ประสบการณ์ “จัดการเพื่อป้องกันโควิดในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ (Major project)”

เผยแพร่เมื่อ: 09/08/2564....,
เขียนโดย ศิษย์เก่า อาชีวอนามัยและความปลอดภัย รุ่นที่ 36 มหาวิทยลัยมหิดล

 

ประสบการณ์ “จัดการเพื่อป้องกันโควิดในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ (Major project)”

          ทุกๆ โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่  (และขนาดที่เล็กลงมา)  ถ้าต้องการรอดจากวิกฤติในครั้งนี้  จะต้องเริ่มต้นจากการมีกลยุทธ์พิชิตโควิดในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน   ให้ทันต่อเทคโนโลยี่ใหม่ๆ ที่เข้ามา  และ ให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป  เช่น กลยุทธ์ปี 2019-2020 เราคืออะไร , กลยุทธ์ปี 2021 เราคืออะไร , จะเตรียมกลยุทธ์ปี 2022 ของเราอย่างไร  เป็นต้น 

          ผมเคยมีประสบการณ์ดูแลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่  เป็นการสร้างโรงงานปิโตรเคมี  จำนวน 2 โรงงาน (เป็น Green field project2 โครงการ) ในช่วงที่มีการระบาดของโควิดในปี 2019 – 2020   ในฐานะที่เป็นทีมของบริษัทที่เป็นเจ้าของโครงการ (Plant owner)  โดยทำงานร่วมกันกับทีมบริหารโครงการ (Project management), Main contractor และ Sub-contractor   โดยในแต่ละโครงการ  มีคนทำงานเป็นจำนวนมาก  ในช่วงที่ Peak จะมีผู้ปฏิบัติงานประมาณ 4 – 5 พันต่อโครงการ    มีชั่วโมงการทำงานเดือนละ 5 แสน – มากกว่า 1 ล้านชั่วโมงการทำงานต่อเดือนต่อโครงการ   จากมาตรการโควิดที่เราได้กำหนดขึ้น และกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง   ทำให้เรา “บรรลุเป้าหมายไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด ตลอดช่วงโครงการ” 

 

          กลยุทธ์พิชิตโควิดปี 2019 - 2020
          
โควิดที่เกิดขึ้นระลอก ปี 2019– 2020 เป็นระลอกแรกๆ   โดยมาตรการฯ ที่เป็นหัวใจสำคัญ มี 5 เรื่อง  ได้แก่
                    
1. การมีส่วนร่วม ทุกระดับ และ ทั้ง Owner & contractors:
                              o 
จัดตั้ง “คณะกรรมการบริหารวิกฤติโควิด และ จัดการแผนฉุกเฉินกรณีมีผู้ติดเชื้อในพื้นที่” โดยคณะกรรมชุดนี้   มี “Owner project Director เป็นหัวหน้าคณะทำงาน, มี Management team จากทั้ง Owner และ Main contractor เป็นกรรมการ” แบ่งเป็นทีมต่างๆ เช่น SHE ของ Owner เป็นเลขาฯ และเป็นทีมวิชาการ, Construction manager & Main contractor project director รวมถึงทีมงานจาก Sub-contractor เป็นทีมปฏิบัติการ, ทีม Admin. เป็นทีมทำความสะอาด และการสื่อสารองค์กร (รวมถึงรถรับส่ง) เป็นต้น
                              o 
มีเกณฑ์ชี้บ่งระดับ “ผู้ติดเชื้อ และ กลุ่มเสี่ยง เป็น Level ต่างๆ โดยแต่ละ Level จะมี Action รองรับชัดเจน เช่น ผู้ติดเชื้อคือ Tier 0 ต้องถูก Isolation เพื่อรักษา Tier 2 คือ ผู้สัมผัสใกล้ชิด จะถูกตรวจเชื้อและให้กักตัว (Quarantine) 14 วัน , Tier 3A คือ ผู้ใกล้ชิด Tier 2 ก็จะให้กักตัว 14 วัน  เป็นต้น
                              o 
มีการรายงาน Status ผล Performance ด้านการจัดการโควิด ทุกวัน   โดยรายงานผลว่า “Status ในแต่ละ Tier เป็นอย่างไร  และ ผลการ Screening คนเข้า Plant ประจำวันเป็นอย่างไร  รวมถึงข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ”
                              o 
จัดประชุมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง   เพื่อทบทวนสถานการณ์ทั้งระดับประเทศ ระดับจังหวัด และ ในโครงการของเราเอง, ตัดสินใจเกี่ยวกับระเบียบใหม่ๆ เกี่ยวกับโควิด, ทบทวนข่าวสารใหม่ และกฎหมายใหม่     

                    2. กฎหมายทีมีการประกาศและบังคับใช้เกี่ยวกับโควิด
                             
โควิดนอกจากต้องจะใช้หลักวิชาการและหลักวิทยาศาสตร์ในการป้องกันโรค   แล้วสิ่งหนึ่งที่ต้อง Up to date และ พลาดไม่ได้เลย คือ กฎหมาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดหนักๆ จะมีกฎหมายเกิดขึ้นเยอะมาก ๆ ซึ่งกฎหมายก็จะมีบทลงโทษ (จริงๆ กฎหมายเกี่ยวกับโควิด จะเป็นกฎหมายเชิงเทคนิคคอล แค่เราทำได้ครบ 100% ตามที่กฎหมายกำหนด เราจะป้องกันโควิดได้แล้ว  และ ที่สำคัญกฎหมายหากเราใช้ให้เป็น  จะเกิดประโยชน์ Momentum ในการผลักให้เกิดมาตรการได้ง่ายขึ้นมากๆ)

                    3. ตัดสินใจด้วยข้อมูล ด้วยหลักวิชาการ และด้วยวิทยาศาสตร์
                              o การที่จะป้องกันวิกฤติโควิดได้อย่างถูกต้อง จะต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์
                              o มาตรการต่างๆ จะต้องยึดตามหลักวิชาการ หลักวิทยาศาสตร์ และ กฎหมาย เพื่อเสนอให้ “คณะกรรมการโควิด พิจารณา และ ตัดสินใจประกาศใช้”

                    4. DMHTT effectiveness
                              o ทำให้ DMHTT Effective เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น  จะต้องให้ Sub-contractor ย่อยๆ เข้ามามีส่วนร่วม มากกว่า  สั่งการผ่าน Main contractor เท่านั้น      
                              o ในช่วงนั้น  ที่จังหวัดระยอง  มีประกาศมาตรการป้องกันโควิดเกี่ยวกับโครงการก่อสร้าง   โดยประกาศฉบับนี้  ทำได้ค่อนข้างดี   เราก็ได้นำขอกฎหมายฉบับนี้มาประยุกต์ใช้   (แบ่งเป็นมาตรการขณะทำงาน , มาตรการที่พักอาศัยและที่พักระหว่างทำงาน , มาตรการขณะเดินทางมาทำงาน)   รายละเอียดของ Checklist ตามกฎหมายตามที่ได้อ้างถึง  ตาม Link ครับ : http://jigsawinnovation.com/project/rayongweb/assets/uploads/department/document/20200405_68928.pdf
                              o นอกจากจะมีข้อกฎหมายแล้ว  ทางรากชารฯ เข้ามาตรวจที่ Site และ Camp คนงาน  เพื่อตรวจประเมินการปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่  (โครงการที่ผมดูแล  เป็นโครงการแรก  ของจังหวัดเลย … ประมาณว่าใหม่ทั้งคนตรวจ และคนถูกตรวจ) 
                              o เป็นมาตรการตามประกาศฉบับนี้   ดีมากๆ  แม้ว่าทางหน่วยงานราชการจะไม่ได้เข้ามาตรวจแล้วเหมือนในอดีต   แต่ปัจจุบันแนวทางตามกฎหมายฉบับนี้   เรายังใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป็นมาตรการ เพื่อให้ DMHTT เกิด Effectiveness อยู่อย่างต่อเนื่อง
                              o นอกจากการทำ DMHTT Effectiveness อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว  อีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องก็คือ การ COVID Risk screening สำหรับทุกๆ คนในโครงการ และ บุคคลภายนอกที่จะเข้าพื้นที่ 

                    5. แผนฉุกเฉิน และการฝึกซ้อม
                              o จัดทำแผนฉุกเฉิน กรณี ที่มีผู้ติดเชื้อ  และ จัดให้มีการฝึกซ้อม  ซึ่งแผนนี้ เป็น BCP ด้วย  เพื่อทำให้ Construction สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงักแม้จะมีผู้ติดเชื้อ

 

          กลยุทธ์พิชิตโควิดปี 2021
          
ระลอกนี้ ปี 2021 หนักกว่าปีที่ผ่านๆ มา เยอะมากๆ  โดยในกลุ่มบริษัทฯ เดียวกัน  ก็ยังมีโครงการก่อสร้าง (Construction site) อยู่   ซึ่งนอกจากจะต้อง  Maintain มาตรการเดิมที่มีอยู่  ให้แข็งแรงอย่างต่อเนื่องแล้ว    ได้มีการเพิ่มกลยุทธ์สำคัญ  อีก 3 เรื่อง คือ   
                    1. 
COVID Testing
                              o การ Testing มีความสำคัญ คือ “Test เยอะ  Test เร็ว  จะทำให้เรา Isolation ผู้ป่วยได้เร็วมากขึ้น  คนจะที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะลดลง  โอกาสในการเกิด Cluster ก็จะลดลง”
                              o ตรวจเชื้อทุกคนด้วย Rapid Antigen Test แบบปูพรม 100%
                              o ตรวจเชื้อ ครั้งถัดไป เดือน ละ 25% โดยจะครบ 100% ทุกๆ 4 เดือน
                              o เพื่อดูว่าใครมีผลเป็น “บวก” ก็จะ Confirm ด้วย RT-PCR หากเป็นบวก ก็จะส่ง Isolation ต่อไป

                    2. Vaccine
                              o ให้ Contractor& Sub-contractor เร่งลงทะเบียน และจัดหาวัคซีน ให้ผู้ปฏิบัติฉีดให้ได้มากที่สุด  จนมีจำนวนมากพอที่จะเกิด Herd immunity ในโครงการ

                    3. Bubble and Seal:
                              o ศึกษา และเตรียมการ มาตรการ Bubble and Seal  โดยยึดตามข้อกำหนดของกฎหมาย และ แนวทาง Bubble and Seal ของราชการ
                              o 
นอกจาก Bubble and Seal แล้ว    มีการศึกษา เกี่ยวกับมาตรรองรับ กรณี มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก โดยวางแผนและเตรียมการ  ไว้  กรณี  ที่ต้องจัดทำ Community Isolation(ศูนย์พักคอย) หรือ แม้กระทั้งโรงพยาบาลสนาม  ในพื้นที่โครงการ (หากจำเป็น  ก็จะสามารถดำเนินการได้ ทันที)
                              o 
แนวทางการควบคุมโรคโดยหลักการ Bubble and Seal  จากตามกรมควบคุมโรค (วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 )   ตามLink :  https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/bubble_and_seal_200764.pdf
                              o 
ตัวอย่างการอธิบายการทำ Bubble and Seal ตาม Link :   http://osh3.labour.go.th/2015-12-03-04-55-08/808-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3-bubble-and-seal-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3

 

          กลยุทธ์พิชิตโควิดปี 2022
                    o เนื่องจากวิกฤติโควิด  เป็นวิกฤติที่อยู่นอกตำรา  ไม่มีสูตรสำเร็จในการจัดการ  ไม่มีใครเป็นผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง  เป็นสิ่งใหม่สำหรับทุกๆ คนบนโลกใบนี้   พวกเรากำลังเผชิญหน้ากับสิ่งนี้พร้อมๆ กัน  เราต้องเรียนรู้ และ ปรับตัวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   การจัดการวิกฤติในแต่ละช่วงเวลาจึงมีความแตกต่าง   หากเราสังเกตุในช่วงที่ผ่านๆ มา  เราจะเห็นว่า  “องค์กรใดที่ไม่ปรับตัวเปลี่ยนแปลง หรือ ปรับเปลี่ยนไม่ทันต่อสถานการณ์  ก็จะทำโดนผลกระทบหนักมากๆ จากวิกฤติครั้งนี้” แต่ในขณะที่องค์กรที่ปรับตัวเปลี่ยนแปลงได้ทันก็จะได้รับผลกระทบที่น้อยกว่า
                    o 
ถ้าถามว่าปี 2022  จะเป็นอย่างไร  เราไม่สามารถรู้อนาคตได้ 100% ว่าจะเป็นอย่างไร  จะวางกลยุทธ์อย่างไร เราก็ไม่สามารถที่จะกำหนดได้อย่างแม่นยำ 100%   ดังนั้น  สิ่งที่สำคัญที่สุด  คือ ทุกๆ องค์กร  ทุกๆ โครงการ  ทุกๆ คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบ  จะต้องมีวิธีคิด และย้ำกับตัวเองตลอดเวลา ว่า  “วิกฤติครั้งนี้เราต้องเรียนรู้ และ ปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์  (ที่เปลี่ยนแปลง และ ไม่มีความแน่นอน) อยู่เสมอ”

 

Visitors: 420,754