ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019
เผยแพร่เมื่อ 24/07/2564...,
เขียนโดย คุณรวิ ถิ่นปรีเปรม, คุณอุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์ และคุณวาสนา ศิลางาม
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ...,
เรื่อง ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเอง
จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019
บทนำ
การระบาดของโรคโควิค-19 ของประเทศไทยในระลอกแรกในช่วงพ.ศ. 2563 จนกระทั่งเกิดระบาดระลอกใหม่ในช่วงพ.ศ. 2564 พบว่ารูปแบบของการระบาดในระลอกใหม่ เริ่มเปลี่ยนแปลงจากการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (cluster) cluster) cluster) ได้แก่ สถานบันเทิง ตลาด ห้างสรรพสินค้า มาเป็นการติดเชื้อภายในครัวเรือนหรือผู้สัมผัสใกล้ชิด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ (ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค, 2564) สามารถแพร่เชื้อติดต่อจากคนสู่คนได้โดยติดต่อผ่านทางการไปสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น จากการไอ หรือจามแล้วหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอด การป้องกันตนเองขั้นต้นจึงมีความสำคัญต่อการลดการแพร่ระบาดของโรคได้เป็นอย่างมาก
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่ตั้งในจังหวัดสมุทรปราการและเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาชาวจีนเข้ามาศึกษาจานวนมาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาสถานการณ์ในกลุ่มของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมมีความรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นอย่างไร โดยข้อมูลที่ได้จะสามารถนาไปใช้กำหนดรูปแบบการกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติตนในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 อย่างต่อเนื่องหรือไม่ให้การ์ดตก
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับความรู้และระดับพฤติกรรมของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
2. เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ หลักสูตรที่ศึกษา โรคประจำตัว ระดับการระบาดของ COVID 19 ของภูมิลำเนา ระดับการเปิดรับข่าวสาร และระดับความวิตกกังวล กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความรู้และคะแนนพฤติกรรมของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยความรู้และระดับพฤติกรรมของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลมีการผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรค
ประชากร: เป็นนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 198 คน
กลุ่มตัวอย่าง: กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสมการ Krejcie & Morgan(1970) ได้จำนวนทั้งสิ้น 99 คน โดยตัวอย่างเลือกมาอย่างสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนของจำนวนประชากรแต่ละชั้นปีและหลักสูตรที่ศึกษา มีเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างคือ เป็นนักศึกษารหัส 60 และ 61 ไม่ตกแผนการเรียน และยินดีให้ข้อมูลการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลได้แก่ เพศ ชั้นปี หลักสูตรที่ศึกษา โรคประจำตัว การระบาดของ COVID 19 ของภูมิลำเนา จำนวนแหล่งข้อมูลที่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโรค COVID 19 ความวิตกกังวล
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นแบบเลือกตอบ ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดเป็น 0 คะแนน ประกอบด้วย 2 ประเด็น ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อจำนวน 7 ข้อ และความรู้เกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อจำนวน 8 ข้อ คะแนนรวมทั้งหมด 15 คะแนน
ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 จำนวน 24 ข้อ โดยแต่ละข้อจะให้ตอบว่าความถี่ในการปฏิบัติ หากปฏิบัติเป็นประจำได้ 5 คะแนน ปฏิบัติบ่อยๆ ได้ 4 คะแนน ปฏิบัติบ้างบางครั้งได้ 3 คะแนน ปฏิบัตินานๆครั้งได้ 2 คะแนน แทบไม่ได้ปฏิบัติเลยได้ 1 คะแนน
การวิเคราะห์ข้อมูล: การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนาใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบความแตกต่างของตัวแปรใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One One-Way ANOVA) และการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson product moment correlation coefficient)
ผลการวิจัย
ผลการทดสอบความแตกต่างของพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมระหว่างกลุ่มตามเพศ หลักสูตรที่ศึกษา โรคประจำตัว ระดับการระบาดของ COVID 19 ของภูมิลำเนา ระดับการเปิดรับข่าวสาร ระดับความวิตกกังวล พบว่ากลุ่มที่ตัวอย่างที่มีเพศ หลักสูตรที่ศึกษา โรคประจำตัว ระดับการระบาดของ COVID 19 ของภูมิลำเนา และระดับการเปิดรับข่าวสาร ระดับความวิตกกังวล ที่แตกต่างกันมีคะแนนของพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) ดังตารางที่ 1 ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความรู้กับคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) ดังตารางที่ 2
การอภิปรายผล
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภูมิลำเนามาจากจังหวัดที่เป็นพื้นที่สีแดงของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19 ) จึงมีความเป็นห่วงผู้ปกครองร่วมด้วยกับความระมัดระวังตัวเองในการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดสมุทรปราการที่เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยซึ่งจัดเป็นพื้นที่สีแดงของการระบาดเช่นกัน จึงไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19 ) ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จังหวัดขอนแก่น โดยกฤชกันทร สุวรรณพันธุ์และคณะ (2563) ระบุว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 20.64 ± 1.74 ปี ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 มีระดับความเครียดอยู่ในระดับน้อย มีการรับรู้ความเสี่ยงในระดับดี ซึ่งทั้งสองปัจจัยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยบุคคลที่มีการรับรู้ถึงความเสี่ยงมักจะเตรียมการในการป้องกันตนเองจากโรค COVID -19 จึงช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียดได้
2. มีความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อยู่ในระดับมาก และค่อนข้างมาก ตามลำดับ ในส่วนความรู้และพฤติกรรมฯ ที่ได้คะแนนน้อยเป็นเรื่องการดูแลร่างกายให้แข็งและการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการป่วยน่าสงสัย การเลือกใช้ การใช้และการทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างเหมาะสม การป้องกันการสัมผัสเชื้อจากมือ และการฆ่าเชื้อบนมือที่ถูกต้อง จะเห็นว่าประเด็นดังกล่าวล้วนเป็นความรู้และพฤติกรรมที่จำเป็นต้องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งหากกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ไม่ได้รับการส่งเสริมและป้องกันอย่างเพียงพอนั้น กลุ่มตัวอย่างอาจมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้ สอดคล้องผลการศึกษาของมงคล การุณงามและคณะ (2555) ระบุว่าคนทางานในสถานประกอบการเขตเมืองใหญ่ มีพฤติกรรมด้านโภชนาการและการออกกาลังกายมีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด จัดอยู่ในระดับพอใช้ เนื่องจากมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบไม่เอื้อต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
3. กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคล (ได้แก่ เพศ หลักสูตรที่ศึกษา โรคประจำตัว ระดับการระบาดของ COVID 19 ของภูมิลำเนา ระดับการเปิดรับข่าวสาร และระดับความวิตกกังวล) แตกต่างกันมีคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ( ตาราง 1) นอกจากนี้คะแนนความรู้กับคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ (ตาราง 2) อาจเป็นเพราะจำนวนกลุ่มตัวอย่างไม่มากพอ อย่างไรก็ตามขณะทาการสอบถามมีการเก็บข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างแต่ละหลักสูตรจำนวนอย่างละ 5 คน สรุปได้ว่ามีความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มาจากคณาจารย์และได้รับข่าวสารจากสื่อโซเซียลอย่างต่อเนื่อง แต่การทำกิจกรรมต่างๆในสถานที่สาธารณะ โดยเฉพาะเป็นกิจกรรมร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกันทาให้การป้องกันตนเองตามวิถีใหม่ (new normal) ไม่สามารถปฏิบัติได้ เช่น การรวมตัวกันเพื่อทบทวนหนังสือหรือจัดทารายงานแล้วมีเปิดหน้ากากรับประทานขนมร่วมกัน ยังคงมีการรวมตัวกันเพื่อพบปะสังสรรค์ยามเวลาว่าง บางครั้งที่พื้นที่โรงอาหารเจลล้างมือหมดก็ไม่ได้ใช้ เวลาป่วยการอยู่ต่างจังหวัดจึงมักซื้อยาทานเองไม่ไปพบแพทย์เพราะเดินทางลาบาก เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
1. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2564). ข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19. ฉบับที่ 359 พ.ศ. 2563
2. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2563). แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19). เดือนเมษายน
3. วรรษมน จันทรเบ็ญจกุล. (2563). การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) เอกสารประกอบการบรรยายเวทีจุฬาเสวนาครั้งที่ 23 เรื่อง ตระหนักดีกว่าตระหนก เรียนรู้และป้องกันโคโรนาไวรัส 2019. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข. (2563). การสำรวจการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของประชาชนหลังผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2563
5. ธานี กล่อมใจ จรรยา แก้วใจบุญ และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-39
6. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2564). ประกาศมาตรการของคณะกรรมการโควิด-19 ฉบับที่ 8/2564, 15 กุมภาพันธ์ 2021 [การเข้าถึง] https://www.chula.ac.th/news/43507/
7. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องมาตรการและคำแนะนำการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19, 16 กุมภาพันธ์ 2564 [การเข้าถึง] https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/922872
8. ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. (2564). แถลงสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 15 กุมภาพันธ์2564 [การเข้าถึง] https://www.youtube.com/watch?v=VZLM8PRu-5I
9. กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ ลาพึง วอนอก และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรสัโคโรนา 2019 (COVID-19)ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2),138-48
10. ปรีชา วิหคโต, ปรีชา คัมภีรปกรณ์, และ สมร ทองดี. (2544). พฤติกรรมวัยรุ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
11. มงคล การุณงามพรรณ สุดารัตน์ สุวารี นันทนา น้ำฝน. (2555). พฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของคนทำงานในสถานประกอบการเขตเมืองใหญ่: กรณีศึกษาพื้นที่เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 32(3), 51-64.
12. ธานี กล่อมใจ จรรยา แก้วใจบุญ และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. 21(2), 29-39.
13. O’Reilly, M., & Parker, N. (2013). Unsatisfactory Saturation: A critical exploration of the notion ofsaturated sample sizes in qualitative research. Qualitative Research, 13, 190–197. doi:10.1177/1468794112446106