เทคนิค SLAM:4 ขั้นตอนเพื่อความปลอดภัย

เผยแพร่เมื่อ: 18/05/2563....,
เขียนโดย รศ. ดร.สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช...,

 

เทคนิค SLAM:4 ขั้นตอนเพื่อความปลอดภัย

          สาระสังเขป
          เทคนิคสแลม (SLAM technique) เป็นเทคนิคเพื่อความปลอดภัยในการทำงานที่พัฒนาขึ้นโดย The Construction Industry’s Leadership and Worker Engagement Forum;HSE เป็นเทคนิคจำง่าย 4 ขั้นตอน (หยุดดู ประเมิน จัดการ) สำหรับให้ผู้ปฏิบัติงานใช้เตือนตนเองเสมอ เมื่อคาดว่าการทำงานของตนหรือเพื่อนร่วมงานมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย

          How To: การใช้เทคนิค SLAM มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
          
ขั้นที่ 1Stop: หยุดภารกิจและ ตอบคำถาม
                   
งานนี้เป็นงานใหม่หรือไม่?
                    - 
งานนี้มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
                    - 
ฉันทำงานนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อไร?
                    - 
เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ได้รับการบำรุงรักษาครั้งล่าสุดเมื่อไร?
                    - 
เครื่องมือเหมาะสมที่จะใช้หรือไม่?
                    - 
ฉันรู้สึกสบายใจที่จะทำงานนี้หรือไม่?
                   
ถ้าไม่!!!ฉันจำเป็นต้องได้รับฝึกอบรมก่อนหรือไม่?

          ขั้นที่ 2 Look: ตรวจดูเสมอทั้งก่อนทำงาน - ระหว่างการทำงาน - หลังงานเสร็จดังนี้
                   
ตรวจสอบพื้นที่ทำงานเพื่อหาอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเช่นบันไดไม่มั่นคง สภาพงานไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยการ์ดเครื่องจักรถูกถอดออก หรือเครื่องมือชำรุด ฯลฯ
                   
ระบุอันตรายในแต่ละขั้นตอนของงาน
                    - ร
ายงานสิ่งเหล่านี้ทันทีต่อหัวหน้างาน/จป.

          ขั้นที่ 3 Assess: หัวหน้างาน/จป.ร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน ประเมินจาก2 คำถามหลักๆ คือ

                    3.1 ความพร้อมในประเด็นดังนี้
                           - 
ความรู้
                           - 
ทักษะ/ความชำนาญ
                           - 
การฝึกอบรม
                           - 
เครื่องมือ อุปกรณ์ผ่อนแรง และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE)

                    3.2 ต้องมีมาตรการความปลอดภัยอื่นๆ เพิ่มเติมอีกไหม?
                           - 
การช่วยเหลือ (ควรสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานขอความช่วยเหลือสำหรับงานที่เกินกำลังหรือเสี่ยงอันตราย)
                           - 
ต้องมีการฝึกอบรมเพิ่มเติมหรือไม่ (ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรทำงานจนกว่าจะได้รับการฝึกฝนก่อน)

          ขั้นที่ 4 Manage: การจัดการเพื่อความปลอดภัย
                    
4.1 สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
                           - 
หากรู้สึกไม่ปลอดภัย ให้หยุดทำงานนั้นทันที แจ้งหัวหน้างานและเพื่อนร่วมทีม
                          - เสนอหัวหน้างาน/จป.ในสิ่งที่คิดว่าจำเป็นที่จะทำให้การทำงานนั้นๆ ปลอดภัย

                    4.2สำหรับหัวหน้างาน/จป.ควรดำเนินการดังนี้
                          - 
กำจัดหรือป้องกันอันตรายในการทำงานนั้นๆ
                          - 
ตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีการใช้เครื่องมือ/ อุปกรณ์ที่เหมาะสมและได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี
                          - 
นึกถึงงานที่เพิ่งทำเสร็จและตั้งคำถามว่า “มีอะไรที่ไม่ได้เป็นไปด้วยดี?”
                          - 
มีความผิดปกติหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นหรือไม่?
                          - จ
ะเตรียมตัวและวางแผนงานในอนาคตให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นได้อย่างไร?

 

          What next? สิ่งที่ควรดำเนินการต่อไป
                          
แชร์ข้อมูลนี้กับคนงานและการจัดการอื่น ๆ
                          
ใช้ข้อมูลนี้เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยการกำหนดหัวข้อ/ประเด็นในการจัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัย
                          
ใช้ในการบรรยายสรุปความปลอดภัย เช่น safety talk ฯลฯ
                          พิ
จารณาจัดพิมพ์เป็นโปสเตอร์ความปลอดภัยหรือสื่อต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ในที่ทำงาน ฯลฯ

 

     ที่มา: https://www.hse.gov.uk/construction/lwit/assets/downloads/slam.pdf

             https://www.openfarms.co.nz/host-an-event/event-hosting-guide/health-safety/

 

Visitors: 414,977