ความสําคัญหน้าที่ (Function) ของอุปกรณ์ในระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

เผยแพร่เมื่อ: 27/10/2563 ....
เขียนโดย คุณคณาธิศ เกิดคล้าย
อดีตผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม

เรื่อง ความสําคัญหน้าที่ (Function) ของอุปกรณ์

ในระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

          ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พศ.๒๕๕๒ นิยามคําว่า “ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้” หมายถึงเครื่องตรวจจับควันหรือความร้อนหรือเปลวไฟที่ทํางานโดยอัตโนมัติ และอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบกด หรือดึงเพื่อให้สัญญานเตือนภัยโดยที่ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีส่วนประกอบหลักที่สําคัญคือ (๑) อุปกรณ์แจ้งเหตเพลิงไหม้ (๒) ตู้ควบคุมระบบ และ (๓) อุปกรณ์เตือนภัยโดยแต่ละส่วนประกอบเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งระบบจะทํางานตรวจจับเพลิงไหม้และส่งสัญญาณเตือนภัย เพื่อให้ผู้อยู่ในอาคารอพยพออกไปนอกอาคารหรืออพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัยซึ่งมีการกําหนดไว้ได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์

          อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟมี ๒ แบบ คือ
                    (๑) แบบจุด (Spot Type) ตามภาพ

                              โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
                                        (๑.๑) ประเภทลําแสง
                                        (๑.๒) ประเภทรวม (Combine Type) โดยแบบรวมนี้สามารถตรวจจับได้ทั้งควันไฟและความร้อน

                    (๒) แบบต่อเนื่อง (Linear Type) ตามภาพที่มี ๒ ประเภท คือ
                              (๒.๑) อุปกรณ์รับส่งอยู่ในชุดเดียวกัน

          (๒.๒) อุปกรณ์รับส่งแยกชุดกัน ใช้ในการติดตั้งกรณีหลังคาอาคารมีความสูงมากกว่า ๕ เมตร และมีระยะความยาวอาคารมากกว่า ๕ เมตรแต่ไม่เกิน ๑๐๐ เมตร ในกรณีที่ระยะเกิน ๑๐๐ เมตร ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์นี้เพิ่มเติม

อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟแบบรับส่งแยกชุดกัน

          อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนมี ๓ แบบ
                    (๑) แบบความร้อนคงที่ (Fixed Temperature Type) เป็นการตรวจจับที่อุณหภูมิคงที่ เช่นที่ ๕๗ องศาเซนเซียส เมื่อเกิดเพลิงไหม้และในพื้นที่มีความร้อนถึงอุณหภูมินั้น อุปกรณ์จะทํางานทันที
                    (๒) แบบความร้อนผันแปร(Rate of Rise Type) อุปกรณ์จะทํางานทันทีเมื่ออุณหภูมิภายในพื้นที่มีการเปลี่ยนอุณหภูมิ ๘ องศาเซนเซียส ภายในช่วงเวลา ๑ นาที
                    (๓) แบบรวม (Combine Type) โดยแบบนี้เป็นการรวมอุปกรณ์ตรวจจับแบบ (๑) และแบบ (๒) มาใช้ในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน ซึ่งสามารถตรวจจับความร้อนได้ทั้ง ๒ แบบ

          อุปกรณ์แจ้งเหตเพลิงไหม้ มีหน้าที่ในการส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้กลับมาที่ตู้ควบคุมโดยเมื่อมีผู้พบเห็นเหตุเพลิงไหม้อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ก็สามารถแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้ด้วยการใช้มือ ซึ่งมีทั้งแบบกด และแบบดึง

          อุปกรณ์เตือนภัยมี ๓ แบบ คือ
                    (๑) แบบเสียง ใช้ติดตั้งในพื้นที่ใช้งานทั่วไป
                    (๒) แบบแสง ใช้ติดตั้งในพื้นที่ที่มีเครื่องจักรหรือในพื้นที่มีเสียงดังมาก
                    (๓) แบบรวม เป็นอุปกรณ์เตือนภัยแบบเสียงและแสงรวมกัน

          ตู้ควบคุมระบบ มีหน้าที่ในการรับสัญญาณจากอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบอัตโนมัติและแบบใช้มือกด หรือดึง เมื่อตู้ควบคุมได้รับสัญญาณจะทําการประมวลผลแล้วส่งสัญญาณเตือนภัย กรณีอาคารมีหลายชั้นหลายห้อง ตู้ควบคุมจะโชว์ไฟแสดงที่ตําแหน่งชั้นหรือห้องที่เกิดเหตเพลิงไหม้ได้ตามที่ออกแบบไว้ ถ้าสภาพเหตุการณ์ปกติจะมีหลอดไฟสีเขียวขึ้นกระพริบๆ ถ้าผิดปกติจะเป็นสีส้มหรือสีแดงกะพริบให้ผู้ที่ควบคุมทราบจุดที่เกิดเหตุตามที่ได้ออกแบบไว้ฉะนั้นจึงควรติดตั้งตู้ควบคุมในที่ ๆมีคนอยู่ประจํา เช่นที่ยามหน้าอาคารเพื่อที่จะได้ทราบตําแหน่งจุดเกิดเหตุได้อย่างทันทีและรายงานผู้บังคับบัญชาทราบเพื่อการสั่งการได้อย่างรวดเร็ว

ตู้ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

          จากการให้คําปรึกษาโรงงานรายหนึ่งซึ่งลักษณะเป็นอาคารขนาดใหญ่ จํานวนหลายชั้นและมีชั้นดาดฟ้า พบว่าโรงงานให้ความสําคัญกับมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยมีการออกแบบและติดตั้งระบบสัญญานแจ้งเหตุเพลิงไหม้เครื่องสูบน้ําดับเพลิง และมีแหล่งน้ําสํารองใช้สําหรับดับเพลิงครบถ้วนตามกฎหมายแต่ปัญหาคือมีการติดตั้งตู้ควบคุมไว้บนชั้นดาดฟ้า จากการสังเกตพื้นที่และสัมภาษณ์ผู้นําตรวจพบว่าผู้ดูแลตู้ควบคุมนั้นเป็นหัวหน้ายาม และปกติหัวหน้าจะเดินตรวจการทํางานในพื้นที่ของลูกน้องบ่อย ๆสภาพโดยทั่วไปลักษณะห้องมีโต๊ะและเก้าอี้ทํางานสภาพว่างเปล่า ไม่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศจึงมีบรรยากาศที่ร้อนสันนิษฐานว่าน่าจะไม่มีคนอยู่ประจําที่ห้องนี้ซึ่งหากเกิดเหตุสัญญานจะถูกส่งไปที่ตู้ควบคุมและจะแจ้งพิกัดด้วยแสงกระพริบแสดงตําแหน่งชั้นและพื้นที่ห้องที่เกิดเหตุแต่พนักงานไม่อยู่เฝ้าตู้ควบคุมก็จะไม่ทราบตําแหน่งจุดเกิดเหตุและทําให้เสียเวลาในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินซึ่งเวลาแต่ละวินาทีที่เกิดเหตุมีความสําคัญยิ่งในการควบคุมเพลิงชั้นต้นให้ได้จึงน่าเสียดายที่การออกแบบระบบแจ้งเหตุไม่บรรลุวัตถุประสงค์การใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามที่ออกแบบไว้ครับ

ที่มา ; คู่มือการปฏิบัติงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พศ.๒๕๕๒

Visitors: 420,808