เทคนิคในการตรวจวัดอนุภาคนาโน (Analytical Techniques for Nanoparticles)
เผยแพร่เมื่อ: 09/09/2563....,
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ บัตรสูงเนิน
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Meet the Academic: Nano Safety for JorPor series
เทคนิคในการตรวจวัดอนุภาคนาโน
(Analytical Techniques for Nanoparticles)
เทคนิคในการตรวจวัดอนุภาคนาโนได้รับการพัฒนาอย่างแพร่หลาย ทำให้ในช่วง10 ปีที่ผ่านมา มีเครื่องมือในการวัดอนุภาคนาโนออกมาวางขายในท้องตลาดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ราคายังสูงมาก ดังนั้นการเลือกเครื่องมือในการตรวจวัดอนุภาคนาโนขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มี และวัตถุประสงค์ของการตรวจวัด เช่น
- การตรวจวัดหาขนาดของอนุภาคนาโน (Size)
- การตรวจวัดหาการกระจายขนาดของอนุภาคนาโน(Size distribution)
- การตรวจวัดหาความเข้มข้นของอนุภาคนาโน (Nanoparticle concentration)
- การตรวจวัดหาพื้นที่ผิวของอนุภาคนาโน (Nanoparticle surface area)
- การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของอนุภาคนาโน (Morphology)
- การศึกษาองค์ประกอบของธาตุ (Elemental composition)
อย่างไรก็ตามในการเลือกเทคนิคที่เหมาะสมในการวัดอนุภาคนาโนนั้น อาจใช้หลายเทคนิคร่วมกัน เพื่อทำให้ตัวอย่างที่ทำการศึกษามีความถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาอนุภาคนาโนแสดงในตารางที่ 2
รูปที่ 10: ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ศึกษาอนุภาคนาโน(GRIMM, 2015)(GRIMM, 2010)
ตารางที่ 2: เครื่องมือที่ใช้ศึกษาอนุภาคนาโน (Oberdörster et al., 2005)
อย่างไรก็ตามได้รีวิวงานวิจัย และรวบรวมเครื่องมือตรวจวัดอนุภาคนาโนโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ดังนี้ และได้ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Hygiene and Environmental Health(GusevaCanu et al., 2020)
Direct reading instrument for nanoparticle monitoring
Personal sampling
บรรณาณุกรม
GRIMM. (2010). Portable Aerosol Spectrometer. GRIMM Technology INC. http://www.dustmonitor.com/Research/1109.htm
GRIMM. (2015). Scanning Mobility Particle Sizer (SMPS). GRIMM Technology INC. http://wiki.grimm-aerosol.de/index.php?title=NANO-SMPS_C
GusevaCanu, I., Batsungnoen, K., Maynard, A., &Hopf, N. B. (2020). State of knowledge on the occupational exposure to carbon nanotube. International Journal of Hygiene and Environmental Health, 225, 113472. https://doi.org/10.1016/j.ijheh.2020.113472
Kanomax. (2013). Portable Aerosol Mobility Spectrometer (PAMS). Kanomax The Ultimate Measurements. http://www.kanomax-usa.com/research/pams/pams.html
MatterAerosol. (2001). DiS C mini. Testo Company. http://www.schaefer-tec.com/fileadmin/user_upload/sortiment/Partikelmessung/Matter/DiSCmini_brochure.pdf
Oberdörster, G., Maynard, A., Donaldson, K., Castranova, V., Fitzpatrick, J., Ausman, K., Carter, J., Karn, B., Kreyling, W., Lai, D., Olin, S., Monteiro-Riviere, N., Warheit, D., & Yang, H. (2005). Principles for characterizing the potential human health effects from exposure to nanomaterials: Elements of a screening strategy. Particle and Fibre Toxicology, 2, 8. https://doi.org/10.1186/1743-8977-2-8
Partector. (2014). The Partector Nanoparticle Detector. naneos particle solutions. http://www.naneos.ch/partector.html