การป้องกันควบคุมอนุภาคนาโน (Controlling of nanoparticles exposure)(56)(4)

เผยแพร่เมื่อ: 09/02/2564....,
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ บัตรสูงเนิน 
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

เรื่อง การป้องกันควบคุมอนุภาคนาโน

(Controlling of nanoparticles exposure)(56)(4) 

          การป้องกันควบคุมอันตรายจากอนุภาคนาโน เป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุด ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองคนงาน ให้ปราศจากอันตรายจากการสัมผัสอนุภาคนาโนนั้นๆ เมื่อมีการป้องกันควบคุมที่ดี ก็จะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากอนุภาคนาโนลดลง วิธีการป้องกันควบคุมที่ดีที่สุดและคุ้มค่าต่อการลงทุนที่สุดควรพิจารณาตั้งแต่การออกแบบกระบวนการผลิต โดยมีหลักการในการป้องกันควบคุมอนุภาคนาโนพิจารณาตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ 

  1. การกำจัดสารที่เป็นพิษหรือเป็นอันตรายออกจากกระบวนการทำงาน (Elimination)
  2. การใช้สารที่มีความเป็นพิษหรือความเป็นอันตรายน้อยกว่าทดแทน (Substitution)
  3. การป้องกันควบคุมทางด้านวิศวกรรม (Engineering control) 

          การป้องกันควบคุมอนุภาคนาโนที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดต้องอาศัยหลักการทั้ง 3 หลักการข้างต้น เป็นอันดับแรก แต่อย่างไรก็ตามถ้าไม่สามารถดำเนินการได้ให้พิจารณา อีก 2 หลักการ ดังต่อไปนี้ 

  1. การป้องกันความคุมทางด้านการบริหารจัดการ (Administrative control)
  2. การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) ให้พิจารณาเป็นทางเลือกสุดท้ายถ้าไม่สามารถดำเนินการวิธีการอื่นได้  

          แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันควบคุมอนุภาคนาโน สามารถใช้การผสมผสานหลายๆ หลักการร่วมกันได้ เพื่อให้การป้องกันควบคุมมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด  ในซีรีส์จะพูดถึงการป้องกันควบคุมทางด้านวิศวกรรม (Engineering control) ก่อน ส่วนการป้องกันด้วยวิธีการอื่นจะพูดถึงในซีรีส์ถัดไป

 

          9.1 การป้องกันควบคุมอนุภาคนาโนทางด้านวิศวกรรม (Engineering control) (4)(54)(56) 

                    การปฏิบัติงานที่ต้องมีการสัมผัสอนุภาคนาโน วิธีการที่ปลอดภัยที่สุดต้องทำในระบบปิด (Enclosure หรือ Close system) เพื่อป้องกันอนุภาคนาโนปนเปื้อนสู่สภาพแวดล้อมภายนอก ตัวอย่างระบบปิดที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ Glove box containmentและระบบระบายอากาศที่มีการติดตั้งตัวกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง (high-efficiency particulate air (HEPA) filter)เป็นต้น 

                    แต่อย่างไรก็ตามถ้าไม่สามารถดำเนินการในระบบปิดได้ ควรมีการติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่ (Local exhaust ventilation) เช่น capture hood หรือ enclosing hood ที่มีการติดตั้งตัวกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง (HEPAfilter)ณ จุดกำเนิดอนุภาคนาโน และจุดก่อนที่จะปล่อยอากาศที่ปนเปื้อนออกสู่ภายนอก

รูปที่ 11: การปฏิบัติงานกับอนุภาคนาโนในระบบปิด (ห้องกระจกป้องกันอนุภาคนาโน)

บรรณาณุกรม

NIOSH. (2012). General Safe Practices for Working with Engineered Nanomaterials in Research Laboratories. U.S. Department of Health and Human Services, Centers for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health. http://www.cdc.gov/niosh/docs/2012-147/pdfs/2012-147.pdf

NIOSH. (2013). Current Strategies for Engineering Controls in Nanomaterial Production and Downstream Handling Processes. U.S. Department of Health and Human Services, Centers for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health. http://www.cdc.gov/niosh/docs/2014-102/pdfs/2014-102.pdf

OSHA. (2013). Working Safely with Nanomaterials. U.S. Department of Labour, Occupational Safety and Health Administration. https://www.osha.gov/Publications/OSHA_FS-3634.pdf

 

 

Visitors: 415,040