IAQ for JorPor Series EP.3

เผยแพร่เมื่อ: 20/09/2563....,
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารุญ เกตุสาคร
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เรื่อง IAQ Control

 

          EP.2 เราพูดถึงแหล่งกำเนิดมลพิษ ประเภทของสิ่งคุกคามและวิธีการควบคุมทั่วไป หลักการระบายอากาศ คุณภาพอากาศภายในอาคารและระบบการระบายอากาศกันไปแล้ว สำหรับ EP.3 นี้ จะมาแนะนำวิธีการในการควบคุมมลพิษในอากาศหลังจากที่มีการระบุแหล่งกำเนิดของมลพิษในอากาศพารามิเตอร์ที่ใช้ศึกษาและประเมินคุณภาพอากาศในอาคารรวมถึงหลักการตรวจประเมินและการแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยใช้หลักการระบายอากาศกันครับ

          วิธีการในการควบคุมมลพิษในอากาศหลังจากที่มีการระบุแหล่งกำเนิดของมลพิษในอากาศ เช่น
                    
- ย้ายสิ่งที่จะทำให้เกิดมลพิษให้ไกลจากที่มีคนหนาแน่น
                    
- ทำแผงกั้นแหล่งกำเนิดมลพิษ
                    
- ใช้ความดันต่างสัมพัทธ์เพื่อแยกแหล่งกำเนิดมลพิษ
                    
- ลดเวลาที่คนต้องสัมผัสกับมลพิษ
                    
- ใช้ปล่องดูดควันพิษจากเครื่องจักรพร้อมบำบัดก่อนปล่อยสู่บรรยากาศ
                    
- เจือจางมลพิษและขจัดมลพิษจากอาคารโดยเพิ่มการระบายอากาศ
                    
- เพื่อระบบกรองอากาศและเครื่องดูดซับมลพิษ เช่น Activated Carbon Filter เพื่อบำบัดอากาศเข้าให้สะอาดและดูดมลพิษจากอาคาร

          ตัวอย่างพารามิเตอร์ที่ใช้ศึกษาและประเมินคุณภาพอากาศในอาคาร

          หลักการตรวจประเมินและการแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยใช้หลักการระบายอากาศ
                    
ถ้าภายในอาคารมีค่าพารามิเตอร์เกินค่ามาตรฐานหรือกฎหมายกำหนดอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคารก่อให้เกิดอาการต่างๆ หรือเกิดการเจ็บป่วยเนื่องมาจากเหตุอาคารได้ และถ้าต้องการลดหรือควบคุมมลพิษภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้เราสามารถเลือกใช้เทคนิคการระบายอากาศโดยนำอากาศจากภายนอกที่ผ่านระบบการทำความสะอาดแล้วเข้ามาเจือจางมลสารภายในอาคารโดยใช้หลัก Air Change Rate Per Hour : ACH ได้ ดังนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่เราต้องเข้าใจหลักการทำงานของระบบการระบายอากาศภายในอาคารเพื่อจะได้เลือกวิธีการประเมินคุณภาพอากาศได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับระบบการระบายอากาศของแต่ละประเภท

ภาพที่ 1 คุณภาพอากาศภายในอาคารกับเทคนิคการแก้ปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคาร

           หลักการตรวจประเมินและการแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยใช้หลักการระบายอากาศแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
                      1. 
ใช้หลักการการระบายอากาศทางธรรมชาติ (Natural Ventilation)
                          
เงื่อนไข ห้องหรือบริเวณมีผนังด้านนอกอย่างน้อยหนึ่งด้านโดยมีช่องเปิดสู่ภายนอกได้ ซึ่งจะต้องเปิดให้อากาศผ่านในขณะใช้สอยพื้นที่นั้น ๆ ต้องมีพื้นที่ลมผ่านสุทธิไม่น้อยกว่าร้อยละ  10  เมื่อเทียบกับพื้นที่
                      2. 
ใช้พัดลมระบายอากาศ (Mechanical Ventilation)
                          
การระบายอากาศแบบนี้เป็นการนำเอาพัดลมมาเป็นตัวกลางในการปรับส่งลม ในปริมาณที่จะสามารถเป็นไปได้ตามสภาวะที่ต้องการ ซึ่งปริมาณดังกล่าวนี้สามารถคำนวณหาได้ด้วยหลักการง่ายๆ อยู่ 3 วิธีคือ
                                 
2.1  Air Change Rate
                                        
หลักการของวิธีนี้คือ การหาปริมาตรอากาศบริสุทธิ์ที่จะเข้ามาแทนที่อากาศที่จะทำการระบายออก คิดเป็นจำนวนเท่าของปริมาตรห้องที่จะทำการระบาย
                                 
2.2  การคำนวณจากภาวะความร้อนโดยตรง
                                         
ให้ภาวะอากาศหรืออุณหภูมิและความชื้นอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
                                         - 
ให้มีการเคลื่อนไหวของอากาศภายในอาคารพอเพียงที่จะระบายความร้อนจากตัวคนเพื่อความรู้สึกสบาย
                                         - 
การระบายอากาศเพื่อควบคุมความร้อนอาจเรียกว่า การระบายอากาศเพื่อความสบาย (Comfort Ventilation) หรือ การปรับสภาพอากาศ (Air conditioning)
                                         - The American Society of Heating Refrigeration and Air Conditioning Engineers (ASHRAE): กระบวนการจัดการอากาศเพื่อควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาดและการกระจายอากาศให้เป็นไปตามที่ต้องการสำหรับพื้นที่นั้นๆ
                                 
2.3  การคำนวณจาก Indoor Air Quality Requires

           สำหรับ EP.3 ขอจบลงเพียงเท่านี้ก่อนครับ ถ้าต้องการทราบรายละเอียดวิธีการคิดหลักการระบายอากาศทั้ง 3 วิธี เพื่อมาเจือจางความเข้มข้นของมลสารภายในอาคาร หรือเพื่อความรู้สึกสบายของคนที่อาศัยอยู่ภายในอาคารอย่าลืมติดตามรายละเอียด รวมถึงตัวอย่างวิธีการจัดการคุณภาพอากาศกันใน EP.4 นะครับ

อ้างอิง
[1] ASHRAE 55-2010. (2010). Thermal environmental conditions for human occupancy. Available source: file:///C:/Users/MyFerin/Downloads/55_2004_a_b_final.pdf. Aug. 27, 2017.

[2] ASHRAE 62.1. (2009). Indoor air quality guide. Available source:http://cms.ashrae.biz/iaqguide/pdf/IAQGuide.pdf?bcsi_scan_C17DAEAF2505A29E=0&bcsi_scan_filename=IAQGuide.pdf. Aug. 27, 2017.

[3] Occupational Safety and Health Administration: OSHA. (2017). Table Z-1-Limits for Air Contaminants.Available source: https://www.osha.gov/pls/oshaweb/owadisp.show_document?p_table=STANDARDS&p_id=9992. Aug. 27, 2017.

[4] กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2560). ขีดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

[5] American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH). Guidelines for the Assessment of Bioaerosols in the Indoor Environment. ISBN-13: 978-0936712833 (1989).

[6] World Health Organization. Regional Office for Europe. (‎1990)‎. Indoor air quality: biological contaminants: report on a WHO meeting, Rautavaara, 29 August -2 September 1988. World Health Organization. Regional Office for Europe. https://apps.who.int/iris/handle/10665/260557

Visitors: 415,035