Removal of Hazardous Material from Piping System

เผยแพร่เมื่อ: 25/07/2563....,
เขียนโดย คุณคุณวรากร เดชะ 
ผู้จัดการฝ่าย SHE management / GC

 

Lesson learned from  

“Removal of Hazardous Material from Piping System”

 

ที่มา https://www.csb.gov/removal-of-hazardous-material-from-piping-systems/

 

          เมื่อวันที่ 13 เมกราคม 2547 ที่โรงงานแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา จะมีงาน Modify ท่อเส้นหนึ่ง ซึ่งบรรจุสารผสม Peroxide/Alcohol ในรูปของเหลว โดยท่อดังกล่าวมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว ความยาวของท่อทั้งเส้นประมาณ 300 เมตร (900 ฟุต) วิ่งอยู่บน Pipe Rack สูงจากพื้น 6 เมตร ซึ่งงาน Modified ท่อดังกล่าวจะต้องมีการทำงาน Hotwork เช่น การตัดและเชื่อมท่อ ดังนั้นก่อนเริ่มทำงาน Operator จึงได้ทำการทำความสะอาดท่อ (Clear Line) เพื่อเอาสารผสม Peroxide/Alcohol ออกจากท่อก่อนให้ทำงาน Modification ได้ โดยดำเนินการตาม Procedure ในการ Clear Line ของโรงงาน ซึ่งเริ่มจากทำการ Purge ท่อด้วย N2 เพื่อดันสารผสม Peroxide/Alcohol ในรูปของเหลวออกจากท่อ จากนั้นใช้ไอน้ำอุณหภูมิประมาณ 193 องศาเซลเซียส Purge อีกครั้ง เพื่อไล่ไอระเหยของสารไวไฟที่อาจหลงเหลืออยู่ออก

           โดยเมื่อ Operator ได้ Purge ท่อด้วย N2 เสร็จ และทำการ Purge ท่อต่อด้วยไอน้ำ ได้ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที สารผสม Peroxide/Alcohol ซึ่งตกค้างอยู่ภายในท่อช่วงที่เป็น LowPoint section ความยาวประมาณ 100 เมตร (300 ฟุต) ได้เกิดการสลายตัว อันเนื่องมาจากความร้อนของไอน้ำที่ใช้ Purge มีอุณหภูมิสูงกว่า Decompositiontemperature ของสารผสม Peroxide/Alcohol จึงส่งผลให้เกิด HighPressure ขึ้นภายในท่อทำให้ประเก็นของวาล์วที่อยู่บนท่อเสียหายและท่อด้าน Upstream ของวาล์วเกิดการแตกออก ไอระเหยของสาร Peroxide/Alcohol ซึ่งมีความไวไฟ จึงรั่วไหลสู่ภายนอกและเกิดการลุกติดไฟแบบ Flash Fire สร้างความเสียหายให้แก่อุปกรณ์โดยรอบ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการถูกไฟไหม้ จำนวน 2 ราย

     สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ

  • การ Clear line โดยการใช้ N2Purge ท่อเพียงอย่าง  เดียว (โดยไม่เปิด Drain Valve ช่วย) ทำให้ไม่สามารถไล่ของเหลวที่ตกค้างอยู่บริเวณจุดที่เป็น Low point section ของท่อได้หมด
  • พิจารณาความเสี่ยงไม่ครอบคลุม อันเนื่องมาจากขาดการประเมินเอกสารและสภาพอุปกรณ์ที่หน้างานอย่างเหมาะสม ทำให้ไม่ได้พิจารณาความเสี่ยงสารตกค้าง จาก Low point section ของท่อเส้นดังกล่าว
  • ไม่มี Specific Procedure ที่จำเพาะเจาะจงสำหรับการ Purge ท่อที่บรรจุสารเคมีที่ไม่เสถียรและไวต่อการสลายตัวด้วยความร้อน

 

     ความเชื่อมโยงกับระบบการจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (PSM; Process safety management)

  1. ข้อมูลความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Information : PSI)
    การ Update as-built drawings และการชี้บ่งอันตรายของDecomposition temperature ของสารผสม Peroxide/Alcohol มีความสำคัญมาก ต้องมีพร้อมทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจและพิจารณาความเสี่ยงในการวิเคราะห์อันตรายได้อย่างเหมาะสม
  1. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Operating Procedures : OP)
    ตามประกาศข้อบังคับ คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559  ข้อ 29/15 กำหนด ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดทําวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยเป็นลายลักษณ์อักษรและการนํามาใช้ เพื่อควบคุมอันตรายการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้รับเหมา ในข้อบังคับนี้ ผมเห็นว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้ที่สำคัญที่สุด คือ การใช้ Generic safety procedure ไม่เพียงพอ ต้องมีการสำรวจ ตรวจสอบหน้างาน และประเมินความเสี่ยงให้เหมาะสมกับสภาพงานที่จะดำเนินการ และสร้าง Specific safety procedure ขึ้นมาใช้งานเสมอ

 

     Reference

     https://www.csb.gov/removal-of-hazardous-material-from-piping-systems/

     https://www.ieat.go.th/assets/uploads/attachment/file/201809260902262140783075.pdf

 

Visitors: 414,674