กรณีศึกษางาน Hot work

เผยแพร่เมื่อ 26/7/2564
เขียนโดย คุณสุรชัย สังขะพงศ์
                ที่ปรึกษาความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
                บจก. เอ็นพีซี เซพตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส (NPC S&E)...,

เรื่อง กรณีศึกษางาน Hot work

          งานซ่อมบำรุงใหญ่ประจำปีในโรงงานที่มีกำลังผลิตหลายล้านตันต่อปี ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาในงานซ่อมบำรุง ในการทำงานมีการวางแผนงานซ่อม และในส่วนของผู้รับเหมาก็พยายามที่จะเร่งให้เสร็จตามที่กำหนดหรือเสร็จก่อนแผนงาน สำหรับเหตุการณ์ในครั้งนี้ เป็นบทเรียนที่ผู้รับเหมาทำงานของช่างเชื่อมและช่างประกอบ เข้าทำงาน Tiein เชื่อมต่อท่อ ขนาดของท่อที่มีความโตอยู่ที่ 8 นิ้ว ใน lineLow pressure Flare ในช่วงเวลา 11.30 น. โดยในช่วงเช้าได้เข้าไปทำงานที่จุด TP04 โดยมีการใส่ Balloon ใว้ในท่อ ตอนช่วงบ่ายต้องทำงานจุดที่ TP 13 เพิ่มอีก 1 จุด จึงแจ้งให้ทางทีม operation ตรวจวัดค่าเปอร์เซ็น LEL พบว่ามีค่า 4-6 เปอร์เซ็น LEL หลังจากนั้นทาง Operation ได้สั่งให้นำ Balloon ปิดกั้นท่อออกจากท่อ เพื่อที่จะใช้ก๊าซไนโตรเจน Purge Line ไล่ออกขณะที่มีทำงานเชี่อมอยู่ที่จุด TP04 มีการดำเนินงานเชื่อมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการไฟลุกติดลูกไฟขนาดใหญ่พุ่งออกมาจากปลายท่อ ณ จุดที่ทำการเชื่อม TP04 ทำให้ช่างเชื่อมและช่างประกอบถูกลูกไฟไหม้ตามลำตัว โดยช่างเชื่อมตกใจกระโดดลงจากนั่งร้านสูง 2 เมตร ทำให้กระดูกข้อมือซ้ายแตกร้าว มีแผลไฟไหม้ที่ใบหน้า แขน ลำตัว และอุปกรณ์ได้รับความเสียหาย

จุดเกิดเหตุ

 

 

 

แสดงจุดที่ลุกติดไฟ

ลักษณะการยัด Balloon

          กรณีศึกษา
                    มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานคือ สั่งการให้นำเอา Balloon ที่ใช้ปิดกั้นแหล่งเชื้อเพลิงออกขณะที่งานเชื่อมยังดำเนินการอยู่โดยไม่มีการพิจารณาความเสี่ยงของการจุดงานอื่นๆ และมีการใช้ N2purge Hydrocarbon ใน line ท่อผ่านจุดที่มีงานตัดเชื่อม
                              - 
ไม่มีระบบ Low pressure  steam ใช้งาน ในการ Flush line ท่อ เพื่อเตรียม Isolate อุปกรณ์ให้ผู้ปฏิบัติงานเนื่องจากระบบ Low pressure  steam หยุดการใช้งานเพื่อบำรุงรักษาในช่วง T/A ทำให้จำเป็นต้องใช้ N2 ในการ purge hydrocarbon ในระบบ  Low pressure  Flare แทนการ Steam out โดยไม่มีการศึกษาผลที่จะได้รับมาก่อน  ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ระบบ Contamination cleaning กับโรงงาน เพื่อแทนการทำระบบ Steam out เรียบร้อยแล้วซึ่งดีกว่ามาก

         Lesson learned
                    - ควรหลีกเลี่ยงการออกใบอนุญาตในงานที่อาจจะมีการ Obstruction หรือมีผลกระทบซึ่งกันและกันเว้นแต่กำหนดมาตรการป้องกัน
                       และควบคุมที่เหมาะสมแล้ว
                    - 
ก่อนเริ่มงานต้องทำการสำรวจและประเมินอันตรายจากพื้นที่อุปกรณ์เครื่องจักรและกิจกรรมงานที่อยู่ใกล้เคียงก่อนออกใบอนุญาต
                       ทำงานหรือหยุดงานใดงานหนึ่งไว้ก่อน

                    - ในโรงงานมีเชื้อเพลิงจำนวนมากการควบคุมงาน Hot Work เป็นการป้องกันการเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือการเกิดประกายไฟ จะต้อง

                       ประเมินพื้นที่การทำงานให้แน่ใจก่อนเสมอ และต้องขออนุญาตทำงานจากเจ้าของพื้นที่

                    - ต้องมีการตรวจวัดความเข้มข้นของก๊าซไวไฟ (% LEL; Lower Explosive Limit) ในพื้นที่การทำงานก่อนเริ่มงานได้ เมื่อตรวจวัด %
                       LEL = 0 เท่านั้น และต้องมีการตรวจวัดเป็นระยะตามเวลาที่กำหนด

          ดังนั้นขอให้ได้ประโยชน์ในการแชร์ในครั้งนี้ และเรียนรู้จากเหตุการณ์ในครั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีกกับโรงงานที่มีการซ่อมบำรุงในกิจกรรมงาน Hotwork ในโรงงาน เพื่อลดอุบัติเหตุกันต่อไป

Visitors: 415,119