Kaizen เทคนิคปรับปรุงและยกระดับงาน เพื่อการเพิ่มผลผลิต
เผยแพร่เมื่อ: 22/3/2564....,
เขียนโดย นายสวินทร์ พงษ์เก่า
กรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์
เรื่อง Kaizen เทคนิคปรับปรุงและยกระดับงาน เพื่อการเพิ่มผลผลิต
เป้าหมายสำคัญของการดำเนินธุรกิจคือความอยู่รอดภายใต้สภาวะการแข่งขัน ดังนั้น การส่งมอบผลิตภัณฑ์ (product) และ บริการ (service)ที่มีคุณภาพ และการเพิ่มผลผลิต (productivity) จึงเป็นหัวใจที่สำคัญ ยิ่งที่ทุกๆองค์กร ตั้งเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด
“คุณภาพไม่ได้เกิดขึ้นโดยเหตุบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้ก็โดยความพยายามอันชาญฉลาด” คำกล่าวของ John Ruskin(นักวิพากษ์ศิลป์ และนักคิดทางสังคมวิทยาชาวอังกฤษ : ค.ศ.1819 1900 ) แสดง ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ทุกๆสิ่ง ที่จะเกิดขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์ (product) และ บริการ (service) จะต้องผ่านกระบวนการบริหารจัดการที่แยบยลและสอดคล้องกับบริบท และสภาพแวดล้อมขององค์กร ที่มีทั้งปัจจัยภายนอกที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้โดยตรง เช่น ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับของรัฐที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น สำหรับปัจจัยภายใน ขององค์กร จึงเป็นสิ่งที่องค์กรบริหารจัดการได้ อันได้แก่ 4M 1E (ตามภาพ)
ผู้ปฎิบัติงาน คือ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะจะเป็น ผู้ที่ควบคุมการทำงานในแต่ละขั้นตอน การผลิต ตั้งแต่ ควบคุมปัจจัยนำเข้า ( input)ควบคุมการบวนการทำงาน ( process)และควบคุม ผลิตภัณฑ์และ บริการ (output)ในการคิดปรับปรุง และพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา ภายใต้แนวคิด ที่ว่า วันพรุ่งนี้ ต้องดีกว่าวันนี้ “ไม่มีสักวันเดียวที่จะผ่านไป โดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนหนึ่งส่วนใดในองค์กร” แนวคิดนี้คือ แนวคิดของ ไคเซ็น (Kaizen)
ไคเซ็น(KAIZEN)คืออะไร
ไคเซ็น(KAIZEN)มาจากคำว่า 改善 เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้น หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยวิกฤตการณ์น้ำมัน ปี คศ.1970 ทำให้ประเทศญี่ปุ่น เกิดต้นทุนทางวัสดุ พลังงาน แรงงานสูงขึ้นเกิดการแข่งขันทางธุรกิจผู้บริโภคมีความต้องการด้านคุณภาพมากขึ้นผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่มากขึ้นญี่ปุ่นเริ่มใช้ KAIZEN มาเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
หลักการพื้นฐาน10 ประการ ของ Kaizen
หลักการข้อที่ 1 ต้องโยนความคิดที่ติดยึดเดิมออกไป
หลักการข้อที่ 2 ต้องคิดว่าวิธีการใหม่จะทำได้อย่างไร
หลักการข้อที่ 3 ต้องอย่ายอมรับข้อแก้ตัว
หลักการข้อที่ 4 ต้องไม่ต้องรอความสมบูรณ์แบบ
หลักการข้อที่ 5 ต้องดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดทันทีที่พบ
หลักการข้อที่ 6 ต้องไม่ใช้เงิน/งบประมาณมากในการปรับปรุง
หลักการข้อที่ 7 ต้องมองว่า “ปัญหา” ให้โอกาศเราใช้สมอง
หลักการข้อที่ 8 ต้องถามทำไมอย่างน้อย 5 ครั้ง
หลักการข้อที่ 9 ต้องเชื่อว่าความคิดของคน 10 คนย่อมดีกว่าความคิดเดียว
หลักการข้อที่ 10 ต้องเชื่อว่าการปรับปรุงไม่มีวันจบ
วิธี การค้นหาปัญหา เพื่อนำมาทำ Kaizen
1. ปัญหาในแง่ บวก ?
เป็นปัญหาที่แก้แล้ว ยิ่งทำให้มากขึ้นยิ่งดี (The more better) เช่น
2. ปัญหาในแง่ ลบ ?
เป็นปัญหาที่แก้แล้ว ยิ่งทำให้ลดลงยิ่งดี (The Less better) เช่น
แนวทางของการปรับปรุง (Improve) ของ Kaizen
1. แนวคิด 80-20 (80 % ของความล่าช้า เกิดจากเพียง 20% ของงานทั้งหมด)
2. แนวคิด เรียงลำดับงานที่ต้องแก้ไขก่อนหลัง
3. แนวคิด ลดจำนวนขั้นตอนงาน ช่วยลดโอกาสความผิดพลาด
4. แนวคิดECRS (Eliminate-Combine-Rearrange -Simplify)
5. แนวคิด Activity base : Value added or Non Value added Activity ( ตรวจสอบ-ตรวจวัด,ขนย้าย-ขนส่ง,จัดเก็บ,รอ-ล่าช้า )
6. แนวคิด 4 ZERO (Defect , Delay , Inventory , Accident )
7. แนวคิด 5R (Man, Job, Tool, Time, Place)
การปรับปรุงเพื่อการเพิ่มผลผลิต เป็น สิ่งที่ต้องปลูกฝังให้พนักงานทุกคน มีจิตสำนึก ในการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะ ถ้า หยุดปรับปรุง เรา ก็คงหยุดนิ่ง เมื่อทุกคนหยุดนิ่ง องค์กรของเราก็จะหยุดนิ่ง การปลูกจิตสำนึก ให้คิดปรับปรุง คือ หัวใจ ของไคเซ็น