แนะนำผู้เขียน Meet the Academic : Nano Safety for JorPor series
เผยแพร่เมื่อ: 06/06/2563 ....
สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)...,
Meet the Academic : Nano Safety for JorPor series
ความปลอดภัยนาโนสำหรับ จป.
ความปลอดภัยนาโนเป็นหัวข้อใหม่ที่ท้าทายอย่างยิ่ง ต่อนักวิชาการ นักวิจัย รวมถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ในการปกป้องคุ้มครองผู้ปฏิบัติงานให้ปราศจาคโรคหรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเราจะมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่เก่งกาจสักเท่าไหร่ก็ตาม การดำเนินการด้านความปลอดภัยก็ไม่สามารถดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเพียงคนเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือกันทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานราชการ นายจ้าง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย รวมถึงผู้ปฏิบัติงานทุกคนร่วมตระหนักในการป้องกันอันตรายร่วมกัน
ถึงแม้ว่าอนุภาคนาโนจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามอนุภาคนาโนนั้นก็มีความเสี่ยงสูงต่อผู้ที่ได้รับสัมผัส ในขณะที่การศึกษาเกี่ยวกับความเป็นพิษและความเป็นอันตรายของอนุภาคนาโนต่อสุขภาพยังมีจำกัดและไม่เพียงพอ ดังนั้นผู้ที่มีโอกาสสัมผัสอนุภาคนาโน ควรตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งหามาตรการในการป้องกันควบคุมอันตรายจากอนุภาคนาโน ก่อนส่งผลเสียต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน
ประวัติผู้เขียน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ บัตรสูงเนิน ปัจจุบันปฏิบัติงานที่สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประวัติการศึกษาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย จากมหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ในสาขา Ph.D. in life science (Nano Safety) ณ Department of Occupational and Environmental Health, Center for Primary Care and Public Health (Unisanté), Faculty of Biology and Medicine, University of Lausanne ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอเอกสารอนุมัติเพื่อสำเร็จการศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ บัตรสูงเนิน มีประสบการณ์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหลากหลาย ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ ได้รับเชิญให้นำเสนอผลงานวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและสุขศาสตร์อุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ มีผลงานตีพิมพ์ด้านอาชีวอนามัยในวารสารต่างประเทศกว่า 20 เรื่อง ในระหว่างที่ศึกษาระดับปริญญาเอก ณ. มหาวิทยาลัยโลซาน ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยด้าน Nano Safety รวม 5 เรื่อง ในวารสารที่มีคุณภาพสูง โดยมีดัชนีผลกระทบ (Impact factor) รวม 5 เรื่อง เท่ากับ 20 โดยผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ล่าสุด คือ From Nano to Micrometer Size Particles – a Characterization of Airborne Cement Particles during Construction Activities ในวารสาร Journal of Hazardous Materials โดยวารสารนี้มีดัชนีผลกระทบ (Impact factor) เท่ากับ 7.65 ซึ่งนับว่าเป็นเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับนักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของไทย ที่สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงระดับนี้
จากประสบการณ์และผลงานวิจัยที่ได้ศึกษาทั้งในไทยและต่างประเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ บัตรสูงเนิน มั่นใจว่า Meet the Academic: ในหัวข้อ “Nano Safety for JorPor ความปลอดภัยนาโนสำหรับ จป.” จะได้รับความสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ รวมทั้งสามารถต่อยอดงานวิจัยระดับสูงได้ในอนาคต
Nano Safety for JorPor ความปลอดภัยนาโนสำหรับ จป. ประกอบด้วย 9 ซีรีส์ดังต่อไปนี้
1. บทนำ (Introduction)
- นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology)
- อนุภาคนาโน (Nano particle)
- การจับตัวกันของอนุภาคนาโน
2. การประยุกต์ใช้อนุภาคนาโน (Nanoparticles and application)
2.1) อุตสาหกรรมก่อสร้าง (Construction)
2.2) ด้านการแพทย์ (Medical System)
2.3) ส่วนผสมในสินค้า (Customer goods)
2.4) อาหาร (Foods)
2.5) เครื่องสำอาง (Cosmetics)
2.6) ด้านการทหาร (Military)
2.7) ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst)
2.8) การบิน อวากาศและอุตสาหกรรมยานยนต์
3. ผลกระทบต่อสุขภาพและการศึกษาด้านพิษวิทยาของอนุภาคนาโน (Health Effect of Nanoparticles and Toxicology Study)
3.1) อนุภาคนาโนในระบบทางเดินหายใจ
3.2) การเคลื่อนที่ของอนุภาคนาโนจากถุงลมปอดสู่อวัยวะเป้าหมาย
3.3) การศึกษาความเป็นพิษของอนุภาคนาโน
4. เทคนิคในการตรวจวัดอนุภาคนาโน (Analytical Techniques for Nanoparticles)
5. ค่าขีดจำกัดความเป็นอันตรายของอนุภาคนาโน (Exposure Limit for Nanomaterials)
6. การคัดกรองและการเฝ้าระวังทาทางการแพทย์ (Medical Screening and Surveillance)
7. มาตรการจัดการเมื่ออนุภาคนาโนเกิดการรั่วไหล (Measures of nanoparticles release)
8. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid)
9. การป้องกันควบคุมอนุภาคนาโน (Controlling of nanoparticles exposure)
9.1) การป้องกันควบคุมอนุภาคนาโนทางด้านวิศวกรรม
9.2) การป้องกันความคุมอนุภาคนาโนทางด้านการบริหารจัดการ
9.3) การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสำหรับอนุภาคนาโน
(9.3.1) หน้ากากกรองอากาศ
(9.3.2) ถุงมือ
(9.3.3) ชุดป้องกันอนุภาคนาโน
(9.3.4) อุปกรณ์ป้องกันดวงตาสำหรับอนุภาคนาโน