มารู้จักสารสไตรีน
เผยแพร่เมื่อ: 05/07/2564....,
เขียนโดย รศ.สราวุธ สุธรรมาสา, นายกสมาคม ส.อ.ป.,
มารู้จักสารสไตรีน
สารนี้มีใช้กันมากในอุตสาหกรรมพลาสติก ยาง ใช้ทำแผ่นฉนวน ไฟเบอร์กลาส ท่อพลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ รองเท้า ถ้วยน้ำ และภาชนะบรรจุอาหารต่างๆ เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยง่าย และมีกลิ่นออกรสหวาน
ก. อันตรายของสารสไตรีน
หากหายใจในความเข้มข้นสูง จะทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยนไป รู้สึกเหนื่อย มึนเหมือนดื่มแอลกอฮอล์ การตอบสนองช้าลง และพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินเกิดขึ้นในสัตว์ทดลอง (ที่มา: NIOSH)
หากหายใจในความเข้มข้นสูง จะทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยน
การสัมผัสระยะเวลาสั้น ๆ ของมนุษย์ พบว่าจะมีผลต่อการระคายเคืองต่อตาและ mucous membrane และผลต่อระบบทางเดินอาหาร
แต่ในระยะยาว จะพบว่ามีผลกับระบบประสาทส่วนกลาง เช่นทำให้ปวดหัว ล้า อ่อนแอ และซึมเศร้า รวมไปถึงเรื่องการสูญเสียการได้ยิน (ที่มา: EPA)
IARC ระบุว่าสารนี้เป็นสารก่อมะเร็ง Group 2A, probably carcinogenic to humans. ขณะที่ EPA ยังไม่ฟันธงว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
ข. ค่ามาตรฐานระดับการสัมผัสทางหายใจ
ข.1 กฎหมายความปลอดภัยแรงงานของไทย และของ OSHA กำหนดเหมือนกัน (เพราะของเราไป copy ของเขามา) มี 3 แบบ ได้แก่
1) แบบเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชม. (TWA) = 100 ppm
2) แบบไม่ว่าเวลาใด (C) ห้ามเกินกว่า 200 ppm
3) และแบบฉุกเฉินจริง ๆ ในช่วง 3 ชั่วโมงใด ๆ ก็ตาม จะยอมให้ได้ไม่เกิน 600 ppm
ข.2 ค่ามาตรฐานสำหรับป้องกันไม่ให้ร่างกายบาดเจ็บหรือเสียชีวิต (Immediately Dangerous to Life or Health; IDLH) ค่านี้ NIOSH แนะนำสำหรับให้ลูกจ้างที่เผชิญหน้ากับความเข้มข้นเยอะ ๆ ในภาวะฉุกเฉิน ตัดสินใจ “เผ่น” ออกจากที่นั้น ๆ ได้เลย
แต่ในระยะยาว จะพบว่ามีผลกับระบบประสาทส่
IARC ระบุว่าสารนี้เป็นสารก่อมะเ
ข. ค่ามาตรฐานระดับการสัมผัสทา
ข.1 กฎหมายความปลอดภัยแรงงานของ
1) แบบเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำ
2) แบบไม่ว่าเวลาใด (C) ห้ามเกินกว่า 200 ppm
3) และแบบฉุกเฉินจริง ๆ ในช่วง 3 ชั่วโมงใด ๆ ก็ตาม จะยอมให้ได้ไม่เกิน 600 ppm
ข.2 ค่ามาตรฐานสำหรับป้องกันไม่
ข. 3 อีกค่าหนึ่ง ที่จป.อาจไม่ค่อยคุ้นกัน กำหนดโดย AIHA (American Industrial Hygiene Association) กำหนดค่า ERPG (Emergency Response Planning Guidelines) ซึ่งเป็นค่าความเข้มข้นสูงสุดที่เชื่อว่าคนที่สัมผัสในระดับนี้ 1 ชั่วโมง ในภาพรวมก็ยังปลอดภัย (แสดงว่ามีเวลา 1 ชม.ที่จะ “เผ่นหนี” ได้)
สำหรับสารตัวนี้ AIHA กำหนดไว้สองค่า ได้แก่
ERPG 1 = 50.50 ppm
ERPG 2 = 250 ppm
จะเห็นว่า หากจป.วิชาชีพ เตรียมการต่าง ๆ เพื่อการรับมือกับภาวะฉุกเฉิน (ที่อาจมาจากโรงงานเราเอง หรือมาจากโรงงานอื่น อย่างเช่นกรณีเพลิงไหม้ที่สมุทรปราการวันนี้) เราจะรับมือได้อย่างมืออาชีพ และเป็นที่พึ่งของลูกจ้างและประชาชนโดยรอบเราได้อีกด้วย
#OHSWA
#สอป
ERPG 2 = 250 ppm
จะเห็นว่า หากจป.วิชาชีพ เตรียมการต่าง ๆ เพื่อการรับมือกับภาวะฉุกเฉ
#OHSWA
#สอป