การผุกร่อนภายใต้ฉนวน Corrosion Under Insulation (CUI)

เผยแพร่เมื่อ: 25/09/2563....,
เขียนโดย คุณคุณวรากร เดชะ 
ผู้จัดการฝ่าย SHE management / GC

 

การผุกร่อนภายใต้ฉนวน

Corrosion Under Insulation (CUI)

อ้างอิง : https://www.aiche.org/ccps/resources/process-safety-beacon/archives/2019/june/thai

 

           วันนี้ ผมนั่งอ่าน Process Safety Beacon ฉบับเดือนมิถุนายน 2562ตาม URL ที่ระบุการอ้างอิงเป็นLesson Learned กรณีเกิดท่อเหล็กขนาด 8 นิ้วที่หุ้มด้วยฉนวนแตกที่โรงงานแห่งหนึ่ง ท่อบรรจุแก๊สจากกระบวนการกลั่นซึ่งประกอบด้วยสาร  เอทิลีน ~ 40%ซึ่งเหตุการณ์นี้เริ่มจากพนักงานฝ่ายผลิตตรวจพบรอยรั่วขนาดเท่ารูเข็ม ท่อแตกระหว่างที่ทำการตัดแยกพลังงานและลดความดันในท่อลง โชคดีที่ท่อที่แตกพับตัว จึงจำกัดปริมาณสารที่รั่วไหล ไม่มีคนได้รับบาดเจ็บท่อนี้มีอายุการใช้งาน30 ปี ในระบบรีเจนเนอเรชัน ซึ่งมีอุณหภูมิสลับไปมาอยู่ 3 ช่วง

  • ช่วงใช้งานปกติอยู่ที่  -17 °C
  • ช่วงรีเจนเนอเรชัน อยู่ที่ 220 °C
  • ช่วงรอใช้งาน อยู่ที่อุณหภูมิห้อง

           การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในแต่ละช่วง ทำให้เกิดการควบแน่นของความชื้นจากบรรยากาศบนผิวด้านนอกของท่อ และเกิดการระเหยเป็นไอขึ้นอีกครั้ง นี่เป็นสภาวะที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการผุกร่อนภายใต้ฉนวนและอาจพลาดได้โดยง่าย หากทีมงานที่ดูแลด้านความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ไม่ตระหนักถึงอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงของการใช้งาน

           Beacon ระบุ ข้อมูลและข้อแนะนำที่ดีมากในหลายมุม ส่วนตัวแล้ว ผมชอบการให้การเรียนรู้ถึง
                      - 
สาเหตุ CUI เกิดจากของเหลวที่ขังอยู่ในฉนวนเป็นเวลานานได้หรือผิวภายนอกสัมผัสกับสารกัดกร่อน
                      - 
ช่วงอุณภูมิที่เกิด CUI ได้อยู่ระหว่าง -12 ถึง 177 องศาเซลเซียส หรือใช้งานสลับอุณหภูมิไปมา
                      - 
ปลอกหุ้มฉนวนที่เสียหาย น้ำเข้าได้ จะเกิด CUI ได้

           ดังนั้น เราสามารถนำมาประยุกต์กับงานบริหารความเสี่ยงความทำให้มีความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ (Mechanical Integrity: MI) โดยจัดทีมงานวิเคราะห์กระบวนการผลิตที่มีโอกาสเกิด CUI และจัดแผนงานเปิดฉนวนออกมาตรวจสอบสภาพผิวสัมผัสของท่อ ถัง หรืออุปกรณ์ที่หุ้มฉนวนไว้ เพื่อประเมินสภาพการกัดกร่อน และตรวจสอบความหนา เป็นการทำงานเชิงรุก ป้องกันความเสียหายหรือเกิดการรั่วไหลจนเป็นเหตุร้ายแรงได้
           
และในงานตรวจสอบความปลอดภัยประจำวัน หากพบการหยดของของเหลวจากฉนวน หรือพบปลอกหุ้มฉนวน/ ซีล ชำรุด ต้องตรวจสอบและแก้ไขในช่วงเวลาที่เหมาะสมเช่นกัน
           
สำหรับมาตรฐานวิศวกรรม API 581 Deterioration Modes มีครอบคลุม External Damage Mechanism4 ส่วน ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้

สวัสดีครับ

 

Reference

https://www.aiche.org/ccps/resources/process-safety-beacon/archives/2019/june/thai

Morey, A. “Corrosion Under Insulation Revisited: Aren’t We About to Finish that Project?” Process Safety Progress 37 (4), pp. 502-505, December 2018.

https://www.ieat.go.th/assets/uploads/attachment/file/201809260902262140783075.pdf

http://www.irantpm.ir/wp-content/uploads/2011/08/API-581-2008.pdf

 

 
Visitors: 414,666