Project HSE LifeCycle “วงจรชีวิตอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโครงการ”
เผยแพร่เมื่อ: 15/12/2563
คุณสืบศักดิ์ ชนะชัยสุวรรณ
ผู้บริหารงานมืออาชีพด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
(QHSSE - Quality, Health, Safety, Security and Environment)
เรื่อง Project HSE Life Cycle
“วงจรชีวิตอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโครงการ”
จาก EP 7 ความปลอดภัยต้องเริ่มต้นจากการออกแบบ เพื่อความปลอดภัยของพนักงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ใช้บริการต่างๆตั้งแต่ต้นโครงการจนเสร็จสิ้นและต้องเริ่มนำปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความปลอดภัยมาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเพื่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโครงการผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ใน EP 8 เรามาคุยกันเรื่อง Project HSE Lifecycle วงจรชีวิตอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโครงการโดยปกติในอดีต โครงการก่อสร้าง โครงการต่างๆ ทั่วไปทั้งในประเทศไทย หรือต่างประเทศเกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ผู้พักอาศัยรอบๆโครงการ เกิดอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บ ตลอดทั้งเสียชีวิตจากการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เกิดจากความที่ผู้ปฏิบัติงาน ไม่ได้เตรียมตัวในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องากการปฏิบัติงาน ในบางครั้งอุปกรณ์ เครื่องจักรที่นำมาใช้งานไม่ได้คุณภาพ ผู้ปฏิบัติงานเองไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและอันตรายทั้งหมด ในงานมีความเสี่ยงที่สามารถเลี่ยงได้ตั้งแต่ก่อนการปฏิบัติงานด้วยซ้ำ เป็นเพราะในการปฏิบัติงานในโครงการที่ไม่ได้เกิดการวางแผนเพื่อลดความเสี่ยง ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและอาจสามารถเปลี่ยนเป็นความสูญเสีย ที่ไม่ใช่แค่มีผลก่อให้เกิดคุณภาพงานที่แย่เท่านั้น ระยะเวลาการปฏิบัติงานก็อาจจะยืดออกไป มีประเด็นปัญหาอื่น ๆ เช่นในส่วนของเงินทุนที่อาจต้องใช้ไปมากเกินไปเนื่องจากความสูญเสีย และในส่วนความปลอดภัยของพนักงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการและผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสีย เรื่องต่างๆเหล่านี้สามารถวางแผนในการป้องกันตั้งแต่ก่อนเริ่มงานโดยผ่านขบวนการที่อยากจะแนะนำให้พวกเรา นำไปลองประยุกต์ใช้ในโรงงาน สถานที่ปฏิบัติงาน โครงการก่อสร้าง โครงการให้บริการต่างๆ
Project HSE Lifecycle แยกเป็นเฟสต่างๆ 6 เฟส ดังนี้
1. Pre-Award/Planning
2. Engineering/Design/Procurement
3. Pre-Mobilization/Transition
4. Mobilizations/Start-up
5. Field Activities
6. Demibilization Closeout
ยกตัวอย่างเฟสแรกละกันนะครับ เฟสนี้เรียกว่า Pre-Award/Planning เป็นงานที่เราจะต้องดำเนินงานก่อนการรับมอบหมายในการจ้างงาน หรือได้รับสัมปทานงานจากผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า ในเฟสนี้มีงานทางด้าน อาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องดำเนินการ เช่น
1. HSE record/program submitted
2. Client program/site/local rules reviewed (Site Conditions, Risk Evaluation, and Training Requirements)
3. HSE requirements identified
4. HSE hazards identified & risk evaluated
5. Recommend go/no go
6. HSE bid deliverables prepared
7. Project HSE budget prepared
และงานที่เราคาดหวังที่จะได้ออกมาเพื่อนำเอามาเตรียม Project HSE Strategic Plan เช่น
1. Phase 1 data validated
2. Review Design for HSE
3. Hazard Management Process
- HAZOP
- HAZID
- HIRA
- SIMOPS
4. HSE Plan info gathered/written
- Contract/Client specifications & procedures reviewed
- Obtain medical coverage
- Training requirements defined
- HSE coverage established
- Special requirements identified
- Emergency Notification Procedures
- Identify Performance Standards
- Determine KPI’s (leading/lagging)
5. Engineers trained prior to site visit
6. Subcontract/PO HSE requirements prepared & monitored
7. Subcontractors pre-qualified
8. Site visits recorded
9. Constructability/operability
10. Budget monitored
เฟสแรกที่ยังไม่ได้เกิดการปฏิบัติงานในโครงการเลย เราสามารถเตรียมการหาข้อมูล ในส่วนที่เป็นเพียง Concept เท่านั้น หรือบางครั้งเราเรียกว่า งาน Pre-Initial-Design งานนี้เตรียมเพื่อนำเอาไปใช้ในการออกแบบงานโครงการ ออกแบบเพื่อความปลอดภัย (Safety-in-Design) ที่เล่าให้ฟังใน EP 7 มาแล้ว
ตัวอย่างเฟสใน Project HSE Lifecycle ที่ผมใช้งานในการปฏิบัติงานมาหลายปี หลายโปรเจคนั้นมี 6 เฟส บางโปรเจคอาจมีแค่ 4, 5 เฟส ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่า ลูกค้าเขาจะแบ่งอย่างไรส่วนที่ผมแนะนำคือ 6 เฟส ตามที่กล่าวไวเข้างต้นครับ มาคุยกันต่อในเฟสที่ 2 ของเราคือ Engineering/Design/Procurement ในเฟสที่ 2 นี้มีงานที่ต้องดำเนินการดังนี้
1. Phase 1 data validated
2. Review Design for HSE
3. Hazard Management Process
- HAZOP
- HAZID
- HIRA
- SIMOPS
4. HSE Plan info gathered/written
- Contract/Client specifications & procedures reviewed
- Obtain medical coverage
- Training requirements defined
- HSE coverage established
- Special requirements identified
- Emergency Notification Procedures
- Identify Performance Standards
- Determine KPI’s (leading/lagging)
5. Engineers trained prior to site visit
6. Subcontract/PO HSE requirements prepared & monitored
7. Subcontractors pre-qualified
8. Site visits recorded
9. Constructability/operability
10. Budget monitored
และงานที่ต้องได้ออกมาส่วนนี้สำคัญมากๆครับ เพื่อนำไปใช้ในโครงการเพื่องานป้องกันอันตรายต่างๆ
1. Project HSE Plan
2. HAZOP, HAZID, HIRA, SIMOPS Document
3. POs/Subcontracts
4. Constructability input form
5. Design deliverables with HSE incorporated in the design
6. Subcontractor procedural gap analysis
7. Subcontractor Selection Process (TSEP) Form
8. Field activity report / HSE Site Visit Report
ท่านใดสนใจรายละเอียดของ Project HSE Life Cycl สามารถติดต่อมาได้นะครับ คราวหน้าจะเอาเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังอีกครับ