Pipeline Explosion Incident

เผยแพร่เมื่อ: 25/10/2563....,
เขียนโดย คุณวรากร เดชะ 
ผู้จัดการฝ่าย SHE management / GC

Pipeline Explosion Incident

 

อ้างอิง : A Practical Approach to Hazard Identificationfor Operations and Maintenance Workers, CCPS, Page 152

 

          เกิดเหตุระเบิดที่ท่อส่งก๊าซใต้ดิน อยู่ใกล้กับพื้นที่ก่อสร้าง (Construction site) โดยในเช้าวันหนึ่งพนักงานแจ้งว่าได้รับกลิ่นก๊าซและมีการสั่งอพยพออกจากพื้นที่นั้นทันที ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสม ต่อมาทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเข้ามาเริ่มสำรวจสภาพพื้นที่และสภาวะต่างๆ หน้างาน พบว่ามีแนวท่อตำแหน่งหนึ่งที่เกิดการรั่วไหลของก๊าซ เห็นได้อย่างชัดเจน

          เนื่องจาก ท่อก๊าซเส้นนี้ เป็นท่อหลักที่ส่งก๊าซในเครือข่ายสาธารณูปโภค (Major utility supply network) และยากที่จะดำเนินการตัดแยกระบบ ลดแรงดันก๊าซ หลังจากนั้น ภายในเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที หลังพบรายงานก๊าซรั่ว เกิดการระเบิดและลูกไฟใหญ่รุนแรง (Intense explosion and fireball) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 23 ราย (ส่วนใหญ่เป็นทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน) ผู้ได้รับบาดเจ็บว่า 100 ราย และทรัพย์สินเสียหายเป็นวงกว้าง

          เหตุการณ์นี้ ก๊าซที่รั่วไหลได้ขยายตัวออกมานั้น(Gas expanding and escaping) ทำให้ท่อมีอุณหภูมิเย็นจัดอย่างรวดเร็วท่อส่งก๊าซจึงแตกหักเปราะ (Brittle fracture)ซึ่งผลการสอบสวนระบุว่า ท่อเส้นนี้พบความชำรุดเสียหาย (Mechanical defect) จากอุปกรณ์งานก่อสร้างก่อนการระเบิด 1 สัปดาห์แล้ว แต่ไม่มีการรายงานอุบัติเหตุและสอบสวน แก้ไข ป้องกัน ให้มั่นใจความพร้อมใช้งาน จนนำสู่เหตุการณ์รุนแรงครั้งนี้

          และทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินจะต้องตระหนักถึงอันตรายจากไฟไหม้ระเบิดอยู่เสมอ เช่นเดียวกับทีมงานก่อสร้างที่ได้มีการอพยพ

อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Process_safety_management#/media/File:29_CFR_1910.119_14_Elements_of_Process_Safety_Management.png

 

          จากอุบัติการณ์ข้างต้น เมื่อพิจารณา 14 Elements of process safety management program (PSM) แล้ว มีข้อสังเกตถึงความไม่แข็งแรงของ Elementต่างๆ ดังนี้
                    1. 
Incident investigation: ประเด็นการรายงานสอบสวนและแก้ไข จากกรณี งานก่อสร้างทำให้ท่อเสียหาย
                    2. 
Process hazard analysis:ประเด็นการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตที่ต้องครอบคลุมถึงการชี้บ่งอุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้นซึ่งอาจจะทําให้เกิดความเสียหายร้ายแรงหรือผลกระทบที่สําคัญต่อผู้ปฏิบัติงานและองค์กร
                    3. 
Emergency planning and response: ประเด็นทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินต่อกรณี Major Pipeline fracture และการกำกับ (Command) หน้างาน และการฝึกซ้อมปฏิบัติ 

  

Reference 

https://www.ieat.go.th/assets/uploads/attachment/file/201809260902262140783075.pdf 

https://en.wikipedia.org/wiki/Process_safety_management#/media/File:29_CFR_1910.119_14_Elements_of_Process_Safety_Management.png 

A Practical Approach to Hazard Identification for Operations and Maintenance Workers, ISBN 978-0-470-63524-7, Center of Chemical Process Safety (CCPS), New York, A John Wiley & Sons, inc., Publication,Page 152

  

 

Visitors: 414,668