Walk through survey occupational health

เผยแพร่เมื่อ: 03/02/2564....,
เขียนโดย อาจารย์ดร.พว.วุชธิตา คงดี
ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

เรื่อง Walk through survey occupational health 

           พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมและในสถานประกอบการต่างๆ เป็นประชากรกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอนามัยเนื่องจากการทำงาน และเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากการทำงานมากที่สุดในทุกกลุ่มช่วงอายุของประชากรคนไทย เนื่องจากต้องทำงานภายใต้เครื่องจักร สารเคมี วัตถุอันตราย สิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนไปด้วยมลพิษ และต้องเผชิญกับสิ่งคุกคามต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

           เนื่องจากสุขศาสตร์อุตสาหกรรม(Industrial Hygiene)เป็นศาสตร์และศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแล การตรวจสอบ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการป้องกันอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน  เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน โดยครอบคลุม3 ขั้นตอน คือ การตระหนัก การประเมิน และการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงานและลักษณะการทำงานหรืออื่น ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน  ซึ่งบุคลากรด้านอาชีวอนามัยทุกคนมีหน้าที่ในการคุ้มครองและส่งเสริมสุขภาพของคนทำงาน ปกป้องสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ปลอดภัยและยั่งยืน 

Walk through surveyหมายถึงอะไร ?
           
การที่เจ้าหน้าที่ของโรงงาน (factory staff) หรือบุคคลจากภายนอก (visitor) เข้าไปเยี่ยมสำรวจภายในพื้นที่ของโรงงาน แต่ไม่ได้เข้าไปภายในพื้นที่การผลิต แค่เดินชม หรือนั่งคุยกันในพื้นที่ต้อนรับของโรงงาน เรียกว่าการเดินสำรวจโรงงาน หรือเรียกว่าการเยี่ยมโรงงาน (plant visit) การนำชมโรงงาน (plant tour) 

Walk through survey
           
คือการเดินสำรวจความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมของงานอาชีวอนามัย ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการค้นหาอันตรายที่มีอยู่ในการทำงาน ทำให้รับรู้อันตรายในการทำงาน ช่วยให้สามารถบ่งชี้อันตราย และประเมินความเสี่ยงได้ ทำให้สามารถตัดสินใจได้ว่าการแผนงานหรือมาตรการในการป้องกัน การควบคุมที่มีอยู่ปัจจุบันเพียงพอหรือไม่ หากไม่เพียงพอจะจัดวางแผนจัดการกับอันตรายที่มีอยู่อย่างไรดี 

Walk through survey occupational health
           
คือการเดินสำรวจความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานการเดินสำรวจเยี่ยมชม (walk tour)สถานประกอบการ จึงมักเรียกโดยรวมว่า "walk-through"เป็นการค้นหาข้อมูลเชิงระบบเพื่อตัดสินว่าในพื้นที่การทำงานมีสิ่งคุกคามสุขภาพผู้ปฏิบัติงานด้านใดบ้าง จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่สำรวจชี้บ่งเส้นทางการได้รับสัมผัส ประเมินความเสี่ยงได้ และวางแผนจัดการกับอันตรายที่มี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพพนักงานและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ปฏิบัติงาน

 

วัตถุประสงค์ 

  • เพื่อเดินสำรวจและประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสิ่งคุกคามในแผนกต่างๆ ของโรงงาน
  • เพื่อระบุอันตรายต่อสุขภาพในสถานที่ทำงานและประเมินว่ามีมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการควบคุมหรือไม่ นอกจากนั้นยังช่วยในการระบุอันตรายใหม่ ๆ ที่พบจากการWalk through survey ด้วย
  • เพื่อสำรวจหาสิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมี กายภาพ ชีวภาพ การยศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และอุบัติเหตุในสถานที่ทำงานและหาแนวทางในการป้องกัน แก้ไข
  • เพื่อสำรวจมาตรการควบคุมที่มีอยู่ในโรงงานว่ามีอะไรบ้าง มีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร เพียงพอหรือไม่ และต้องจัดทำเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อการจัดการระบบอาชีวอนามัย
  • เพื่อประเมินความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน เพื่อจะได้ข้อมูลว่ามีความจำเป็นต้องปรับปรุงระบบควบคุมที่มีอยู่หรือไม่
  • เดินสำรวจเพื่อตรวจสอบหรือสอบสวนเหตุการณ์ เมื่อเกิดกรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน หรือเกิดการร้องเรียนในเรื่องการดูแลสุขภาพของลูกจ้างไปที่กระทรวงแรงงาน
  • เพื่อวินิจฉัยโรคจากการทำงาน 

 

ความสำคัญ 

  • มีประโยชน์ในการได้รับข้อมูล และทราบข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง เห็นจริงจาก Walk through survey ทำให้สามารถประเมินความเสี่ยง และช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงได้เหมาะสม
  • เพื่อให้ข้อมูลแก่หน่วยงานหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานให้มีข้อมูลในการตัดสินใจ ควบคุมเกี่ยวกับการสัมผัสกับสารอันตรายในสถานที่ทำงานได้อย่างเหมาะสมตามมาตรฐาน
  • เป็นการสำรวจด้านอาชีวอนามัยและเป็นประโยชน์สำหรับการประเมินการสัมผัสของพนักงานต่อสารเคมีอันตรายทางกายภาพในสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานทำให้ทราบว่าอยู่ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ และช่วยให้สามารถคาดการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้และนำไปวางแผน ควบคุมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ภาพการรับรู้อันตรายในการทำงานrecognition of hazards in workplace

ใครมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการWalk through survey

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัย
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
  • พยาบาลอาชีวอนามัย
  • แพทย์อาชีวเวชศาสตร์(occupational physician)

การเดินสำรวจทางอาชีวอนามัยของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และพยาบาลอาชีวอนามัย

           แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ คือแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพของคนทำงาน การทำงานของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะทำการWalk through survey ในสถานประกอบการ, โรงงาน (factory) หรือองค์กรธุรกิจ (business organization) ต่างๆ และประเมินสิ่งคุกคามต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและมีหน้าที่สำคัญคือช่วยให้คนทำงานสามารถทำงาน หรือกลับเข้าทำงานหลังเกิดอุบัติเหตุหรือหลังเจ็บป่วย ซึ่งแพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะเป็นการรวมการทางการแพทย์ที่หลากหลาย มีทั้งเวชปฏิบัติทางคลินิกกับการปรับพฤติกรรมของคนทำงาน และองค์กร การป้องกันการเจ็บป่วย การควบคุมโรค การรักษา และการฟื้นฟูหลังการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บซึ่งเกิดจากงาน
           
ดังนั้นการ Walk through survey โดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ จึงจะมีความเชี่ยวชาญและเฉพาะเจาะจงในการเดินสำรวจและประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสิ่งคุกคามในแผนกต่างๆ ของโรงงานด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติมากกว่า การ Walk through survey ทั่วไป จุดประสงค์หลักเพื่อเก็บข้อมูลไว้สำหรับดูแลสุขภาพของคนทำงานและเพื่อวางแผนการตรวจสุขภาพให้กับคนทำงาน แต่ละหน่วยงานให้ตรงกับความเสี่ยงที่ทำงานแต่ละหน่วยได้รับ ซึ่งข้อมูลที่ได้มานั้นจะนำใช้ในการวางแผนการตรวจสุขภาพประจำปี ก่อนทำงาน ระหว่างทำงาน เพื่อช่วยให้การตรวจสุขภาพตรงตามความเสี่ยงของพนักงานแต่ละบุคคล แต่ละหน่วยงานมากขึ้น ตลอดจนเพื่อติดตามอาการเจ็บป่วยของผู้ปฏิบัติงานที่เกิดเนื่องจากการทำงาน

ขอบเขตการดำเนินการของแพทย์อาชีวอนามัยในการ Walk through survey
           
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะทำหน้าที่วินิจฉัยจัดการและป้องกัน รักษาโรคจากการทำงาน ซึ่งหมายถึง โรคซึ่งเกิดจากการทำงานหรืออาการของโรคที่เป็นอยู่กำเริบจากปัจจัยในที่ทำงาน โดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับมิติต่างๆ ของผลจากงานต่อสุขภาพ และผลต่อสุขภาพที่มีต่องาน

 

 

 

ตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูลการเดินสำรวจสถานประกอบการ (Walkthrough Survey Form)   >> คลิ๊ก <<

 

อ้างอิง

https://www.slideshare.net/laddha1962/workplace-walk-through-surveyhazard-evalutaion

Workplace Health and Safety Information, Occupational Hygiene. Part IV - Tools and

Approaches.ILO:Internationallabour office.

มูลนิธิสัมมาอาชีวะ.https://www.summacheeva.org/share/form_walkthrough

สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์. ตำราอาชีวเวชศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คเน็ท; 2547.

 

Visitors: 414,614