ถามตอบจากการอภิปราย “กฎหมายตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในฝัน”
เผยแพร่เมื่อ: 25/09/2563 ....
สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)...,
ถามตอบจากการอภิปราย “กฎหมายตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในฝัน”
ต่อไปนี้ เป็นข้อคิดเห็น และเป็นคำถามจากผู้ที่เข้าฟังการอภิปราย และเพิ่มเติมจากวิทยากร ทางสอป.จะรวมให้อยู่ในข้อเดียวกันเลยเพื่อความสะดวกในการอ่านแล้วทำความเข้าใจ
1. ว่าด้วยเรื่องแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ อ.หมอเนสินี ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน OccMed จากคณะแพทยศาสตร์ มข.เขียนว่า occupational medicine physician : เป็น physician ที่อยู่ รพ. แต่ถ้าแพทย์ที่ qualified Occ Med ทำงานให้ รง. ในส่วน basic occupational health (fit for work, return to work) บางที่เรียก Occupational Health doctor ต่อมาทางหมออดุลย์ วิทยากรได้เขียนเพิ่มเติมว่า >>> แพทย์ที่ตรวจสุขภาพได้ตามกฎหมาย มี 2 กลุ่มคือ (1) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงอาชีวเวชศาสตร์ (จบการอบรม 3 ปี รับรองโดยแพทยสภา) และ (2) แพทย์ที่ผ่านการอบรมความรู้เบื้องต้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ 2 เดือน หลักสูตรกรมการแพทย์ เราเรียกกลุ่มแรกว่าแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ กลุ่มที่สองเรียกแพทย์ผู้ผ่านการฝึกอบรม 2 เดือน (แพทย์ 10 วันไม่ใด้รับการรับรอง))
2. ว่าด้วยปัจจัยทางการยศาสตร์ คุณ Siwalee Rattanapunya เขียนว่าปัจจัยทางการยศาสตร์มักถูกละเลยในการตรวจร่างกายตามความเสี่ยง (ได้พบแพทย์ GE เสมอ) รวมถึงสิทธิในการรักษา เราจะผลักดันช่องทางใดได้บ้างคะ (ปัญหาไม่รุนแรงมากแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ปฏิบัติงานมากค่ะ ส่วนใหญ่ลูกจ้างก็จะดูแลตัวเองหรือไปรับบริการตามร้านนวดแผนไทย)
คุณรัตติกรณ์ วิทยากรจาก Shell ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า >>> แชร์ข้อมูลค่ะ ปัจจัยทางการยศาสตร์ ที่บริษัทใช้การประเมินด้วยแบบสอบถาม ถาม work load/intensity rest/break, ความเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยง และความสามารถในการจัดการความเสี่ยงของพนักงาน ไม่ได้ใช้การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงนะคะ อย่างที่เรียนไปก่อนหน้า การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงอาจจะไม่ตอบโจทย์ได้ทุกความเสี่ยงนะคะ Stress; comes and goes เรื่อง health promotion/EAP จะช่วยได้มากกว่า และเรื่อง Ergonomic - workstations assessment, hfe in design น่าจะตอบโจทย์กว่าค่ะ
ผม อ.สราวุธ ขอเพิ่มเติมว่า ปัจจัยทางการยศาสตร์มีตัวแปรมากมาย แม้แต่ US.OSHA จะพยายามออกกฎหมายว่าด้วยเรื่องนี้ ก็ต้องล้มไปในที่สุด (ไม่แน่ใจว่าเป็นสมัยคลินตันเป็นประธานาธิบดีรึเปล่า)
3. ว่าด้วยกฎหมายพรบ.โรคจากการประกอบอาชีพฯ คุณ Ganniga.num เขียนว่า - เรียนสอบถามอาจารย์อดุลย์ หน่อยนะคะ กฎหมายที่ออกโดยกรมควบคุมโรค ประกาศใช้หรือยังค่ะ เพราะอาจารย์แจ้งว่าสามารถส่งเอกสาร คล้ายๆ จผส.1 ไปที่กรมควบคุมโรค ด้วย แสดงว่าต่อไป ต้องแจ้งทั้ง 2 กรมหรือไม่อย่างไรค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
และนี้คือคำตอบครับจากหมออดุลย์ Adul Bandhukul >>> กฏหมายประกาศใช้แล้วครับแต่ยังไม่มีวิธีปฏิบัติ คงต้องรอประกาศเป็นแนวทางปฏิบัติออกมาก่อน มีข้อดีคือทางกรมควบคุมโรคจะนำไปวิเคราะห์ให้แทนกรมสวัสดิการฯ ซึ่งคนไม่พอ ต่อไปคงต้องรายงานไปสองที่ ถ้ายังไม่เปลี่ยนแปลงกฏหมาย แต่ทั้งสองฝ่ายกำลังพยายามประสานกันทำให้เราไม่ยุ่งยากนัก
4. ว่าด้วยราคาตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง ทางคุณ Pichada.Kam เขียนมาว่า -
ราคาตรวจปัจจัยเสี่ยงด้านสารเคมี ราคาตรวจแพงมากต่อราย กรณีมีพนักงานเข้า/ออก ตลอด สถานประกอบการตรวจที ก็มีค่าใช้จ่ายพอสมควร อยากให้มีการควบคุมในราคาตรวจด้วยคะ และความชัดเจนสัมผัสสารเคมีระดับไหนที่ตรวจ
ราคาตรวจปัจจัยเสี่ยงด้านสา
อ.สราวุธ ขอตอบดังนี้ >>> เรื่องราคาเป็นเรื่อง demand supply และมีบางกรณีที่รัฐยื่นมือเข้าไปกำหนดไม่ให้มีการค้ากำไรเกินควร เรื่องนี้เป็นเรื่องกฎหมายกำหนดว่าต้องทำการตรวจทุกปี ดังนั้นควรกำหนดเรื่องราคาที่เป็นธรรมครับ และเพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องตรวจตามปัจจัยเสี่ยง โดยไม่ดูความเสี่ยงเลยทำให้ไปกันใหญ่ในเรื่องค่าใช้จ่าย
คุณ Pichada.Kam ถามเรื่อง “ความชัดเจนสัมผัสสารเคมีระดับไหนที่ตรวจ” คำตอบคือชัดเจนครับว่า “จะสัมผัสระดับไหน ต้องตรวจหมดทุกคน” นี้คือความชัดเจนที่น่าเศร้าครับ ไม่มีอิงวิชาการ ไม่ศึกษา Impact จากการออกกฎหมายเลย
5. ว่าด้วยเรื่องวิธีการประเมิน และข้อกำหนดของกฎหมาย ทางคุณสุรสิทธิ์ กลีบประทุม เขียนถามมาถึงสอป.ว่าคิดเห็นอย่างไรในข้อต่อไปนี้ ก็ขอตอบในนามนายกสอป.นะครับ ไม่ใช่ในนามสอป.โดยตรง (ไม่งั้นต้องรออีกนานกว่าจะประชุมกก.สอป.)
1) เนื่องจาก ยังขาดรู้แบบการประเมินปัจจัยเสี่ยงอีกหลายๆอย่าง เช่น การประเมินความเสี่ยงกับจุลชีวันเป็นพิษ เสียง หรือการยศาสตร์ ทาง สอป. มีความเห็นอย่างไรกับการดำเนินการประเมินความเสี่ยงนี้ และควรใช้การประเมินอะไร กับปัจจัยต่างๆ ให้ครบตามกฏหมายตรวจสุขภาพ 2547 นี้
คำตอบ >>> 1. รูปแบบประเมินทางวิชาการมีอยู่แล้วครับ แต่บางปัจจัยเสี่ยงอาจยากที่จะกำหนดเป็นกฎหมาย
2. กรณีเสียง มีกฎหมายกำหนดรูปแบบการประเมินไว้แล้ว
คำตอบ >>> 1. รูปแบบประเมินทางวิชาการมีอ
2. กรณีเสียง มีกฎหมายกำหนดรูปแบบการประเ
2) ตามกฏหมาย ตรวจสุขภาพ 2547 หมวด 2 ข้อ 9 อยากถามทาง สอป. ว่า
2.1) ใครเป็นผู้พิจารณาว่า การเจ็บป่วยนั้นเป็นเนื่องจากการทำงาน --- เนื่องจาก หากไม่มีผู้ใดทำเเล้ว กฏหมายนี้จะมีประโยชน์จริงหรือไม่
2.1) ใครเป็นผู้พิจารณาว่า การเจ็บป่วยนั้นเป็นเนื่องจ
คำตอบ >>> คณะกรรมการแพทย์ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนเป็นคนวินิจฉัยครับ
2.2) การพิจารณาว่า การเจ็บป่วยนั้นเป็นเนื่องจากการทำงาน ใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณา -- เเล้วเกณฑ์นั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ เเละเกณฑ์เหล่านั้น ครอบคุมตามกฏหมายการตรวจสุขภาพ 2547 หรือไม่
2.2) การพิจารณาว่า การเจ็บป่วยนั้นเป็นเนื่องจ
คำตอบ >>> คณะกรรมการข้างต้น มีการกำหนดเกณฑ์พิจารณาแล้ว รวมทั้งมีแนวปฏิบัติในการวินิจฉัยอยู่ แต่เรื่องสมเหตุสมผลไหม ผมไม่เคยวิเคราะห์ครับ
3) ยังไม่อยากให้คุณสสิธร สรุปว่า ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี เเต่ เน้นว่า ระดับความเสี่ยงเท่าไร ต้องตรวจบ่อยเเค่ไหน
คำตอบ >>> อ.สสิธรก็มีความเป็นเช่นคุณครับ (แต่เสียดาย คนออกกฎหมายไม่ได้คิดอย่างนี้ เขาคงมีเหตุผลของเขาที่น่าจะประกาศให้ทราบกัน)
คำตอบ >>> อ.สสิธรก็มีความเป็นเช่นคุณ