IAQ for JorPor Series EP.1
เผยแพร่เมื่อ: 20/07/2563....,
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารุญ เกตุสาคร
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Introduction to Indoor Air Quality: IAQ
ปัจจุบันอาคารจำนวนมากถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน บางอาคารมีอากาศหมุนเวียนภายในอย่างเดียวโดยไม่มีการเติมอากาศจากภายนอก หรือขาดการตรวจติดตาม การบำรุงรักษาในระบบปรับภาวะอากาศส่งผลให้ชีววัตถุ สารเคมี ฝุ่นละอองต่าง ๆ สามารถเข้ามาภายในอาคารตลอด จนมีแหล่งมลพิษอากาศภายในอาคารที่เกิดจากการกระทำของผู้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคาร ทำให้คุณภาพอากาศภายในอาคารลดลงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคารซึ่งคนส่วนใหญ่ใช้เวลามากกว่าร้อยละ 90 อยู่ภายในอาคาร[1]ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การเจ็บป่วยที่เกิดจากเหตุของอาคาร (Sick Building Syndrome: SBS) ตลอดจนส่งผลกระทบต่อความสบายของคนที่อาศัยอยู่ในอาคาร เป็นต้น
เราสามารถทราบได้ว่า คุณภาพอากาศลดลงโดยจากการตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศ และเปรียบเทียบกับค่ากฎหมายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ANSI/ASHRAE Standard 62.1-2019 [2] / ANSI/ASHRAE Standard 62.2-2019[3] และจากขอร้องเรียนของผู้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคาร ถึงคุณภาพอากาศภายในอาคารซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าคุณภาพอากาศภายในอาคารลดลงดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการและดูแลอาคารต้องมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการเฝ้าระวังและตรวจติดตามระบบการระบายอากาศภายในอาคารให้เป็นไปตามข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีของผู้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคาร
สำหรับ Episode 1 นี้เป็นการแนะนำถึงคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยภาพรวมและ Episode ต่อไปเราจะมาพูดถึงแหล่งกำเนิดมลพิษ ประเภทของสิ่งคุกคามและวิธีการควบคุมทั่วไป หลักการระบายอากาศ คุณภาพอากาศภายในอาคารและระบบการระบายอากาศ กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง วิธีการตรวจประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร และเทคนิค/แนวทางการแก้ปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารกันนะครับ
อ้างอิง
[1] U.S. Environmental Protection Agency. 1989. Report to Congress on indoor air quality: Volume 2. EPA/400/1-89/001C. Washington, DC.
[2] ANSI/ASHRAE Standard 62.1-2019 Ventilation for Acceptable Indoor Air Quality.
[3] ANSI/ASHRAE Standard 62.2-2019Ventilation and Acceptable Indoor Air Quality in Residential Buildings.