การบริหารตัวชี้วัดความสำเร็จในธุรกิจและงานความปลอดภัย

เผยแพร่เมื่อ: 29/08/2563....,
เขียนโดย คุณบัญชา ศรีธนาอุทัยกร
ผู้จัดการสมาคมฯ / สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ
, SHAWPAT

 

เรื่อง การบริหารตัวชี้วัดความสำเร็จในธุรกิจและงานความปลอดภัย

          หลายครั้งที่มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทั้งกรณีนักศึกษาฝึกงานตกบ่อบำบัดน้ำเสียเมื่อ 23 มิถุนายน 2560 ทำให้นักศึกษา ผู้ดูแลระบบฯ และพนักงานเสียชีวิตรวม 5 ศพ เมื่อเวลาผ่านไป หน่วยงานที่เกิดอุบัติเหตุ ภาคราชการ และสังคมเอง ดูเหมือนว่าก็เป็นเพียงความสูญเสียที่มีคำอธิบายให้ตนเองได้เสมอ การวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดูเหมือนเป็นสิ่งต้องห้ามและถูกต่อต้านเสมอ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปอย่างชัดเจนขององค์กรภาครัฐและภาคเอกชนในบริบทต่างๆ

          ถ้ามาพิจารณาในภาคธุรกิจเอกชน หลายท่านโดยเฉพาะผู้ทำงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยคงจะเชื่อมาโดยตลอดว่า “งานความปลอดภัยฯนี้ มีความสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ”  แต่หลายครั้งท่านกลับรู้สึกไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ท่านเชื่อนั้น  ที่จริงแล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่ ?  หลายครั้งความปลอดภัยดูจะสำคัญโดยเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ใหม่ๆ และความสูญเสียหรือเหตุการณ์ยังอยู่ในการรับรู้ใหม่ๆ แต่พอหลายครั้ง ความทรงจำนั้นก็จะเลือนรางลงไป บทเรียนก็จะถูกบันทึกไว้เฉพาะบุคคล ขึ้นอยู่กับผลกระทบที่เกิดนั้นรุนแรงขนาดไหนกับผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง จนไปถึงผู้บริหารระดับสูงสุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงของธรรมชาติ ซึ่งทุกท่านต้องรู้เท่าทันความคิดและพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง แล้วทุกท่านจะพบว่าความเข้าใจพฤติกรรมและวัฒนธรรมขององค์กร ร่วมกับการประยุกต์หลักวิชาการ และเครื่องมือต่างๆเข้าไปเพื่อจะเป็นกุญแจที่สำคัญสู่ความสำเร็จของท่านในการบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยนี้

          สิ่งสำคัญของการทำธุรกิจ - เครื่องมือ PDCA  มักจะเป็นเทคนิคที่สำคัญที่ถูกนำมาใช้เสมอเพราะ สามารถแก้ปัญหา หรือพัฒนาธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องโดยไม่หยุดยั้ง  ภายใต้แนวคิดดังกล่าวอีกหลากหลายเครื่องมือถูกคิดค้นและแสวงหาเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพราะอะไร ?

                    คำถาม: อะไรคือเป้าหมายการทำธุรกิจ? ทำไมจะต้องมีรูปแบบการพัฒนาใหม่ๆอยู่เสมอ ?

                    คำตอบ: เพราะทุกองค์กรต้องการการอยู่รอด  (มองในเชิงลบ)
                                  
เพราะ ทุกองค์กรต้องการความยอดเยี่ยมในการผลิต/บริการ  (มองในเชิงบวก)

                    คำถาม: อะไรที่เรียกว่า “ยอดเยี่ยม” ในการผลิต/บริการ?

                    คำตอบ: แท้จริงแล้วคือภาพที่ปรากฎที่แสดงถึงศักยภาพการแข่งขันที่เหนือกว่าภายใต้บรรยากาศและสถานการณ์ที่ซับซ้อนและพลวัตรของตลาดและสังคม

          จากคำถาม/ตอบข้างต้นจะเห็นว่าทุกองค์กรต้องพยายามทุกวิถีทางนี้จะพัฒนาศักยภาพ และดำรงอยู่ใน สถานะการแข่งขันที่เหนือกกว่าคู่แข่ง เนื่องเพราะการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก ทั้งความต้องการของ ลูกค้าที่ไม่สิ้นสุด คู่แข่งที่มากขึ้นภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น, การย้ายฐานการผลิตไปในที่ได้เปรียบกว่า ข้อจำกัดและเงื่อนไขต่างๆ ที่มีมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องทำให้ทุกองค์กรจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

          สิ่งที่จะเราควรจะกลับมาทำความเข้าใจกันใหม่ของรูปแบบวิธีคิด จากการคิดแบบเดิม ๆ ตามลักษณะงานมาเป็นการออกแบบ (ลอกแบบ) ความซับซ้อนและพลวัตร ซึ่งอาจจะเรียกวิธีนี้ว่าเกลือจิ้มเกลือ แต่แน่นอนที่ว่าไม่มีอะไรใหม่ไปกว่าเดิม แต่ผู้บริหารต้องเปิดใจกว้าง และเข้าใจลำดับความคิดใหม่ หรือเรียกได้ว่าเป็นเหล้าเก่าในขวดใหม่ เมื่อนำมาลำดับเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
                    
1) วิสัยทัศน์ ของการผลิตและบริการ
                    2) วิถี “การผลิต”
                    3) วิถี “คุณภาพ”
                    4) วิถีของ “คน”
                    5)  การรวมทุกส่วนเข้าหากัน เราจะต้องผนวก “ความปลอดภัยและการมีสุขภาพดี” ไว้ในทุกขั้นตอนการทำงาน            

          การบริหารแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การใส่พลังงานให้กับพนักงาน โดยให้งานที่ท้าทาย ข้อมูลที่เพียงพอ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จิตสำนึกของความเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมในองค์กร และไม่ใช่เพียงแค่ความสำเร็จเพียงครั้งคราวเท่านั้น แต่เป็นสภาวะแห่งความเหนือกว่าของการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง

          วิถีการทำงานในแต่ละวัน บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลต้องมีหลากหลายกันไป แต่อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดแล้ว ทุกๆคนก็ล้วนจะได้รับผลจากแนวคิดหรือนโยบายในการปฏิบัติในทุกๆเรื่อง (ตามแผนภาพ) ซึ่งในแต่ละบุคคลก็จะแตกต่างกันทั้งในด้านการตีความ/ความเข้าใจและ ความครบถ้วนของการนำลงสู่การปฏิบัติ ดังนั้นถ้าหากหน่วยย่อยขององค์กรตีความ/เข้าใจและปฏิบัติแตกต่างกันแล้ว แน่นอนว่าในองค์กรนั้นย่อยมีการดำเนินธุรกิจที่ไม่ได้เต็มประสิทธิภาพที่มีอยู่  จึงมีนักบริหารและนักคิด

          หลายท่านพยายามที่จะระบุถึงโดยใช้คำว่า “การบริหารโดยรวม” (Total Management) และมีเครื่องมือมากมายเกิดขึ้น สู่การวัดผลในที่สุด ทั้งในรูปแบบของรางวัล เช่น EFQM (EU), Malcom Baldringe (US), Deming (JP), ซึ่งล้วนพิจารณาจากผลสำเร็จของการดำเนินการที่ครอบคลุมในทุกหัวข้อ

 

 

Visitors: 419,957