การสร้างการมีส่วนร่วมของลูกจ้างในงานความปลอดภัย
ผยแพร่เมื่อ: 22/12/2562 ....,
เขียนโดย นายสราวุธ สุธรรมาสา, ผู้จัดการความปลอดภัย
Thai British Company...,
โรงงานผมมีปัญหาเรื่องสถิติการประสบอันตรายสูงมาก และเนื่องจากเป็น joint venture ทำให้พนักงานตรวจความปลอดภัยจึงแจ้งให้ดำเนินการแก้ไขกับทั้งสองบริษัท ผู้บริหารระดับสูงจึงบอกให้ผมไปหาทางแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน จากการวิเคราะห์ของทีมงาน พบว่าเหตุสำคัญมาจากพนักงานไม่ค่อยเอาด้วยเรื่องความปลอดภัย
ผมได้ใช้วิธีตั้ง “ทีมเอาแน่เรื่องความปลอดภัย” โดยตั้งเกณฑ์ดึงทีมงานจาก
- มาจากแผนกต่าง ๆ
- อายุแตกต่างกัน
- มีทักษะด้านการให้คำปรึกษา (supervisory skills และ
- มีประสบการณ์ด้านช่าง ก็ได้มา 10 คน
ทีนี้ก็ตั้งคนหนึ่งเป็นหัวหน้าทีม ให้มีบทบาทแสดงตัวเป็นตัวอย่างที่ดีด้านความปลอดภัย ส่วนลูกทีมก็หมุน ๆ กันไป เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลาย มอบหมายให้เดินสำรวจโรงงานครึ่งวันในทุก ๆ fortnight และมีอำนาจให้สามารถชมเชยพนักงานที่มีพฤติกรรมความปลอดภัย และแนะนำคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงได้
นอกจากนี้ก็ประกาศให้ทั้งโรงงานรับรู้ว่าเรามีทีมงานนี้อยู่ พนักงานคนอื่น ๆ มาพูดคุยเรื่องที่ไม่ปลอดภัยได้ และทุกเรื่องจะต้องมีข้อเสนอแนะจากทีมงานนี้ แล้วผมก็เสริมแรงให้กระชับกระเฉงด้วยการกำหนดให้ต้องรายงานผลกับ senior Management เลย ให้รายงานทุก 2 อาทิตย์ว่าทำอะไรไป มีข้อเสนออะไร จากนั้นทุกเดือน ต้องเสนอกับนายใหญ่สุดคือ Project Director เลย ปรากฏว่าเจ้านายทั้งสองระดับก็เล่นด้วย ด้วยการอนุมัติให้ทำตามข้อเสนอแนะของทีมงาน ทีนี้ก็ได้ใจทีมงานและพนักงานเลย
มาดูตัวอย่างกันหน่อยว่าผลงานมีอะไรกันบ้าง
Fire boxes : เพื่อป้องกันการใช้เครื่องดับเพลิงผิด โรงงานเลยทำกล่องขึ้นมา ทีนี้ทาสีแดง ก็เลยทำให้ดูว่าเป็นสารดับเพลิงอะไรยาก (สีมันกลืน) แม้ว่าจะทำแถบคาดเพื่อบ่งบอกว่าเป็นโฟม หรือเป็นน้ำแล้วก็ตาม ทีมงานนี้เลยทำตามที่ลูกจ้างแนะนำว่าให้ใช้สีอื่นทาที่จะทำให้ดูง่าย โดยเฉพาะในยามฉุกเฉิน
COSHH buckets : พบว่ามีถุงบรรจะผงซีเมนต์เปิดทิ้งไว้ ทำให้ฟุ้งกระจาย และมีหก กลายเป็นของเสียไป ทีมงานมีข้อเสนอให้ทำ sealable lid ขึ้นมา แถมทำให้ไม่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัมด้วย เพื่อจะได้ไม่หนักไป และติดสติกเกอร์ COSHH (ชื่อกฎหมายด้านสารเคมีของสหราชอาณาจักร) อีกด้วย เรียกว่าปลอดภัยทั้งจากฝุ่น น้ำหนัก และมีป้ายบอกอีกด้วย
ผลที่ตามมา คือ
- ลดสถิติจาก 1.2 เหลือ 0.1 ต่อ 100,000 ชั่วโมงการทำงาน ใน 1 ปี
- อุบัติเหตุจากเรื่องยกของด้วยแรงคน ลดจาก 4.5 เหลือเป็น 3.2 ต่อ 100,000 ชั่วโมงการทำงาน
- อุบัติเหตุจากเรื่องตก ลื่น ถูกหนีบ ลดจาก 4.0 เหลือเป็น 2.0 ต่อ 100,000 ชั่วโมงการทำงาน และบริษัททำงาน 1.6 ล้านชั่วโมง ปลอดจากอุบัติเหตุที่ต้องรายงานทางการ
- เกิดการทำงานร่วมกันดีมากของฝ่ายบริหารกับลูกจ้างระดับปฏิบัติ และลูกจ้างภาคภูมใจในผลงานมาก เกิดจิตสำนึกด้านความาปลอดภัยขึ้นมา
ลองอ่านว่าหัวหน้าทีมเอาแน่เรื่องความปลอดภัยเขาพูดอะไรไว้
‘Most of the good ideas come from the operatives because they are the ones who get frustrated with having to deal with certain situations day in and day out’
และเจ้านายใหญ่สุดของผมพูดว่าอะไร
‘‘Need to have visible demonstrated commitment from the top - once the workforce see that commitment they will be willing to participate. Managers need to be seen’.
‘‘Need to provide time and resources to the teams’
เป็นไงครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ ใครเอาไปใช้งานแล้วได้ผลอย่างไร นำมาเขียนแชร์กันต่อ ๆ นะครับ