การคัดกรองและการเฝ้าระวังทางการแพทย์สำหรับผู้สัมผัสอนุภาคนาโน
เผยแพร่เมื่อ: 09/11/2563....,
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ บัตรสูงเนิน
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เรื่อง การคัดกรองและการเฝ้าระวังทางการแพทย์สำหรับผู้สัมผัสอนุภาคนาโน
ปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ในการกำหนดหลักการ วิธีการคัดกรอง และเฝ้าระวังด้านสุขภาพที่ชัดเจน สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับสัมผัสอนุภาคนาโน แต่อย่างไรก็ตาม NOISH ได้แนะนำให้สถานประกอบการควรมีการจัดทำโปรแกรมเฝ้าระวังด้านสุขภาพของคนงาน โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
1. ให้มีการตรวจสุขภาพคนงานก่อนเข้าทำงาน เพื่อให้ทราบถึงสถานะทางสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน (Occupational health status)
2. ให้มีการตรวจสุขภาพของคนงานเป็นระยะ ๆ ตามปัจจัยเสี่ยง เช่น ทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ โดยการตรวจนี้จะต้องมีความเฉพาะเจาะจงกับอนุภาคนาโนที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับสัมผัส
3. มีการตรวจสุขภาพหลังเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ ที่ไม่ใช่งานประจำ (Non-routine) เช่น การรั่วไหลของอนุภาคนาโน การเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เป็นต้น
4. มีการให้ความรู้ผู้ปฏิบัติงานเพื่อเกิดความตระหนัก และสามารถการสังเกตอาการ อาการแสดง ที่เกิดจากการสัมผัสอนุภาคนาโนด้วยตนเองเบื้องต้นได้
5. มีการเขียน บันทึก จัดเก็บรายงาน รวมถึงจัดทำสถิติ เพื่อดูแนวโน้มสถานะทางสุขภาพของคนงาน เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวัง คัดกรองคนงานต่อไป หรือย้ายงานให้เหมาะสมกับคนงานต่อไป
6. เมื่อคนงานมีการย้ายงาน หรือย้ายสถานประกอบการ ต้องมีการตรวจสุขภาพของคนงานก่อนออกจากงาน เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการร้องเรียน ฟ้องร้อง ด้านสุขภาพต่าง ๆ ในอนาคต
Gulumian และคณะ (Gulumian et al., 2016) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลในลักษณะ บทความวรรณกรรมปริทัศน์ (Review Article) จาก 92 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจติดตามผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสอนุภาคนาโน ได้มีคำแนะนำในการตรวจติดตามดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ(Biomarker)ต่างๆ ของผู้ที่ได้รับสัมผัสอนุภาคนาโนดังนี้
- exhaled breath condensate (EBC) ได้แก่ malondialdehyde, H2O2, 4-HHE and n-hexanal
- Lung inflammation ได้แก่ Clara cell protein, serum heat shock protein 70, serum nuclear factor-kB transcription factor activation, nuclear factor-kB transcription factor activation and nitric oxide
- Oxidative damage ได้แก่ urine 8-hyroxydeoxyguanosine; methyl guanosine; plasma 8-hyroxydeoxyguanosine, isoprostane
- Nucleic acidsได้แก่8-OHdG, 8-OHG, 5-OHMeU และ proteins (o-Tyr, 3-ClTyr, 3-NOTyr)
- Cardiovascular biomarkersได้แก่ fibrinogen, intracellular adhesion molecule-1, interleukin-6
จากบทความวรรณกรรมปริทัศน์ พบว่า ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarker) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่มีการสัมผัสอนุภาคนาโน และกลุ่มที่ไม่ได้รับสัมผัสอนุภาคนาโนอีกทั้งยังแนะนำให้มีการตรวจติดตามทางคลินิก เช่น การทดสอบสมรรถภาพการทำงานของปอด (Pulmonary function tests) และ X-ray ปอด
บรรณาณุกรม
Gulumian, M., Verbeek, J., Andraos, C., Sanabria, N., & de Jager, P. (2016). Systematic Review of Screening and Surveillance Programs to Protect Workers from Nanomaterials. PLoS ONE, 11(11). https://doi.org/10.1371/journal.pone.0166071
NIOSH. (2009). Current Intelligence Bulletin 60: Interim Guidance for Medical Screening and Hazard Surveillance for Workers Potentially Exposed to Engineered Nanoparticles. U.S. Department of Health and Human Services, Centers for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health. http://www.cdc.gov/niosh/docs/2009-116/pdfs/2009-116.pdf
NIOSH. (2012). General Safe Practices for Working with Engineered Nanomaterials in Research Laboratories. U.S. Department of Health and Human Services, Centers for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health. http://www.cdc.gov/niosh/docs/2012-147/pdfs/2012-147.pdf
OSHA. (2013). Working Safely with Nanomaterials. U.S. Department of Labour, Occupational Safety and Health Administration. https://www.osha.gov/Publications/OSHA_FS-3634.pdf