หลักสำคัญที่ควรรู้สำหรับการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย

เผยแพร่เมื่อ 18/07/2564...,
เขียนโดย คุณวิจิตร ไสยาศรี 
               วิทยากรอิสระด้านความปลอดภัย
               ศิษย์เก่า Safety Engineering SAU...,

 

เรื่อง หลักสำคัญที่ควรรู้สำหรับการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย 

1) การทำงานบนที่สูง (Work at Height) 

คือ การปฏิบัติงานใด ๆ ก็ตามในบริเวณที่มีความต่างระดับของพื้นที่ทำงาน และมีโอกาสที่บุคคล หรือวัสดุจะตกจากที่สูงจากระดับหนึ่งสู่ระดับที่ต่ำกว่า เช่น บ่อ หลุม ช่องเปิด หลังคา บริเวณที่มีทางขึ้น-ลง หรือบันได บริเวณลาดชัน พื้นที่สูงที่มีพื้นผิวไม่แข็งแรงมั่นคง หรือลื่น

 

  1.1) กฎพื้นฐานในการทำงานบนที่สูง 

  • เป็นผู้ได้รับมอบหมายและมีคุณสมบัติในการทำงานบนที่สูง
  • สวมใส่เครื่องแต่งกายให้รัดกุมและเรียบร้อย
  • เลือกจุดยึดที่แข็งแรงสามารถรับแรงกระชากเมื่อเกิดการตกได้
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะทำงานเสมอ ได้แก่ ถุงมือที่ปราศจากน้ำมัน รองเท้า เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว (Full body harness) และสายช่วยชีวิต (Lanyard, SRL)
  • เตรียมแผนการช่วยเหลือ และอุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น Tripod และ Winch

 

  1.2) กฎการขึ้นที่สูง 

  • การขึ้น/ลงบันไดแนวตั้ง ให้ขึ้น/ลงทีละคน
  • บันไดจะต้องถูกจับยึดให้แน่นและมั่นคง
  • ขณะขึ้น/ลงให้จับขอบบันไดด้วยมือทั้ง 2 ข้าง และก้าวขึ้น/ลงด้วยความเร็วปกติ
  • ห้ามถือเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ใดๆ ขณะปีนขึ้น/ลงบันได สำหรับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้งานให้พกพาโดยใส่ในกระเป๋าที่ติดกับเข็มขัดเท่านั้น

 

  1.3) กฎการทำงานบนที่สูง 

  • ห้ามทำงานบนที่สูงเพียงลำพังคนเดียว
  • ห้ามเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อทำงานสูงกว่าพื้น 2 เมตรขึ้นไป
  • ห้ามโยนสิ่งของหรือเครื่องมือให้แก่ผู้อยู่บนที่สูง
  • ห้ามทิ้งสิ่งของหรือเครื่องมือลงสู่เบื้องล่าง
  • การตัด/เชื่อมบนที่สูง ให้ตรวจสอบและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิง และสารไวไฟทุกชนิดในพื้นที่เบื้องล่างก่อน และขณะตัด/เชื่อม ให้ทำงานด้วยความระมัดระวัง
  • ผู้ควบคุมงานต้องดูแลไม่ให้ใครเดินผ่านเบื้องล่างจุดทำงาน
  • ระวังขอยก (Hanger) ชน เมื่อจำเป็นต้องทำงานในเส้นทางของขอยก
  • ขณะยืนบนหลังคากระเบื้อง ห้ามเหยียบที่แผ่นกระเบื้องโดยตรง

  

2) สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของระบบป้องกันการตกจากที่สูง : ABCD มีดังนี้

          o   A จุดยึด (Anchorage)เป็นอุปกรณ์ที่มีความมั่นคง แข็งแรง สามารถรับแรงได้ 5,000 lbs เทียบเท่า22.2 กิโลนิวตัน (kN) และยังใช้เป็นจุดยึดกับ Lifeline, Lanyard, SRL และอุปกรณ์กันตกอื่นๆ รวมทั้งRescue System ด้วย อุปกรณ์จุดยึด ได้แก่ H-Beam, โครงสร้างคานโลหะต่างๆ, คานคอนกรีต, คานไม้  โดยมีอุปกรณ์สร้างจุดยึด เช่น Web-tie, Beam anchor และ Concrete anchor  ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับจุดยึด ได้แก่ Sling, Webbing และ Cable ซึ่งควรมีความยาวพอที่จะพันรอบจุดยึดและมีปลายเหลือเพียงพอ

          o   B ส่วนพยังร่างกาย (Body Support)ชุดอุปกรณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ มีความกระชับและสามารถกระจายแรงจากการตกจากที่สูงได้ โดยตัวผู้ปฏิบัติงานไม่หลุดออกจากชุดอุปกรณ์ เช่น เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว (Full body harness)

          o   C อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connection)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างจุดยึด (Anchorage) และส่วนพยุงร่างกาย (Body Support) เช่น Snap hock, Big hock, Carabiners, Lanyard, Shock absorber

          o   D อุปกรณ์กู้ภัย (Descent/Rescue)อุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือและกู้ภัยผู้ปฏิบัติงานหากมีงานตกจากการทำงาน เช่น Rollgliss, Rescumatic, Life-line system, Pulley, Tripod

 

3) ระยะการตกที่ปลอดภัยของการทำงานบนที่สูง
          
ระยะการตกที่ปลอดภัย จะเริ่มนับระยะของเส้นเชือกจากจุดยึด (A) จนถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อ (B) ซึ่งการกำหนดระยะการตกจากที่สูงที่ปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นและต้องชัดเจนเพื่อป้องกันผู้ปฏิบัติงานที่เชื่อมอยู่กับอุปกรณ์กันตกไม่ให้ตกกระทบกับพื้นที่อยู่เบื้องล่าง หากระยะความสูงน้อยกว่า 5เมตร อาจต้องพิจารณาใช้อุปกรณ์ดึงกลับอันโนมัติ (Self Retracting Lifeline)

          A) จุดยึดต้องอยู่เหนือระดับไหล่ของผู้ปฏิบัติงานเสมอเพื่อลดแรงเหวี่ยงและแรงกระชากที่อาจจะเกิดขึ้น
          
B)  เมื่อผู้ปฏิบัติงานตกจากการทำงานบนที่สูง ความยาวของเชือกจากจุดยึด รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อ เส้นเชือก
                และ Shock absorber ที่ยังไม่แตกออก ควรมีความยาวไม่เกิน 2 เมตร ตามมาตรฐาน
          
C)   เมื่อ Shock absorber โดนแรงกระชาก เชือกด้านในจะหลุดและขยายตัวออกตามความยาวที่ระบุไว้บน
                Shock absorber
          
D)  Shock absorber จะมีความยาวเฉลี่ย 1.75 เมตร ตามมาตรฐาน EN และ 1.1เมตรตามมาตรฐาน ANSI
          
E)  หลังจากคำนวณระยะจากจุดยึด อุปกรณ์เชื่อมต่อ เชือกส่วนขยายจาก Shock absorber และความสูงของ
                ผู้ปฏิบัติงานงาน ต้องเว้นพื้นที่ระยะความปลอดภัยเพิ่มอีกอย่างน้อย 1 เมตร

B+C+D+E = 5.6 - 6.25 เมตร = ระยะการตกที่ปลอดภัย

 

4) มาตรฐานที่ควรรู้

 

5ความหมายของ Fall Factor

  • Fall Factor 0 (FF 0)

การทำงานที่จุดยึดอยู่สูงกว่าระดับไหล่ของผู้ปฏิบัติงาน มีความเสี่ยงต่ำ สามารถใช้ Lanyard แบบมี Shock absorber และ Lanyard ที่ไม่มี Shock absorber ได้

  • Fall Factor 1 (FF 1)

การทำงานที่จุดยึดอยู่ต่ำกว่าระดับไหล่ของผู้ปฏิบัติงานและจุดยึดสามารถขยับเคลื่อนที่ได้ จะมีความเสี่ยงที่มากขึ้น แนะนำให้ใช้ Lanyard แบบมี Shock absorber เท่านั้น

  • Fall Factor 2 (FF 2)

ไม่แนะนำให้ปฏิบัติงานในระดับที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่สูงกว่าจุดยึด ข้อควรระวัง ห้ามให้จุดยึดหรือจุดเชื่อมต่ออยู่ต่ำกว่าระดับเอวของผู้ปฎิบัติงานเสมอ

  • Fall Factor 4 (FF 4)

ห้ามปฏิบัติงานในระดับที่สูงกว่าจุดยึดและจุดยึดสามารถขยับเคลื่อนที่ได้

 

 







Visitors: 414,926