กรณีศึกษา: การพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ: 26/01/2564....,
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา บรรจงศิริ
รองประธานกรรมการประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เรื่อง กรณีศึกษา: การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย

          ในตอนนี้ จะได้พบกับกรณีศึกษาของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ที่นำแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเพื่อลดของเสียค่ะ

          ตัวอย่างการพึ่งพาอาศัยระหว่างโรงงานกับชุมชน
                    นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีการนําของเสียจากกระบวนการผลิตของโรงงานมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เพื่อลดของเสียที่จะต้องส่งไปกําจัด และดําเนินการภายใต้แนวคิด “สรรสร้างของเสียให้มีค่า นําสู่วิถีประชาอย่างยั่งยืน” โดยผลักดันให้โรงงานและชุมชนดําเนินการอย่างสร้างสรรค์ สอดคล้องกับหลักการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ด้วยการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไปพร้อมๆกับการสร้างรายได้ให้กับชุมชน คือ
                              1. โครงการความร่วมมือระหว่างกลุ่มพัฒนาสตรีตําบลบ้านกลางกับบริษัท ฟิสบา (ประเทศไทย) จํากัด ที่นําเศษผ้าเหลือใช้ ซึ่งเดิมบริษัทต้องนําไปฝังกลบ ปัจจุบันนําเศษผ้ามาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นอาชีพเสริม และสร้างรายได้ เช่น ผ้าพันคอ เปล พรมเช็ดเท้า กระเป๋า เป็นต้น

   

             เปลจากเศษผ้าเหลือใช้ 

 

  

พรมเช็ดเท้า จากเศษผ้าเหลือใช้

 

 

 กระเป๋าจากเศษผ้าเหลือใช้

                              2. โครงการความร่วมมือระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผสมผสานเกษตรครบวงจร ตําบลเหมืองง่า และบริษัท เวิลด์แนชเชอรัลฟู้ด จํากัด ในการนําเศษของดองเหลือใช้ที่บริษัทต้องนําไปฝังกลบ นํากลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ของดองเต้าเจี้ยว และน้ำจิ้มไก่ (สูตรขิง) ก่อให้เกิดการสร้างรายได้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนดังกล่าว ซึ่งเป็นชุมชนรอบนิคมภาคเหนือ

                              3. การนําเศษแป้งจากกระบวนการผลิตขนมอบกรอบจากข้าวเหนียวของบริษัท ไทยนิจิ อินดัสทรี จํากัด ไปใช้ประโยชน์โดยนําไปเป็นอาหารสัตว์ ส่งผลให้โรงงานสามารถลดค่าใช้จ่ายในการฝังกลบ และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมเอื้อประโยชน์ให้กับชุมชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

          กรณีศึกษาการปรับปรุงเครื่องบรรจุเมล็ดทานตะวันของโรงงานผลิตขนมขบเคี้ยว
               สภาพปัญหา
                    
เครื่องบรรจุเมล็ดทานตะวันซึ่งเป็นเครื่องจักรเก่าที่ผลิตในประเทศ มีความผิดพลาดในการบรรจุถุงที่ไม่ตรงกับขนาดถุงที่ถูกต้อง ทําให้ต้องสูญเสียต้นทุนถุงบรรจุประมาณ 1,000 ใบ คิดเป็นค่าเสียหาย 400 บาท ต่อวัน กระบวนการผลิตเริ่มต้นด้วยการตวงเมล็ดทานตะวันผ่านช่องขนาดเท่าๆกันที่หมุนไปเรื่อยๆ โดยกะปริมาณใกล้เคียงกัน จากนั้นมีสายพานลําเลียงผลิตภัณฑ์ขึ้นไปเพื่อใส่ลงในถุง และใช้น้ำหนักของผลิตภัณฑ์ในการดึงถุงให้ต่ำลง และใช้ความร้อนจาก heater ปิดปากถุง ทําการตัดและปล่อยลงสายพานเพื่อให้พนักงานบรรจุใส่หีบห่อ จากการสํารวจพบปัญหา คือ เครื่องจักรทํางานช้าและเสียบ่อย ใช้ระยะเวลาในการซ่อมบํารุงค่อนข้างนาน เสียเวลาในการผลิตและสาย heater ขาดบ่อย และไม่ทราบว่าขาดเพราะไม่มีสัญญาณแจ้งเตือน (alarm)

          แนวทางแก้ปัญหา
                    
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น โรงงานได้แก้ไขโดยออกแบบแผงควบคุมใหม่ทั้งหมด และรื้อชุดควบคุมเดิมออก และตกแต่งอุปกรณ์ด้วยสีและเดินสายใหม่ ใช้งบประมาณ 7,000 บาท คิดเป็น 2.5% ของมูลค่าเครื่องจักร (250,000 บาท)

          ผลที่ได้
                    
จากการปรับปรุงเครื่องจักรดังกล่าวสามารถคํานวณความคุ้มทุนได้ดังต่อไปนี้

                    ก่อนปรับปรุง
                             
ฟิล์มเสียจากการทำงานเป็นมูลค่า 110 บาท/วัน/เครื่อง
                              - 
กำลังการผลิต 40 ห่อ/นาที ใน 1 วัน ผลิตได้ 40 x 480 = 19,200 ห่อ
                              - 
กำไร = 1.50 บาท/ห่อ ใน 1 วัน 19,200 x 1.50 = 28,800 บาท

                    หลังปรับปรุง
                             
ลดฟิล์มเสียจากการทำงานเป็นมูลค่า 110 บาท/วัน/เครื่อง
                              - 
กำลังการผลิต 50 ห่อ/นาที ใน 1 วัน ผลิตได้ 50 x 480 = 24,000 ห่อ
                              - 
กำไร = 1.50 บาท/ห่อ ใน 1 วัน (24,000 x 1.50) + 110 = 36,110 บาท
                              - 
กำไรเพิ่ม 36,110- 28,800 = 7,391 บาท/วัน
                              - 
ระยะเวลาคืนทุน 7,000 / 36,110 = 0.19 วัน

 

          ตัวอย่างโรงงานที่นําแนวคิดประสิทธิภาพเชิงนิเวศเข้ามาใช้
                    
บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอร์ จํากัด ได้สร้างหน่วยบําบัดก๊าซโพรไพลีนที่ผ่านกระบวนการผลิต และต้องเผาทิ้ง (Purify System Unit) มาทําให้สะอาดก่อนขายต่อให้บริษัท พีทีทีเคม จํากัด เพื่อผลิต เป็นวัตถุดิบและกลับมาขายให้เอ็ชเอ็มซีอีกครั้ง รายได้ที่เกิดจากการขายก๊าซโพรไพลีนที่ผ่านการบําบัด แล้วช่วยลดต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบได้เกือบร้อยละ 50 นอกจากนี้เอ็ชเอ็มซียังได้ติดตั้งระบบบําบัดน้ำเสียเพื่อนําน้ำจากระบบหล่อเย็นกลับมาใช้ใหม่ (Reversed Osmosis Unit) ทําให้ลดปริมาณน้ำเสีย และค่าใช้จ่ายในการบําบัด ตัวอย่างการดําเนินงานนี้ได้ประโยชน์ถึง 3 ประการ คือ  

  • ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) ได้ช่วยลดการปล่อยมลพิษ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำเสีย เป็นต้น
  • ด้านเศรษฐกิจ (Economic) เกิดรายได้จากการขายของเสียและลดค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบ 
  • ด้านพลังงาน (Energy) ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต

                    ประโยชน์ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการได้เปลี่ยนมุมมองจากการใช้งบประมาณเพื่อการบําบัดของเสียเป็นการลงทุนหน่วยที่สามารถนําของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Recovery Unit) ซึ่งนอกจะช่วยลดของเสีย ลดต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบแล้ว ยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่อีกด้วย จึงพิสูจน์ให้เห็นตัวอย่างความสําเร็จที่เป็นรูปธรรมในการใช้หลักคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรม 

                    สำหรับในตอนหน้า จะได้พบกับตัวอยางการจัดการของเสียตามหลัก 3Rs ของกลุมโรงงานประเภทต่างๆ ต่อไปค่ะ

Visitors: 414,846