กฎหมายว่าด้วย respirator: จะเอาผิดนายจ้างได้หรือไม่

เผยแพร่เมื่อ: 25/07/2563....,
เขียนโดย รศ.สราวุธ สุธรรมาสา, นายกสมาคม ส.อ.ป.

 

กฎหมายว่าด้วย respirator: จะเอาผิดนายจ้างได้หรือไม่

          ตามข่าวพบว่า Ohio healthcare company จัดหน้ากากคุณภาพสูงคือ N 95 ให้ลูกจ้างใช้งาน แต่ทำไงไม่ทราบได้ ปรากฏว่ามีลูกจ้าง 7 คน ถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยเป็น COVID 19

          OSHA เข้าตรวจสอบ พบความผิด 2 สถานคือ
     1. ไม่ได้จัดทำ respirator program เป็นลายลักษณ์อักษร (failure to have a written respirator program) และ
     2. ไม่ได้ทำการประเมินสมรรถนะร่างกายลูกจ้างว่าพร้อมจะสวมใส่หน้ากากได้หรือไม่ (failure to provide a medical evaluation to determine employees’ ability to use a respirator in the workplace)


          นั่นแสดงว่าแม้ว่านายจ้างอเมริกัน แม้จะมีการจัดหน้ากากที่ดี (ในที่นี้คือ N 95) ให้กับลูกจ้างแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเพียงพอต่อการคุ้มครองความปลอดภัยสุขภาพลูกจ้าง แต่นายจ้างอเมริกัน ต้องมีการดำเนินงานที่ 360 องศาด้วย (นั่นคือมีโปรแกรมการดำเนินงานที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เลยว่าต้องทำอะไรบ้าง)

          มาดูกฎหมายไทยกันบ้าง พบว่า
     1. กฎกระทรวงว่าด้วยสารเคมีอันตราย กำหนดว่า
          - ข้อ 12 ให้นายจ้างจัด respirator ตามลักษณะอันตรายและ ความรุนแรงของสารเคมีอันตราย หรือลักษณะของงาน และให้ลูกจ้างใช้หรือสวมใส่ - ข้อ 13 ให้ลูกจ้างใช้หรือสวมใส่ respirator ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ใช้หรือไม่สวมใส่อุปกรณ์นั้น ให้นายจ้างสั่งลูกจ้าง หยุดการทํางานทันที จนกว่าลูกจ้างจะได้ใช้หรือสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว

          สังเกตว่า สาระของกฎหมาย กำหนดว่าให้นายจ้างจัดให้มี respirator ที่สามารถป้องกันอันตรายที่มีได้ และให้ลูกจ้างใส่ หากไม่ใส่ ก็ให้สั่งหยุดงาน (ไม่มีรายละเอียดอื่น ๆ กำหนดไว้อีกแล้ว)

     2. และพรบ.ความปลอดภัยฯ ปี 54 กำหนดในมาตรา 22 ว่า นายจ้างต้องจัดให้มี และดูแลให้มีการใช้ PPE (ในที่นี้คือ respirator) หากไม่ใช้ ก็ให้สั่งหยุดงาน กรณีไม่ดำเนินการ (เฉพาะในเรื่องการจัดและการดูแลให้ใช้) ก็ให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 62)
     3. ดังนั้นจึงสรุปได้ไหมว่า หากเหตุการณ์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา มาเกิดในประเทศไทย เราก็คงเอาผิดนายจ้างไม่ได้ หากมีการติดเชื้อโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ เพราะนายจ้างจะอ้างว่าได้จัดให้มทีัแล้ว และได้ดูแลแล้ว แต่ลูกจ้างไม่ใช้เอง (ครั้นจะเอาผิดว่างั้นนายจ้างทำไมไม่สั่งหยุดงานละ ก็ไม่ได้อีก เพราะในพรบ.ความปลอดภัยฯ ไม่ได้กำหนดให้เอาผิดกรณีนี้ได้)

ก็หมายถึงลูกจ้าง (ไทย) ไม่ดีเองรึเปล่า นายจ้างอุตส่าห์จัด N 95 ให้แล้ว

***** หรือไงครับ (แลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ) *****

Visitors: 425,618