การทำ Safety Talk

เผยแพร่เมื่อ 03/07/2564...,
เขียนโดย คุณวัลลภ อยู่ภิญโญ 
               จปว, บริษัท เอ็ม อี อี จำกัด...,

 

เรื่อง การทำ Safety Talk 

          วัตถุประสงค์การทำ Safety Talk
                    
1. เพื่อให้การเริ่มต้นในแต่ละวัน มีทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องความปลอดภัยฯ และอาชีวอนามัยในการทำงาน
                    
2. เพื่อให้มีความรู้ทันสมัย ในเรื่องกฎหมายต่างๆ และข่าวสารที่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยฯและอาชีวอนามัยฯ ในการทำงาน
                    
3. เพื่อให้เกิดความตื่นตัว ตระหนักรู้ ถึงอันตรายที่แฝงเร้นอยู่ในสภาพแวดล้อม ของการทำงาน
                    
4. เพื่อเสริมสร้างให้เกิดจิตสำนึกความปลอดภัยฯในด้านบวก ติดเป็นนิสัย ในหมู่คนงาน
                    
5. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหา และวิธีการปรับปรุงงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
                    
6. เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรม ด้านความปลอดภัยฯ ในองค์กร นั้นๆ
                    
7. เพื่อแสดงให้เห็น ความมุ่งมั่น ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ ของ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

 

          เราใช้ทักษะอะไรบ้าง ในการทำ Safety Talk
                    
1. ทักษะในการคิด
                    
2. ทักษะในการวางแผน และจัดรูปแบบในการนำเสนอ
                    
3. ทักษะในการสื่อสาร

 

          ปัจจัยการทำ Safety Talk ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
                    
1. เสียงดังฟังชัด
                    
2. สีหน้าสอดคล้องจริงใจ                                   
                    
3. สายตาสบกับคู่สนทนา
                    
4. ท่าทางเป็นธรรมชาติ และสื่อความหมาย
                    
5. ภาษาเข้าใจง่าย
                    
6. เนื้อหาได้ประโยชน์
                    
7. สร้างบรรยากาศที่ดี

 

          เทคนิคการลดความประหม่า และความตื่นเต้น
                    
1. ฝึกซ้อมล่วงหน้ามาอย่างดี จะได้มีความมั่นใจ
                    
2. คิดถึงความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นก่อนการบรรยาย
                    
3. มาถึงก่อนเวลา เพื่อเตรียมสถานที่และอุปกรณ์
                    
4. ก่อนเริ่มบรรยาย ต้องทักทายทำความรู้จัก
                    
5. สูดลมหายใจยาวๆ ลึกๆ อย่านึกว่าทำไม่ได้ 

 

          ข้อแนะนำในการพูด
                    
1. ภาษาและคำศัพท์เป็นที่เข้าใจ
                    
2. เนื้อหาเป็นที่สนใจ
                    
3. พูดด้วยอารมณ์ และความรู้สึก
                    
4. การพูดอย่าเร่งรีบ พูดแบบสบายๆ
                    
5. อย่าพูดเสียงดังเกินไป คนจะรำคาญ
                    
6. พูดให้เข้าประเด็น คนจะสนใจฟัง
                    
7. ให้สายตาอยู่กับผู้ฟังให้มากที่สุด  มองไปทั่วๆอย่าจ้องคนเดียว
                    
8. ชวนขำขัน หัวเราะบ้างบางโอกาส ยิ้มแย้ม แจ่มใส
                    
9. อย่าว่า อย่าตำหนิใคร
                    
10. ซ้อมเพื่อให้เกิดความมั่นใจ

 

          การสร้างบุคลิกภาพภายนอก ที่น่าประทับใจ
                    
1. การแต่งกายให้เหมาะสม
                    
2. การใช้เสียง ความดังค่อย พอเหมาะ
                    
3. การใช้ภาษาสุภาพ เข้าใจง่าย
                    
4. การใช้อากัปกริยาท่าทาง
                    
5. การสบสายตา
                    
6. การใช้ปฏิภาณไหวพริบ

 

          วิธีการจัดทำ Safety Talk
                    
1. วัน และเวลาที่จัด เช่น ทุกวัน เวลา 8.00 น. หรือวันเว้นวัน หรือเวลาสะดวก
                    
2. สถานที่จัด หาที่เหมาะสม เช่น ห้องประชุม หรือลานกว้างๆ
                    
3. การเตรียมตัว จป. ให้พร้อม คิด เขียน อ่าน ฟังและปฏิบัติ        
                    
4. การตั้งคำถาม และการรับฟังความคิดเห็น ( สื่อสาร 2 ทาง )
                    
5. การเก็บข้อมูลการทำงาน ความเสี่ยงต่างๆ ( เป็นตัวอย่างในครั้งต่อไป )
                    
6. การเตรียมความพร้อมของคนงาน ( โดยนับ 1.....2....3.....ปลอดภัย )   
                    
7. เรื่องที่นำมาใช้ในการจัด Safety Talk
                              
7.1 อบรม ความปลอดภัย ฯ ในการทำงาน (พนักงานใหม่) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ,
                                     กฎหมายความปลอดภัยฯ , 
ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยฯ ,ทำแบบทดสอบ หรือ ดูวีดีโอ
                                     ความ
ปลอดภัยฯ    
                              
7.2 อบรม ทำไมต้องมี จป.?
                              
7.3 อบรมการสร้างจิตสำนึก ในเรื่องความปลอดภัยฯ ( ยกตัวอย่างเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น และให้คนงานช่วยคิด และตอบคำถาม)
                              
7.4 อบรมความปลอดภัยฯ ในการทำงาน (พื้นฐาน ) พูดเรื่อง เครื่องมือต่างๆ , นั่งร้าน , งานบันได, งานเชื่อม ,
                                     
งานไฟฟ้า ,การใช้เครื่องจักรต่างๆ ในโรงงาน ,สารเคมี หรืองานอุตสาหกรรมน้ำมัน
                              
7.5 อบรมระเบียบการทำงานในสถานที่ทำงาน เช่น ข่าวสาร ระเบียบต่างๆ ของก่อสร้าง หรือในโรงงานอุตสาหกรรม
                              
7.6 อบรมกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน ต่างๆ และกฎหมายก่อสร้าง
                              
7.7 อบรม โรคจากการทำงาน เช่น โรคจากฝุ่นก่อสร้าง ,โรคจากตะกั่ว ,โรคจากปรอท , โรคจากความร้อน ,
                                     บาดเจ็บจากการยกของ  ฯลฯ
                              
7.8 อบรม เรื่องการช่วยชีวิต และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ฯ
                              
7.9 อบรม เรื่องสุขศึกษากับการใช้ชีวิต
                              
7.10 เล่าเรื่องประสบการณ์ การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ที่อื่นๆ (หรือการเต้าข่าว)
                              
7.11 ทำกิจกรรม ความปลอดภัยฯ เช่น เล่นเกมส์ ต่างๆ ( เกมส์บิงโก Safety ) หรือร้องเพลง safety
                              
7.12 ออกกำลังกายตามจังหวะเพลงต่างๆ หรือตรวจสอบการแต่งกายของเพื่อนก่อนเข้าทำงาน
                              
7.13 อบรมเรื่อง ทบทวนการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงฯ
                              
7.14 เรื่องอื่นๆ จากฝ่ายต่างๆ  ที่เสนอมา ( ใช้เวทีนี้ให้ฝ่ายอื่นๆ พูดเรื่องงาน )
                    
8. ทุกหัวข้อที่จะพูดคุย เน้น
                              
8.1 พุ่งประเด็นไปที่เรื่องหลัก (อย่าใช้เวลาในการพูดนาน ประมาณ 15-20 นาที )
                              8.2 เป็นเรื่องใกล้ตัว
                              8.3 พูดทำให้เห็นภาพ
                    9. ปิดท้าย Safety talk ด้วยการพูดพร้อมกัน ให้คำมั่นสัญญา หรือการทำ KYT “ทำงานต้องปลอดภัย ไม่ปลอดภัยเราไม่ทำ"

 

 

 

Visitors: 414,925