แนะนำผู้เขียน Meet the Academic : การพัฒนาอย่างยั่งยืน สิ่งที่ จป.ควรรู้

เผยแพร่เมื่อ: 23/07/2563 ....
สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)...,

 

Meet the Academic : การพัฒนาอย่างยั่งยืน สิ่งที่ จป.ควรรู้

การพัฒนาประเทศเป็นเรื่องท้าทายฝีมือผู้บริหารประเทศ (ระดับมหภาค) และผู้บริหารสถานประกอบกิจการ (ระดับจุลภาค) มากทีเดียว ถ้าทำได้ดี ภาวะเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตประชาชนและคุณภาพสิ่งแวดล้อมก็จะไปได้สวย แต่หากมือไม่ถึง จะกลายเป็นว่ายิ่งพัฒนามากขึ้น กลับทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่นกัน เช่น ปัญหาขยะท่วมทะเล ปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาน้ำแข็งขั่วโลกละลายจากภาวะโลกร้อน และอีกสารพัดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นตามที่ปรากฏในข่าวจากทั่วโลก

เรื่อง SDGs หรือการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นเรื่องที่เป็นแนวคิดสากลเพื่อประเมินผลสุทธิของการพัฒนา คือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ที่เสนอโดยสหประชาชาติ ซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก และรัฐบาลไทยได้ให้สัตยาบันที่จะนำเรื่องนี้มาดำเนินการ

โรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ จึงต้องนำเรื่องนี้มาดำเนินการด้วย และเข้าใจว่าจป.วิชาชีพหลายคนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ “ลงเล่น” เรื่องนี้ด้วย

ซีรีส์ใหม่ของ OHSWA Meet the Academic คือ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน สิ่งที่จป.ควรรู้” จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้ได้ติดตามข่าวสารของพวกเราชาวจป.และนักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

มารู้จักผู้เขียนประจำซีรีส์กันหน่อยครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา บรรจงศิริ รองประธานกรรมการประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (รองคณบดี) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ให้เกียรติกับสอป.ที่จะเป็นผู้เขียนประจำซีรีส์นี้ในวันที่ 26 ของทุก ๆ เดือน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา บรรจงศิริ จบการศึกษาด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมทั้งปริญญาตรีและโท จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาเอก Ph.D. Environmental Engineering จาก Griffith University, Australia ซึ่งในการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกนี้เอง อาจารย์กุลธิดาได้มาเล่นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ (Eco Industry) หรืออุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) และทำการวิจัยตลอดจนนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมนานาชาติ รวมถึงการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ อย่างเช่นหัวข้อ The Integration of Occupational Safety and Health Into the Development of Eco-Industrial Parks และหัวข้อ Barriers and Challenges to Apply Health and Safety Criteria Regards to Eco-Industrial Regulation เป็นต้น

จะเห็นว่างานวิจัยของอาจารย์จะเกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่จะเชื่อมโยงไปถึงเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ (Eco Industry) หรืออุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ด้วย จึงน่าจะเป็นประโยชน์กับพวกเราชาวจป.และนักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และนักสิ่งแวดล้อม

เริ่มครั้งแรกในเว็บไซต์สอป.วันที่ 26 กค.นี้

#OHSWA_Meet_the_Academic

Visitors: 414,815