“How to be a Great Speaker series” EP.1 -การเตรียมความพร้อมของวิทยากรด้วย OLE’ และ KPA’s

เผยแพร่เมื่อ: 19/05/2563....,
เขียนโดย คุณสิทธิ์ระพี ช้างหมื่นไวย, How to be a Great Speaker series..., 
“ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน สังกัดสำนักความยั่งยืนองค์กร ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)”

 

“How to be a Great Speaker series” การเตรียมความพร้อมของวิทยากรด้วย OLE’ และ KPA’s

“เมื่อกล่าวถึงการเป็นวิทยากรสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ทุกท่านก็อาจจะร้องอ๋อกันเลยทีเดียว และทุกท่านก็ยังมีข้อสงสัยและคำถามสำหรับการจัดตั้งหลักสูตรหรือการจัดคอร์สอบรมในแต่ละครั้งซึ่งมักจะมีองค์ประกอบหลากหลายและมีขั้นตอนในการจัดการไม่น้อยเลยทีเดียว”

1. การเตรียมความพร้อมของวิทยากรด้วย OLE’ และ KPA’s

 เมื่อกล่าวถึงการเป็นวิทยากรสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ทุกท่านก็อาจจะร้องอ๋อกันเลยทีเดียว และทุกท่านก็ยังมีข้อสงสัยและคำถามสำหรับการจัดตั้งหลักสูตรหรือการจัดคอร์สอบรมในแต่ละครั้งซึ่งมักจะมีองค์ประกอบหลากหลายและมีขั้นตอนในการจัดการไม่น้อยเลยทีเดียว กระผมลองตกผลึกในการสรรค์สร้างหลักสูตรอบรมในแต่ละครั้ง สิ่งที่ควรคำนึงและเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการเป็นวิทยากรฉันเลิศหรือการออกแบบหลักสูตรที่อาจจะเรียกได้ว่าครบถ้วนและสมบูรณ์ ซึ่งผมได้ตั้งชื่อว่า OLE’ (โอเล่ย์) และ KPA’s (เคป้าส์) แหมแค่ชื่อเรียกก็น่าค้นหาแล้วใช่ไหมครับ แต่เอาจริง ๆ แล้วไม่ว่าจะการบรรยายหรือการอบรมสัมมนาทุกสาขาวิชาชีพหรืองานทุก ๆ แขนงนั้นกระบวนการหลักสำคัญในการเตรียมตัวหรือการเตรียมข้อมูลสำหรับการจัดคอร์สต่าง ๆ ก็สำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว หากว่าไปแล้วข้อมูลนี้ก็เป็นประโยชน์ต่อทุก ๆ ท่านเลยนะครับ

เข้าเรื่องกันเลยนะครับผม สำหรับเป้าหลักของการบรรยายหรือการเรียนการสอนของวิทยากรลำดับแรกเองนั้นคงจะต้องนึกถึงชื่อหัวข้อ ซึ่งชื่อหัวข้อนั้นก็คงจะไม่กล่าวอะไรมากนะครับ แต่การที่จะมีชื่อหัวข้อใดนั้นองค์ประกอบก็มาจาก OLE’ (โอเล่ย์) และ KPA’s (เคป้าส์) นั่นแหละครับ 

 

เริ่มจากเราต้องทราบเลยว่าเป้าหมายของคนฟังการอบรมหรือบรรยายในทุก ๆ ครั้งเราต้องการจะให้ผู้รับฟังได้รับอะไรจากการร่วมกิจกรรมได้อะไร ไม่ว่าจะเป็น ....

  • Knowledge องค์ความรู้

  • Practice ปฏิบัติได้

  • Attitude เกิดทัศนคติที่ดีหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior)

 

 

เรามาเริ่มการคิดวัตถุประสงค์ O หรือ Objective การคิดวัตถุประสงค์คงจะต้องบอกได้เลยว่าผู้ที่ฟังนั้นจะต้องได้รับความรู้ (Knowledge) จากการรับฟังอาจจะเป็นการอบรมความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และหากจะให้ผู้เข้ารับฟังปฏิบัติได้หรือทำเป็นเลย (Practice) เช่น การอบรมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมือ ควรจะต้องมีการฝึกปฏิบัติ หรือทำเวิร์คช็อปให้ได้ผลตามที่ต้องการ และหากจะให้ผู้เข้ารับฟังเกิดทัศนคติที่ดี (Attitude) หากใช้การอบรมเพียง 3 ชั่วโมงหรือ 6 ชั่วโมงและไม่มีการฝึกปฏิบัติก็จะเป็นเรื่องยากที่จะให้ทราบถึงอันตรายหรือความกระตุ้นให้เกิดทัศนคติที่ดี

เห็นไหมล่ะครับหาการตั้งวัตถุประสงค์คำนึงถึงหลัก KPA’s จะทำให้เป้าหมายหลักชัดเจนและสำเร็จลุล่วงได้ไม่อยาก 

ต่อมาในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ L หรือ Learning Process การออกแบบกระบวนการหรือขั้นตอนระหว่างการอบรมหรือบรรยายนั้นก็เป็นส่วนสำคัญยิ่งเช่นกันเราควรคำนึงถึงว่ากระบวนการนี้จะตอบโจทย์ผู้ที่เข้าร่วมรับฟังอย่างไรไม่ว่าจะเป็นหัวข้อและรายละเอียดสำหรับองค์ความรู้ที่อยากจะให้หรือเวิร์คช็อปหรือการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของจริงหรือการออกแบบอุปกรณ์หรือตัวอย่างให้เกิดการรู้จริง เห็นจริง เจ็บจริง เช่น Safety DOJO อบรมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงออกแบบให้ผู้เข้าอบรมได้ไปเดินบนที่สูงและสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายหากตกจากที่สูง โดยทำให้ผู้เบ้าอบรมระหว่างเดินนั้นตกทางเดินแล้ว PPE มีการกระชากตัวไว้ ส่วนการออกแบบนี้ข้างล่างจะมีเบาะหรือ Support ซึ่งออกแบบ ไม่สูงมากหนัก จะทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความตกใจหรือได้สัมผัสถึงการกระชากหรืออันตรายเมื่อตกนี่แหละครับจะทำให้เกิดทัศนคติที่ดีในการสวมใส่และป้องกันตนเองและหากได้ทำบ่อยบ่อยครั้งก็เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนี่คือสุดยอดนวัตกรรมแห่งการสอนด้านความปลอดภัยเลยทีเดียว

ต่อมา การประเมินผลและการสำรวจผล E หรือ Evaluate ในส่วนนี้จะทำให้ทั้งผู้เข้ารับฟังและผู้บรรยายหรือวิทยากรอย่างเราสาถึงระดับของการอบรมบรรยายว่าควรต้องปรับแก้หรือพัฒนาในส่วนใด และอาจจะทำให้เราทราบว่าสิ่งที่ดำเนินไปนั้นผู้เข้ารับฟังได้ตามความตั้งใจหรือเปล่าเราผิดพลาดหรือจัดการขั้นตอนใดไม่ครบถ้วน ซึ่งกระบวนการประเมินก็มีหลากหลายรูปแบบเราควรจะคำนึงถึง หากเป็นการบรรยายเพื่อให้ได้รับองค์ความรู้ (Knowledge) ก็คงจะต้องเป็นการทำบททดสอบว่าตอบถูกมากน้อยเพียงใด หากเป็นการบรรยายเพื่อให้ปฏิบัติเป็นทำได้ (Practice) ก็ควรจะให้ทดลองหรือจับเวลาในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลบ้าสวมใส่ถูกต้องและทันเวลาหรือไม่ หากเป็นการทดสอบทัศนคติ (Attitude) จากการบรรยายควรประเมินจากพฤติกรรมการปฎิบัติงานซึ่งส่วนการประเมินนี้คงต้องใช้เวลาและร่วมมือกับหัวหน้างานเพื่อบันทึกจะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่นำมาใช้ในการประเมินด้านทัศนคติและพฤติกรรม คือ BBS นั้นเอง ว้าวเลยใช่ไหมครับผมสำหรับการเชื่อมโยงที่จะผมยกตัวอย่างและเพื่อให้เข้าใจง่ายผมได้ออกแบบภาพตัวอย่างดังนี้ครับ

 

ภาพแสดงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่าง OLE กับ KPA ของการเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร

 

เห็นไหมล่ะครับทุกท่านหากเราคำนึงถึงองค์ประกอบในการจัดทำหลักสูตรและองค์ประกอบในการบรรยายเราก็จะทำให้การเป็นวิทยากรของเรานั้นสำเร็จลุล่วงและทำได้ตามความคาดหวังและตั้งเป้าไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 
Visitors: 419,924