มารู้จักสารเคมีอันตรายกันเถอะ
เผยแพร่เมื่อ 20/08/2564...,
เขียนโดย คุณวรกานต์ ศิริเกตุ
Health Safety Environment Officer
KNORR-BREMSE COMMERCIAL VEHICLE SYSTEMS (THAILAND) LTD...,
เรื่อง มารู้จักสารเคมีอันตรายกันเถอะ
การแบ่งประเภทของสารเคมีตามอันตราย
องค์การสหประชาชาติ จำแนกประเภทสารเคมีอันตรายออกเป็น 9 ประเภท ตามสถานะและอันตรายของสารเคมี
ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด แบ่งเป็น 5 ชนิด
1. สารและสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย โดยการระเบิดรุนแรงฉับพลัน
2. สารและสิ่งที่อาจก่ออันตรายโดยการกระจายของสะเก็ดระเบิด แต่มิใช่โดยการระเบิดรุนแรงฉับพลัน
3. สารหรือสิ่งซึ่งอาจก่ออันตรายโดยเปลวไฟ พร้อมกับอันตรายจากการระเบิดบ้างเล็กน้อย
4. สารหรือสิ่งซึ่งไม่ก่ออันตรายมากนัก
5. สารซึ่งไม่ไวต่อการเกิดอันตรายโดยการระเบิด
ประเภทที่ 2 ก๊าซ แบ่งได้ 4 ชนิด
1. ก๊าซไวไฟ ลุกติดไฟได้เมื่อได้รับความร้อนหรือประกายไฟ เช่น ก๊าซไฮโดรเจน มีเทน แอลพีจี
2. ก๊าซไม่ไวไฟ ได้แก่ ก๊าชไนโตรเจน ก๊าซฮีเลี่ยม การได้รับก๊าซกลุ่มนี้ที่มีความเข้มข้นสูงอาจทำให้หมดสติเนื่องจากขาดออกซิเจน
3. และ 4. ก๊าซพิษและก๊าซกัดกร่อน เช่น ฟอสจีน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก๊าซกลุ่มนี้มีพิษสูง
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ
จะลุกติดไฟได้เมื่อได้รับความร้อน ประกายไฟ หรือเปลวไฟ ไอระเหยของสารกลุ่มนี้บางชนิด เมื่อผสมกับอากาศจะเกิดส่วนผสมที่ระเบิดได้ เช่น โทลูอีน ไซลีน เบนซิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
2. จำพวกที่มีจุดวาบไฟต่ำปานกลาง (-18 ํC แต่ไม่ถึง 23 ํC )
3. จำพวกที่มีจุดว่าไฟมากกว่า 23 ํC จนถึง 61 ํC
ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ เช่น ไม้ขีดไฟ ฟอสฟอรัส กำมะถัน โซเดียม
1. ของแข็งลุกติดไฟได้
2. สารที่ลุกไหม้ได้ด้วยตัวเอง
3. สารซึ่งเมื่อถูกน้ำจะก่อให้เกิดก๊าซลุกติดไฟ
ประเภทที่ 5 สารออกซิไดซิง และสารออร์แกนิกเปอร์ออกไซด์
สารกลุ่มนี้สามารถทำให้สารอื่นติดไฟได้โดยการทำให้ ออกซิเจน เมื่อเกิดเพลิงไหม้ สารกลุ่มนี้จะเร่งให้เพลิงไหม้รุนแรงขึ้น เช่น ไฮโปคลอไรท์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ประเภทที่ 6 สารมีพิษและสารติดเชื้อ
2. สารติดเชื้อ เช่น จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในคนและสัตว์
ประเภทที่ 7 สารกัมมันตรังสี
ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน
ประเภทที่ 9 สารอันตรายอื่นๆ
ซึ่งไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทอื่นได้ เช่น สารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาวะแวดล้อม และของเสียอันตราย เช่น แอสเบสตอส ของเสียต่างๆ