนี้เพื่อสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าใจถึงพื้นฐานในการตัดสินใจและเหตุผลของการประเมินความเสี่ยงได้
                    1. 
การบริหารความเสี่ยง
                              
o   การระบุอันตราย (Hazard identification)
                              
o   การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)
                              
o   การจัดการความเสี่ยง (Risk management)
                              
o   การรายงานการบริหารความเสี่ยง
                              
o   การใช้ประโยชน์จากรายงานการบริหารความเสี่ยง
                    2. 
การเตรียมความพร้อม/ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
                              
o   กรณีมีสารเคมีหกรั่วไหล
                              
o   กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้
                              
o   กรณีหม้อไอน้ำระเบิด
                              
o   กรณีหม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด
                              
o   กรณีน้ำท่วม
                              
o   กรณีแผ่นดินไหว
                              
o   กรณีการก่อวินาศกรรม
                              
o   กรณีโรคระบาด เป็นต้น
                    3. 
ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย
                        
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ไม่ใช้เรื่องของใครคนใคคนหนึ่ง เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและให้ความสำคัญ หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้
                              1. 
จะต้องยอมรับ และปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของโรงงานโดยเคร่งครัด
                              2. 
ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ถูกขนาด และถูกกับงาน
                              3. 
แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงงาน และใช้เครื่องป้องกันอันตรายทุกครั้งที่ปฏิบัติงานที่กำหนดให้ใช้เครื่องป้องกัน
                              4. 
หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน
                              5. 
เก็บรักษาอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เมื่อนำไปใช้ต้องเก็บไว้ให้ถูกจุดทุกครั้ง
                              6. 
ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการทำงาน เป็นต้น


          4. การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในและนอกสถานประกอบการ เป็นการช่วยลดการเกิดอันตรายจากพฤติกรรมเสี่ยง โดยให้ความรู้พื้นฐานที่เหมาะสมที่จำเป็น โดยต้องทำอย่างต่อเนื่องต่อ แม้องค์กรหรือหน่วยงานจะมีระบบการบริหารจัดการที่ดีเพียงใดก็ตาม หากผู้ปฏิบัติงานในองค์กรขาด ความรู้และทักษะ ไม่สนใจ ไม่ตะหนักถึงความปลอดภัย ก็ส่งผลให้เกิดอันตรายและความเสียหายต่างๆ ได้



          5. ระบบการจัดการสารเคมี ที่ต้องมีระบบการจัดการสารเคมี ที่สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของสาร การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย และรวมถึงการจัดการสารเคมีที่ไม่ใช่แล้ว ซึ่งการจัดเก็บสารเคมีสามารถแยกเก็บตามความเป็นอันตรายของสารและเก็บตามกลุ่มสารเคมีเพื่อความปลอดภัย ควรมีการจัดเก็บเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet, SDS) ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงการฝึกซ้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเพื่อรับมือการตอบโต้สถานการณ์ได้ทันที


          6. ระบบห้องปฏิบัติการ ที่มีอุปกรณ์ และเครื่องมือ ที่เอื้อต่อการทำงานอย่างปลอดภัยทั้งใน ภาวะปกติและฉุกเฉิน ลักษณะของห้องปฏิบัติการที่ดีนอกจากการออกแบบห้องที่ดีที่มีการใช้งานอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์ได้สูงสุดแล้ว ควรต้องคำนึงถึงเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งลักษณะทั่วไปของห้องควร
                    
o   มีการแบ่งส่วนของพื้นที่ของห้องปฏิบัติการกับส่วนสำนักงานหรือห้องทำงานอย่างชัดเจน
                    
o   มีระบบแสงสว่างที่เพียงพอ มีอากาศที่ถ่ายเท ไม่มีการสะสมของสารเคมีในอากาศจนกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
                    
o   มีพื้นที่เพียงพอต่อการตัดเก็บสารเคมี เครื่องแก้ว และของเสีย
                    
o   มีระบบน้ำทิ้งหรือปล่อยของเสียอย่างถูกต้อง


          7. ระบบการจัดการของเสีย
                   การบริหารจัดการของเสียเป็นประเด็นที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญและดำเนินการจัดการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง บริษัทฯ ยึดแนวทางการบริหารจัดการของเสียตามหลัก 3Rs คือ การลดปริมาณของเสียโดยการลดการใช้ (Reduce) การนำของเสียกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ตามแนวทางปฏิบัติทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากการกำจัดของเสีย และมุ่งสู่เป้าหมายการนำของเสียจากกระบวนการผลิตไปฝังกลบเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง ยกเว้นของเสียที่ยังไม่มีเทคโนโลยีอื่นในการจัดการ อาทิ แบตเตอรี่ชนิดนิกเกิล แคดเมียม โดยบริษัทฯ ให้มุ่งเน้นการลดปริมาณการเกิดของเสียที่ส่งกำจัดทิ้งให้เหลือน้อยที่สุด และพิจารณาวิธีการจัดการตามศักยภาพเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

 

 

Visitors: 414,928