คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Tags: hse morning talk resources initiative, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
HSE Morning Talk by Safety TU
เขียนโดย คุณณัฐกิตติ์ ฉวีจันทร์
การปฏิบัติงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัย
1. ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตหรือผ่านการอบรมความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร
2. มีระเบียบปฏิบัติ ขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันมิให้ได้รับอันตรายจากเครื่องจักร และต้องปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและเคร่งครัด
3. ในบริเวณที่มีการติดตั้ง การซ่อมแซม หรือการตรวจสอบเครื่องจักรหรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร ต้องติดป้ายแสดง ใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ์ป้องกันมิให้เครื่องจักรทำงาน
ตำแหน่ง อาจารย์
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความปลอดภัยในพื้นที่สายการผลิต
1. กำหนดพื้นที่ควบคุม เช่น จัดทำรั้ว และจัดให้มีป้ายข้อความในบริเวณที่มีความเสี่ยงห้ามบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่นั้น
2. จัดให้มีสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยที่เหมาะสม เช่น สัญลักษณ์ทางหนีไฟ สัญลักษณ์อุปกรณ์ดับเพลิง การทาสีเส้นแบ่งเขตอันตรายและเขตสัญจร เป็นต้น
3. จัดให้มีการสำรวจ หรือตรวจสอบ เพื่อประเมินสภาพการทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น การตรวจสอบเส้นทางหนีไฟมิให้มีสิ่งกีดขวางใดๆ การตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์ไฟฟ้า การตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น
ตำแหน่ง อาจารย์
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในการออกแบบงานและสถานีงานตามหลักการยศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณาถึงขนาดสัดส่วนและโครงสร้างของร่างกายพนักงานมาใช้ประกอบในการออกแบบ หากสถานีงานมีการออกแบบไม่เหมาะสมกับคุณลักษณะต่างๆของผู้ปฏิบัติงาน จะมีผลให้ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดและส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ดังนั้นจึงต้องคำนึงผู้ปฏิบัติงานเป็นหลัก ผู้ออกแบบงานควรมั่นใจว่าเมื่อออกแบบสถานีงานนั้นแล้วจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานในท่าทางการทำงานที่เหมาะสม
การจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชี้อันตรายที่มีอยู่ในการดำเนินงาน โดยการประมาณระดับความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยง รวมถึงการเฝ้าระวัง ตรวจประเมินและทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา การจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ต้องมีกรอบ (Frame Work) คือ มีการชี้บ่งอันตราย ประเมินความเสี่ยง และการควบคุมความเสี่ยงด้วยวิธีการต่างๆ โดยต้องมีการทำงานในลักษณะวงจร (Cycle) ที่เคลื่อนหมุนอยู่เสมอ
1. ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ บทบาทโดยตรงในการกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้มี 4 ส่วน คือ ส่วนของรัฐบาล ผู้ควบคุมกฎ หน่วยงานกำหนดมาตรฐาน และนายจ้าง ส่วนอื่นจะเป็นบทบาทโดยอ้อม เช่น สื่อมวลชน ลูกจ้าง เป็นต้น สถานประกอบกิจการอาจจะกำหนดค่าความเสี่ยงขึ้นมาเองโดยมีหน่วยงาน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการ
ตำแหน่ง อาจารย์
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จาก HSE Morning Talk สัปดาห์ที่ผ่านมาได้กล่าวถึง การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ในสัปดาห์นี้จะกล่าวถึงแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยงโดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
1. แผนงานลดความเสี่ยง
เป็นแผนงานปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงลงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งต้องประกอบด้วยมาตรการหรือกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงโดยระบุขั้นตอนของการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ และการติดตามการดำเนินการ โดยประกอบด้วย
1. แผนงานลดความเสี่ยง
เป็นแผนงานปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงลงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งต้องประกอบด้วยมาตรการหรือกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงโดยระบุขั้นตอนของการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ และการติดตามการดำเนินการ โดยประกอบด้วย
1.1 มาตรการป้องกันและควบคุมสาเหตุของการเกิดอันตราย ได้แก่ การดำเนินงาน รวมทั้งมีการควบคุม และตรวจสอบการดำเนินงาน โดยจัดทำเป็นขั้นตอนการปฏิบัติดังต่อไปนี้
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
o จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า
o จัดให้มีการฝึกอบรมให้กับพนักงานซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
o จัดให้มีและเก็บรักษาแผนผังวงจรไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในสถานประกอบกิจการทั้งหมด
o จัดให้มีแผ่นป้ายที่มีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์เตือนอันตรายจากไฟฟ้าที่มองเห็นได้ชัดเจน ติดตั้งไว้โดยเปิดเผยในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า
o จัดให้พนักงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เป็นฉนวนไฟฟ้าที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้า หรือนำฉนวนไฟฟ้าที่สามารถป้องกันแรงดันไฟฟ้านั้นได้มาหุ้มสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัยหรือสภาพการณ์ต่างๆที่เป็นสาเหตุของอันตรายที่มีอยู่และแอบแฝงอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม
1. หลักของการประเมินความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยง เป็นขั้นตอนที่ต้องชี้บ่งอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของงานที่ครอบคลุมสถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ บุคลากรและขั้นตอนการทำงาน ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ความเสียหายต่อทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งต่างๆ เหล่านี้รวมกัน แหล่งอันตรายที่ชี้บ่งจะต้องนำมาประมาณระดับของความเสี่ยงโดยคำนึงถึงความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดของอันตราย เพื่อนำมาพิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงระดับใด เช่น ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ที่ต้องดำเนินการควบคุมความเสี่ยงทันทีก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานนั้น
การประเมินความเสี่ยง เป็นขั้นตอนที่ต้องชี้บ่งอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของงานที่ครอบคลุมสถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ บุคลากรและขั้นตอนการทำงาน ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ความเสียหายต่อทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งต่างๆ เหล่านี้รวมกัน แหล่งอันตรายที่ชี้บ่งจะต้องนำมาประมาณระดับของความเสี่ยงโดยคำนึงถึงความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดของอันตราย เพื่อนำมาพิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงระดับใด เช่น ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ที่ต้องดำเนินการควบคุมความเสี่ยงทันทีก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานนั้น
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563 ออกตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 8 วรรคหนึ่ง มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินการตรวจสุขภาพอาชีวเวชศาสตร์โดยตรง ซึ่งการตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์ (Occupational physical examination) หมายถึง การตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ต้องให้ความสำคัญในทั้งประเด็นที่เกี่ยวกับการทำงานและประเด็นสุขภาพทั่วไปของลูกจ้าง โดยสามารถอธิบายได้ตามแผนภาพวงจรสุขภาพของคนทำงานดังต่อไปนี้
ตำแหน่ง จป.วิชาชีพ
หน่วยงาน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
หน่วยงาน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ที่ระบาดไปในหลายพื้นที่ หลายคนตกอยู่ในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จำเป็นต้องกักตัว แต่เอ๊ะ แล้ว 14 วัน ที่นับๆกัน เค้านับกันยังไงนะ Info นี้คือคำตอบ
ตำแหน่ง จป.วิชาชีพ
หน่วยงาน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
หน่วยงาน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ถึงแม้การตรวจด้วย RT-PCR จะได้ผลที่ค่อนข้างแม่นยำ แต่ก็รอผลค่อนข้างนาน ซึ่งไม่ทันต่อสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ตอนนี้มีผู้ติดเชื้อหลักหมื่นต่อวัน
ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (แนวทางการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วย ATK , กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564) จึงได้กำหนดแนวทางการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วย Antigen Test Kit (ATK) สำหรับตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งจะช่วยให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่มีผลเป็นบวก (ผลบวก = ติดเชื้อ) เข้าสู่ระบบการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ลดความรุนแรงของการเจ็บป่วย และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้มากขึ้น
ในกรณีที่มีผลเป็นลบ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ติดเชื้อ ยังคงต้องกักตัวเฝ้าดูอาการต่อไป จนครบ 14 วัน
ตำแหน่ง จป.วิชาชีพ
หน่วยงาน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
การตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วย Antigen Test Kit (ATK) ด้วยตนเอง ถ้าทำอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยให้การตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นไปอย่างแม่นยำ ซึ่ง ATK ที่ อย. รับรองและขายตามท้องตลาดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิด Professional use ซึ่งเหมาะบุคลากรทางแพทย์เป็นผู้ทำการตรวจ และ ชนิด Home use ประเภทนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถทำการตรวจได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีทั้งชนิดที่ใช้น้ำลาย (Saliva) และชนิดใช้ไม้ swab ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ตำแหน่ง จป.วิชาชีพ
หน่วยงาน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ท่ามกลางสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ที่มีสถิติยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทำให้ นพ.อุดม คชินทร รองประธานที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 หรือ ศบค. ได้เสนอแนวคิด Universal Prevention for Covid-19 หรือ "การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล" เพื่อให้เราทุกคนอยู่ร่วมกับโควิด-19 ให้ได้ เพราะโรคโควิด-19 ยังคงอยู่กับประเทศไทยไปอีกระยะหนึ่ง
เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ที่แพร่กระจายง่ายที่สุด ณ ตอนนี้ คงหนีไม่พ้นสายพันธุ์เดลต้า เนื่องจากสามารถติดต่อได้ผ่านละอองฝอย (aerosol) หน้ากากที่ป้องกันโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด (95%) คือหน้ากาก N95 แต่จะต้องใส่ให้แนบสนิทกับใบหน้าเพื่อให้ประสิทธิภาพการป้องกันอนุภาคสูงสุด แต่ผู้สวมใส่จะหายใจลำบาก
การใส่หน้ากากอนามัยจึงเป็นอีกทางเลือกที่สามารถสวมใส่ประกอบกิจกรรมได้ตลอดทั้งวันโดยที่ไม่อึดอัด แต่การใส่หน้ากากอนามัยเพียงชั้นเดียวสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ประมาณ 80% แต่ป้องกันโควิดไม่ได้ 100%
ตำแหน่ง จป.วิชาชีพ
หน่วยงาน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
การตรวจเชื้อโควิด-19 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. วิธี Rapid Antigen Test วิธีนี้ตรวจง่าย รู้ผลไว ราคาไม่แพง
2. วิธี RT-PCR ได้ผลแม่นยำกว่า Rapid Antigen Test แต่ราคาแพงและใช้เวลาในการแปลผลนานกว่า ซึ่งอาจจะไม่ทันการสำหรับการคัดกรองกรณีเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (กลุ่มเสี่ยง)
ดังนั้น กรมควบคุมโรคจึงแนะนำให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (กลุ่มเสี่ยง) ใช้ชุดตรวจการติดเชื้อโควิด 19 (ATK) ด้วยตนเอง แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่า ชุดตรวจการติดเชื้อโควิด 19 (ATK) ด้วยตนเอง ที่เราซื้อมาใช้นั้นได้มาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้ง่ายๆ จากกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานอาหารและยา (อย.)
ถึงแม้จะสวมใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง (สวมหน้ากากสองชั้น โดยสวมหน้ากากผ้าทับหน้ากากอนามัย) แนบสนิทกับใบหน้า แต่เหตุใดยังมีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 มีที่มาจากหลากหลายสาเหตุ เช่น การเก็บหน้ากากอนามัยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค (เช่น กระเป๋ากางเกง กระเป๋าสะพายหรือวางบนโต๊ะระหว่างรับประทานอาหาร), การสวมหน้ากากอนามัยซ้ำหลายครั้ง ซึ่งจะทำให้เพิ่มโอกาสการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 ที่อาจปนเปื้อนมากับผิวสัมผัสของหน้ากาก, ใช้มือสัมผัสหน้ากากบ่อย ๆ แล้วมาสัมผัสส่วนต่างๆ ของร่างกาย, การนำมือที่เปื้อนสารคัดหลั่งสัมผัสบริเวณใบหน้า ดวงตา จมูก เป็นต้น
ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง หลายต่อหลายคนก็หวาดระแวงและพยายามเฝ้าระวังตนเองว่าติดเชื้อโควิด-19 แล้วหรือยัง ซึ่งในโลกออนไลน์มีมากมายหลายวิธี แต่ถ้าไม่ชัวร์ อย่าแชร์ เพราะนอกจากจะเชื่อถือไม่ได้แล้ว ยังอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้อีกด้วย
คำถามยอดฮิตที่รวบรวมจาก Youtube : Mahidol channel มีดังนี้ (ดังแสดงในแผนภาพ)
1. ตรวจโควิดด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ เชื่อได้ 100%
>> เชื่อไม่ได้ 100% เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน ผู้ป่วยโควิด-19 หลายคนอาจจะไม่ได้มีอาการไข้ขึ้นสูง มีเพียงจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส ดังนั้น การใช้เครื่องวัดอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว เชื่อไม่ได้ 100% แต่มีประโยชน์สำหรับคัดกรองในกลุ่มคนที่มีอาจจะมีไข้โดยไม่รู้ตัว
1. ตรวจโควิดด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ เชื่อได้ 100%
>> เชื่อไม่ได้ 100% เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน ผู้ป่วยโควิด-19 หลายคนอาจจะไม่ได้มีอาการไข้ขึ้นสูง มีเพียงจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส ดังนั้น การใช้เครื่องวัดอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว เชื่อไม่ได้ 100% แต่มีประโยชน์สำหรับคัดกรองในกลุ่มคนที่มีอาจจะมีไข้โดยไม่รู้ตัว
จากนโยบายการเปิดประเทศและเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 64 กทม. เป็น 1 ในจังหวัดในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (พื้นที่สีฟ้า) และได้อนุญาตให้ร้านอาหารขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และให้ดื่มกินในร้านได้ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยอนุญาตให้เฉพาะร้านอาหารที่ได้รับการรับรอง ตรวจประเมินความพร้อมมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย หรือ SHA เท่านั้น ซึ่งบทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับ SHA และ SHA plus ดังแผนภาพ
จากนโยบายการเปิดประเทศวันที่ 1 พ.ย. 64 กรมควบคุมโรคได้กำหนด 4 มาตรการหลัก V-U-C-A เพื่อให้การเปิดประเทศเป็นไปอย่างปลอดภัย สู้ภัยโควิด-19 รายละเอียด ดังแผนภาพ