Flammable Vapor Explosion from Hot work

เผยแพร่เมื่อ: 25/08/2563....,
เขียนโดย คุณคุณวรากร เดชะ 
ผู้จัดการฝ่าย SHE management / GC

Lesson learned 

“Flammable Vapor Explosion from Hot work”

          เมื่อวันที่ 9พฤศจิกายน 2553 หรือเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นที่โรงงานผลิต Polyvinyl fluoride (PVF) ขณะที่ผู้รับเหมาที่เป็นช่างเชื่อมและหัวหน้างานทำการเชื่อมซ่อม support ของเครื่องกวน (agitator) บนถังเก็บ PVF Slurry ลูกไฟจากงานเชื่อมร่วงหล่นลงภายในถังเก็บที่มีไอระเหยของ Vinyl Fluoride (VF) ซึ่งเป็นสารไวไฟ (LEL 2.6% UEL 21.7%, autoignition temperature 385 °C) อยู่ภายใน ทำให้เกิดการระเบิดส่งผลให้ช่างเชื่อมเสียชีวิตทันทีเนื่องจากแรงระเบิดหัวหน้างานได้รับบาดเจ็บ first-degree burns ที่ใบหน้าและมือ

          สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ

  • ไม่มีการตรวจวัดไอระเหยสารไวไฟภายในถัง ซึ่งเป็นถังที่มีงานเชื่อม เจียร์ (Hot work) อยู่ด้านบน
  • ไม่ได้ทำการตัดแยกหรือปิดกั้นท่อ overflow ที่มีการเชื่อมต่อกันระหว่างถังที่มีการใช้งานกับถังที่หยุดใช้งานและซ่อมบำรุงบนถัง

          ความเชื่อมโยงกับระบบการจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (PSM; Process safety management)

  1. การวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต (Process Hazard Analysis; PHA)
    จากการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต ประเมินว่าไม่มีโอกาสที่ไอของสาร VF ซึ่งเป็นสารไวไฟจะสะสมภายในถัง PVF slurry เพราะมีการออกแบบให้ VF ถูกแยกและระบายออกหมดด้วยความร้อนจากไอน้ำ (Steam) ก่อนเข้าถัง PVF slurry ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่ำหรือไม่มีความเสี่ยงของการสะสมไอระเหยสารไวไฟภายในถัง PVF slurry
    จากผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงนี้ ส่งผลต่อความปลอดภัยในการเตรียมถังและการตรวจวัดไอระเหยสารไวไฟตามระบบใบอนุญาตทำงานเกี่ยวกับความร้อนหรือก่อให้เกิดประกายไฟ(Hot Work Permit)
  1. ใบอนุญาตทำงานที่เกี่ยวกับความร้อนหรือก่อให้เกิดประกายไฟ (Hot Work Permit)
    ก่อนอนุญาตให้ทำงาน hot work ต้องดำเนินการตัดแยก (isolation) จุดเชื่อมต่อท่อของถังทุกจุด ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การใส่แผ่นปิดกั้น (Blind) หรือ Disconnection เพื่อให้มั่นใจว่าพื้นที่ปฏิบัติงาน hot work ปราศจากสารไวไฟตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
    งานเชื่อมด้านบนหรือด้านนอกของถังเก็บสารเคมี ต้องตระหนักเสมอว่าลูกไฟจากงานเชื่อมซึ่งมีความร้อนสูง (ประมาณ 650 °C) อาจจะกระเด็นหรือตกใส่ภายในถังเก็บได้ ดังนั้นจะต้องทำการตรวจวัดไอระเหยสารไวไฟภายในถังและพื้นที่ข้างเคียงบริเวณที่ลูกไฟจากงานเชื่อมอาจจะกระเด็นถึง (ระยะประมาณ 35 ft หรือ 11 m จากจุดปฏิบัติงาน) ควบคู่กับการใช้ผ้ากันไฟป้องกันลูกไฟจากงานเชื่อม

 

Reference

https://www.csb.gov/e-i-dupont-de-nemours-co-fatal-hotwork-explosion/

 

Visitors: 414,663