Safety Starts with Me (EP.1 wake me up)

เผยแพร่เมื่อ 27/07/2564...,
เขียนโดย คุณอัจฉรา คำอ้น
               Safety Manager
               บริษัท พรีไซซ อีเลคโทร-แมคคานิเคิล เวอร์คส์ จำกัด...,

 

เรื่อง Safety Starts with Me (EP.1 wake me up) 

          Mindset คือ กรอบความคิด ทัศคติ หรือนิสัยทางความคิด ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการตัดสินใจให้กระทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต เช่น เราคิดว่า…เราชื่อว่า...“ การออกกำลังกายเป็นประจำ และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม และพักผ่อนให้เพียงพอ จะทำให้มีสุขภาพที่ดี จึงตัดสินใจลงมือปฏิบัติตามที่สิ่งที่คิด”

          เราคิดว่า…เราเชื่อว่า... “ มีประสบการณ์ในการทำงานมานาน 10 ปี ทำงานข้ามขั้นตอนนิดหน่อยหรือไม่ใส่ PPE แป๊บเดียวก็ไม่เห็นเป็นอะไร ทำไมต้องทำหรือต้องใส่อะไรเยอะแยะ” จึงนำไปสู่การกระทำที่ไม่ปลอดภัยและเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุหรืออันตราย ในทางตรงกันข้ามหาก...เราเชื่อว่า...“การการป้องกันก่อนเกิดเหตุนั้น ดีกว่าการมาแก้ไขทีหลัง จะนำไปสู่การกระทำที่ปลอดภัย” จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า Mindset ส่งผลต่อการตัดสินใจ นำไปสู่ การกระทำ และเป็นพฤติกรรมของคน ดังนั้น การ มี Mindset ที่ดี เหมาะสม ถูกต้องบนหลักการ ข้อเท็จจริง จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ที่มารูปภาพ : https://msliewsclass.weebly.com/growth-mindset.html

 

          เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ระดับวิชาชีพ ไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยที่เข้มแข็งและยั่งยืน (Safety Culture) ในองค์กรได้เพียงบุคคลเดียว ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมมือและการให้คำปรึกษาจากทั้งผู้บริหาร ทีมบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และพนักงานทุกระดับในองค์กร ซึ่งประกอบด้วย
                    
1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
                    
2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
                    
3. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
                    
4. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
                    
5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
                    
6. คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                    
7. หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                    
8. นักสุขศาสตร์ในอุตสาหกรรม
                    
9. แพทย์/ พยาบาลอาชีวเวชศาสตร์
                    
10. พนักงาน/ ผู้ปฏิบัติงาน

          บุคลากรเหล่านี้จะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยมีหน่วยงานความปลอดภัยหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ/ เทคนิค/ เทคนิคขั้นสูง เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน นั่นหมายความว่า ถ้าอยากให้เรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีประสิทธิภาพ และอย่างต่อเนื่อง คงไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็น “ตัวเราแอง” (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน) ที่จะต้องทำให้มันเกิดขึ้น ฟังดูแล้วอาจจะยากสำหรับการนำไปปฏิบัติ แต่มันสามารถปฏิบัติได้จริง และเห็นผลลัพธ์ได้จริง

          7 ปีที่แล้ว ตัวผู้เขียนได้เข้ามาเป็น จป.ระดับวิชาชีพ เป็นปีที่ 2 ได้เกิดคำถามขึ้นมากมายเกี่ยวกับการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร จึงได้แต่ถามตัวเองว่า...
                    
“ทำไม พนักงาน ถึงให้ความร่วมมือด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยน้อย หรือแทบจะไม่ให้ความร่วมมือเลย”
                    
“ทำไม ผู้บริหาร มี Safety Leadership ที่ถือว่ายังน้อย (แต่เรื่องงบประมาณด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้รับสนับสนุนด้วยดีเสมอมา)” แล้วเราจะเปลี่ยนแปลงพวกเขาได้อย่างไร?

           เมื่อตั้งคำถามกับตัวเองเสร็จแล้ว ก็ต้องหาสาเหตุและคำตอบ เพื่อจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป ซึ่งถือเป็นความท้าทายของตัวผู้เขียนที่อยากจะสร้างมันขึ้นมาและอยากเปลี่ยนแปลง จึงได้ถามตัวเองต่อไปอีกว่า… 
                    “ตัวเราเองได้จริงจังหรือให้ความสำคัญกับเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือยัง”
                    
“เราตื่นหรือยัง”
                    
“ถ้าไม่ใช่เรา แล้วเป็นใคร”
                    
“ถ้าไม่ใช่ตอนนี้ แล้วเป็นเมื่อไหร่”

          ดังนั้น ตัวเราเองต้องเป็นคนแรกที่ต้องตื่น และปลุกทุกคนในทีมให้ตื่น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กรให้มีชีวิต (Alive) การที่จะสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรนั้น ต้องอาศัยความเข้าใจธรรมชาติของคนก่อน ผู้เขียนจึงได้นั่งขบคิด ทบทวนตัวเอง และปรับเปลี่ยนความคิด วิธีการ ทำให้เข้าใจว่าคนเรามีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
                    
1.  คนที่รู้แล้ว เขาเข้าใจ และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร หรือรู้แต่ไม่ทำ
                    
2.  คนที่ไม่รู้ เขาจึงไม่ได้ปฏิบัติ ดังนั้น เราจึงต้องให้ความรู้แก่เขาก่อน
                    
3.  คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ คนกลุ่มนี้ก็จะต้องทำให้เขารู้ว่าเขาไม่รู้หรือปลุกให้เข้าตื่น

          หาก จป.วิชาชีพ สามารถปลุกตนให้ตื่น “มีความเข้าใจตน และรู้จักคน” เพียงพอ การขับเคลื่อนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กรให้มีชีวิต (Alive) ไม่ใช่เรื่องที่เป็นนามธรรมอีกต่อไป หาก จป.วิชาชีพ เริ่มต้นตัวเองด้วยกลยุทธ์ของการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรที่จะกล่าวในครั้งต่อไป Safety Starts with Me (EP.2 do it myself)     

 

Visitors: 414,890